backup og meta

วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ ทำได้อย่างไร ต่างจากโรคกรดไหลย้อนธรรมดาหรือไม่

วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ ทำได้อย่างไร ต่างจากโรคกรดไหลย้อนธรรมดาหรือไม่

โรคกรดไหลย้อน ภาวะความผิดปกติ โดยเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการมีกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมา ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก อึดอัด เจ็บคอ กลืนลำบาก และรู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวหรือรสขมในปาก การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนและ วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสม 

[embed-health-tool-bmi]

ประเภทของโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารหย่อนตัวลง จนน้ำย่อยหรือกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ โดยปกติเมื่อกลืนอาหารแล้ว หูรูดจะคลายตัวเปิดทางให้อาหารไหลไปสู่กระเพาะอาหาร เมื่อผ่านลงไปแล้ว หูรูดจะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อหูรูดจะหย่อนตัวลงไม่สามารถปิดกั้นกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ โดยโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. โรคกรดไหลย้อนธรรมดา (CLASSIC GERD) ลักษณะของโรคกรดไหลย้อนธรรมดา กรดจะไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร 
  2. โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal Reflux: LPR) ลักษณะของโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง กรดจะไหลย้อนกลับ ขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ เกิดการระคายเคืองของกรดบริเวณคอและกล่องเสียง 

ความแตกต่างของกรดไหลย้อนขึ้นคอและกรดไหลย้อนธรรมดา

โรคกรดไหลย้อนธรรมดา ลักษณะกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหาร มักเกิดในตอนกลางคืน ช่วงเวลาพักผ่อนนอนหลับ แต่กรดไหลย้อนขึ้นคอ หรือโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง จะเกิดที่คอ สายเสียงสามารถเกิดได้จากกรดเพียงเล็กน้อย เกิดได้ในขณะเดิน นั่ง หรือยืน ในเวลากลางวัน ซึ่งกรดที่ขึ้นมาที่คอและสายเสียง จะมีปริมาณน้อย ไม่ได้อยู่ในหลอดอาหารนาน

อาการของกรดไหลย้อนขึ้นคอ 

อาการของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น 

  • รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ อึดอัดแน่นคอ แสบร้อนกลางอก
  • กลืนลำบาก กลืนเจ็บ กลืนไม่สะดวก
  • เจ็บคอ แสบคอ 
  • รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
  • เสียงผิดปกติไปจากเดิม อาจมีอาการเสียงแหบเฉพาะตอนเช้า หรือเสียงแหบเรื้อรังได้
  • กระแอมไอบ่อย ๆ

วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ

การรักษาโรคกรดไหลย้อนทำได้ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนนิสัย การดำเนินชีวิตประจำวัน การรับประทานยา และการผ่าตัด โดยวิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ มีดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนนิสัย : ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกินส่งผลต่อความดันในช่องท้องมากขึ้น เกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเครียด ไม่สูบบุหรี่ เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น เลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยที่ช่วยในการขับถ่าย เมื่อไม่ต้องเบ่งถ่ายจากอาการท้องผูก ก็จะช่วยป้องกันการเกิดความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น
  • ปรับพฤติกรรมการกิน : หลีกเลี่ยงอาหารมื้อดึก ไม่รับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เลือกอาหารไขมันต่ำ ปรุงรสให้น้อย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟและชา ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารส่วนปลายหย่อน ส่วนน้ำอัดลมที่ทำให้เกิดแก๊สในช่องท้อง
  • วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอด้วยการใช้ยา : ยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor (PPI) การรักษาโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง ต้องใช้ขนาดยา PPI มากกว่าโรคกรดไหลย้อนธรรมดา อีกทั้งใช้เวลาในการรักษานานกว่า  
  • วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอด้วยการผ่าตัด : วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่ หลอดอาหาร คอและกล่องเสียง โดยมีเงื่อนไขของการรักษา เช่น 
    1. รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เคยรักษาด้วยยาแล้วแต่ไม่ดีขึ้น
    2. รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้
    3. รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ต้องการที่จะรับประทานยาต่อ หลังจากที่อาการดีขึ้นหลังการใช้ยา
    4. รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่กลับเป็นโรคนี้ซ้ำ ๆ หลังหยุดยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) https://www.rcot.org/2021/ForPeople/Knowledge/461138db8dedcce32cc9b28487b6fed15b5ac50b . Accessed June 15, 2023.

‘โรคกรดไหลย้อน’ปล่อยไว้เป็นมะเร็งได้จริงหรือ? https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=5322 . Accessed June 15, 2023.

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=995 . Accessed June 15, 2023.

กรดไหลย้อน…..ภัยเงียบวัยทำงาน https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=726 . Accessed June 15, 2023.

แพทย์แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รับมือโรคกรดไหลย้อน https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/130479 . Accessed June 15, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นโรคกรดไหลย้อน จะดูแลสุขภาพฟันอย่างไร ให้ห่างไกลจาก ฟันสึกกร่อน

อาการกรดไหลย้อน วิธีรักษา และวิธีป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา