โรคลำไส้อักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เพราะภาวะติดเชื้อในลำไส้จนนำสู่โรคลำไส้อักเสบ อาจเกิดได้จากพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมา สาเหตุจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
[embed-health-tool-bmi]
ลําไส้อักเสบจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร
ลําไส้อักเสบ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เช่น
- เชื้อแบคทีเรีย : พิษของแบคทีเรียมี 2 แบบ 1.พิษของแบคทีเรียที่ไม่มีการทำลายผิวของลำไส้ (Non-invasive) และ 2.พิษของแบคทีเรียที่ทำลายผิวของลำไส้ (Non-invasive)
- เชื้อไวรัส : การติดเชื้อไวรัส (Viral gastroenteritis) เป็นสาเหตุสำคัญของการท้องเสียที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่ก็พบอาการป่วยได้ในผู้ใหญ่เช่นกัน ได้แก่ โรต้าไวรัส (Rota Virus) และโนโรไวรัส (Noro Virus)
ลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
อาการลำไส้อักเสบชนิดนี้ มักจะเป็นลำไส้อักเสบเฉียบพลัน เกิดได้จากการกินสารมีพิษ อาหารย่อยยากจำนวนมาก เช่น สารพิษจากปลาทะเล สารโลหะหนัก หรือเห็ดพิษบางชนิด
ลำไส้อักเสบ อาการ
- เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายมากกว่า 10 ลิตรต่อวัน อาจเกิดได้จากพิษของแบคทีเรีย ต้องระวังภาวะช็อคจากการสูญเสียน้ำ
- ปวดท้อง มีไข้สูง อุจจาระมีมูกเลือดหรือมีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดจากการทำลายผิวของลำไส้โดยแบคทีเรีย
- ปวดตามตัว ปวดท้อง คลื่นไส้ ร่วมกับอาการไข้และท้องเสีย สาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส
อาการที่ควรไปพบคุณหมอ
- คลื่นไส้อาเจียน จนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ อาการแบบนี้เสี่ยงต่อการขาดน้ำ อาจรุนแรงถึงภาวะช็อคได้
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หน้ามืด เป็นลม หากเริ่มมือเท้าเย็น ปากแห้ง จะเสี่ยงต่อการหมดสติได้
- อาการปวดท้องตลอดเวลา หรือมีอาการปวดบิด และถ่ายท้อง
- เกิดไข้สูง หนาวสั่น ซึ่งเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง
- ถ่ายมีมูกเลือด มีอาการปวดหน่วงบริเวณทวาร อาจเป็นสัญญาณของลำไส้ใหญ่อักเสบ
ทั้งนี้ กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว กลุ่มนี้ควรระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด เพราะเชื้ออาจปนเปื้อนมาในอาหารและเครื่องดื่ม และควรป้องกันการรับเชื้อซ้ำ ร่วมกับการป้องกันการระบาดสู่ชุมชน
วิธีรักษาอาการของลำไส้อักเสบ
- รักษาตามสาเหตุ เช่น การติดเชื้อบางชนิดอาจต้องได้รับยาฆ่าเชื้อ อาจใช้ยาแก้ปวดและยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
- ป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยใช้ยาผงเกลือแร่โออาร์เอส
- หากเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง แพทย์อาจให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
- สังเกตอาการและให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ หรืออาหารเหลว
วิธีป้องกันการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงลำไส้อักเสบ
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ล้างมือเป็นประจำหลังเข้าห้องน้ำ โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนและหลังรับประทานอาหาร
- เลือกอาหารที่สด สะอาด ปรุงสุก มาจากร้านค้าที่เชื่อถือได้
- ดูแลบ้าน สภาพแวดล้อม ห้องครัว ให้สะอาดอยู่เสมอ
- ควรคำนึงถึงความสะอาดของน้ำ น้ำแข็ง และอาหารที่จำหน่ายข้างทาง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ และอาหารรสจัด
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ กินให้ตรงเวลา ช่วยป้องกันความเสื่อมของระบบภายใน โดยเฉพาะลำไส้