backup og meta

เปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน

    วิธี ป้องกันอาการกรดไหลย้อน 

    คุณเคยรู้สึกแสบร้อนบริเวณเหนือกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยปกติแล้วอาการนี้มักเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารมีื้อใหญ่ที่ไม่สามารถย่อยได้ภายในหนึ่งชั่วโมง เช่นเดียวกับหลายๆคน อาการแสบร้อนนี้เรียกว่า อาการกรดไหลย้อน

    กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่

    กรดไหลย้อนมักเกิดขึ้นภายหลังจากการรับประทานอาหาร เกิดขึ้นเมื่ออาหารในกระเพาะไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดอาการปวดแสบภายในทรวงอก เมื่อคุณกลืนอาหารลงไปกล้ามเนื้อจำนวนหนึ่ง (หลอดอาหาร) จะคลายตัวเพื่อให้อาหารจากปากไหลลงสู่กระเพาะอาหาร จากนั้นจึงปิดตัวเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของอาหาร (กรดไหลย้อน) หากกล้ามเนื้อส่วนนี้ถูกทำลาย กรดจะไหลย้อนกลับได้ง่ายขึ้น

    นอกจากอาการปกติทั่วไป กรดไหลย้อนยังบ่งบอกถึงอาการรุนแรงอื่นๆที่ควรได้รับการรักษา กรดไหลย้อนไม่ใช่อาการที่ควรนิ่งเฉย หากทิ้งไว้นานและไม่รับการรักษา กรดไหลย้อนอาจเป็นสาเหตุให้กรดในกระเพาะอาหารทำลายทางเดินสำไส้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมาพร้อมกับวิธี ป้องกันอาการกรดไหลย้อน

    วิธีการง่ายๆในการ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน  คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่คุณกำลังควบคุมอยู่ รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงปัจจัยและสิ่งเร้าที่ทำให้อาการแย่ลง

    จะป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนโดยการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตได้อย่างไร

    กรดไหลย้อนเป็นอาการผิดปกติของกระเพาะอาหาร ดังนั้นโดยปกติคุณควรเปลี่ยนแปลงการกินของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน สิ่งสำคัญคือหลีกเลี่ยงการสร้างแรงดันในทางเดินอาหารและหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น

    • อย่ารับประทานมากเกินไปหรือเร่งรีบเกินไป การรับประทานเพียงเล็กน้อยหมายความว่ามีอาหารส่งไปยังกระเพาะอาหารน้อยลงเช่นกัน ซึ่งลดโอกาสในการเกิดกรดไหลย้อน
    • ทำการจดบันทึกอาหารที่เป็นสาเหตุของกรดไหลย้อน อาหารที่เป็นตัวกระตุ้นโดยทั่วไป ได้แก่ หัวหอม เปปเปอร์มินต์ ช๊อคโกแลต เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ส้มและน้ำส้ม มะเขือเทศ และอาหารไขมันสูงหรืออาหารรสจัด
    • เลิกสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอลล์ นิโคตินในบุหรี่มีผลกระทบต่อหลอดอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะไหลเข้าสู่หลอดอาหารได้อย่างง่ายดาย
    • หลีกเลี่ยงการสร้างแรงดันให้กับกระเพาะ คุณสามารถทำได้โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม หรือไม่รัดกระเพาะอาหาร รวมถึงการลดน้ำหนัก ยิ่งมีน้ำหนักมากเท่าใดยิ่งเพิ่มแรงดันในทางเดินอาหาร
    • หลีกเลี่ยงการนอนหลังมื้ออาหาร ลองนึกภาพถึงกระเพาะอาหารที่คล้ายกับขวดน้ำ เมื่อคว่ำลงก็มีโอกาสที่น้ำจะกระฉอกออกมาได้ ใช้หมอนรองคอเพื่อให้ตำแหน่งของหัวสูงกว่าร่างกายเล็กน้อยป้องกันการไหลย้อนของกรด หากวิธีนี้ไม่ได้ผล พยายามให้ร่างกายส่วนบนอยู่สูงกว่าระดับเอวลงมา
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร หากไม่ออกกำลังกายทำให้การทำงานของระบบย่อยอาหารช้าลงและอาจทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง การออกกำลังกายเบาๆ ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ และโยคะ
    • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ น้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักรอบๆกระเพาะอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นส่งผลให้การย่อยอาหารเป็นไปได้ยาก หากคุณมีน้ำหนักเกิน คุณควรวางแผนในการลดน้ำหนักส่วนเกิน
    • ดื่มน้ำหลังมื้ออาหาร ช่วยในการละลายและชะล้างกรดในหลอดอาหาร
    • หลีกเลี่ยงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หากคุณมีอาการกรดไหลย้อน ขอแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ก่อน ระหว่าง และหลังรับประทานอาหาร การสูบบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอลล์ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง (lower esophageal sphincter-LES) อ่อนแอ ซึ่งมีผลต่อการการเก็บอาหารในกระเพาะและการป้องกันการไหลย้อนของกรด
    • เคี้ยวหมากฝรั่ง บางครั้งการเคี้ยวหมากฝรั่งช่วยในการย่อยอาหาร การเคี้ยวหมากฝรั่งรสใดก็ได้ยกเว้นเปปเปอร์มิ้นต์ จะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำลายและเพิ่มการเคลื่อนไหวของอาหารในกระเพาะเข้าสู่ลำไส้ น้ำลายของคุณประกอบไปด้วยไบโอคาร์บอเนตซึ่งช่วงปรับสมดุลและกำจัดกรดเกิน

    แม้ว่าอาการกรดไหลย้อนส่วนใหญ่ไม่มีอันตราย แต่อาการกรดไหลย้อนที่รุนแรงรบกวนกิจกรรมประจำวันของคุณได้ หากคุณเกิดกรดไหลย้อนที่รุนแรงซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาที่จำหน่ายตามร้ายขายยาทั่วไป ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์เพื่อประเมินอาการและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา