backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 19/03/2023

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) เป็นการอักเสบบริเวณลำไส้ที่มักเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า ไวรัสลงกระเพาะ การติดเชื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แต่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตได้เช่นกัน โดยเชื้อจะแพร่กระจายผ่านอาหารหรือน้ำ และทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ที่รับประทานเข้าไป ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องและปวดเกร็ง ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน ดังนั้น การดูและสุขภาพและสุขอนามัยให้ดีอยู่เสสมอ จึงอาจช่วยป้องกันกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้

คำจำกัดความ

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ คืออะไร

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) เป็นการอักเสบบริเวณลำไส้ที่มักเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า ไวรัสลงกระเพาะ การติดเชื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แต่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตได้เช่นกัน โดยเชื้อจะแพร่กระจายผ่านอาหารหรือน้ำ และทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ที่รับประทานเข้าไป ซึ่งภาวะที่พบบ่อยเมื่อกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ คือ ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากอาเจียนและท้องร่วง

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ พบได้บ่อยแค่ไหน

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบอาจพบได้บ่อยในทารก เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซี่งการป้องกันที่ดีคือ การล้างมือ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ปวดท้องและปวดเกร็ง
  • ท้องร่วง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • น้ำหนักลด
  • เป็นไข้
  • หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ

อาการอาจปรากฏให้เห็นหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 1-3 วัน โดยส่วนใหญ่อาการจะคงอยู่ 1-2 วัน หรืออาจนานถึง 10 วัน นอกจากนี้ ยังอาจแสดงอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้นได้เช่นกัน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรคควรปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเป็นอาการทางสุขภาพที่สามารถป้องกันและรักษาได้ อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ คุณควรไปพบคุณหมอ

  • ถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมงหรือมีเลือดปน
  • อาเจียนนานกว่า 2 วันหรืออาเจียนเป็นเลือด
  • มีภาวะขาดน้ำ เช่ร กระหายน้ำ ปากแห้ง ปัสสาวะเหลือง ไม่ปวดหรือปวดปัสสาวะน้อย
  • มีไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า

สำหรับทารกและเด็ก หากเกิดอาการดังนี้ ควรรีบพาไปพบคุณหมอ

  • มีไข้สูงถึง 38.9 องศาเซลเซียส
  • หงุดหงิดหรือไม่สบายตัว
  • เหนื่อยอ่อนหรืออ่อนแรง
  • ถ่ายเป็นเลือด
  • เกิดภาวะขาดน้ำ
  • อาเจียนติดต่อกันหลายชั่วโมง
  • ไม่ปัสสาวะในเวลา 6 ชั่วโมง
  • การนอนหลับผิดปกติ

สาเหตุ

สาเหตุของกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต เชื้อเหล่านี้มักเจือปนมากับอาหารหรือน้ำดื่ม เมื่อดื่มน้ำหรือรับประทานทานอาหารเหล่านั้นก็จะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคที่พบได้บ่อย คือ โนโรไวรัส (Norovirus) และโรต้าไวรัส (Rotavirus) ในบางกรณี กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบก็อาจเกิดจากแบคทีเรียได้เช่นกัน โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค คือ อีโคไล (E. Coli) และซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเจือปนอยู่ในอาหารหรือไข่ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาจมีดังนี้

  • ทารก เด็ก และผู้สูงอายุ ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ
  • ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งภาวะที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำได้แก่ ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ เข้ารับเคมีบำบัด
  • น้ำที่ไม่สะอาด หากบริเวณที่อยู่อาศัยมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด ก็อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบมากขึ้น
  • สุขอนามัยไม่ดี โดยเฉพาะการไม่ล้างมือเป็นประจำ อาจทำให้เสี่ยงที่จะได้รับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

คุณหมออาจทำการตรวจวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ดังนี้

  • ซักประวัติและตรวจร่างกาย
  • ตรวจอุจจาระ เพื่อหาเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต

การรักษากระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาจทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ และการรักษาภาวะขาดน้ำ โดยคุณหมออาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค ในกรณีที่โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือในบางกรณีคุณหมออาจสั่งยาปฏิชีวนะให้ใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรค

หากสงสัยว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาจปฏิบัติตัวดังนี้

  • หยุดรับประทานอาหาร 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้กระเพาะอาหารได้พักการทำงาน
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • เริ่มรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก กล้วย
  • หลีกเลี่ยงนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ อาหารหนักหรือย่อยยาก
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับพฤติกรรมหรือการดูแลตัวเองที่ช่วยรับมือกับโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

การปรับพฤติกรรมหรือการดูแลตัวเองต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือกับโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากการเข้าห้องน้ำ
  • รับประทานอาหารอ่อนเพื่อให้ย่อยง่าย
  • หยิบหรือส่งอาหารอย่างถูกสุขอนามัย

หากมีคำถามเกี่ยวกับโรค ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 19/03/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา