ฝีเต้านม เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของอาการ เต้านมอักเสบ อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในคุณแม่ให้นมบุตร ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บทรมาน ป่วย และอาจรุนแรงถึงขั้นการติดเชื้อในกระแสเลือดและหมดสติได้ ดังนั้น หากกดบริเวณเต้านมแล้วรู้สึกเจ็บผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
[embed-health-tool-ovulation]
ฝีเต้านมเกิด จากอะไร
ฝีเต้านมส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแตฟีโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus Aureus) และเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus) โดยเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากทารกผ่านทางปากหรือผิวหนังทารกจากการดูดนม หรือผ่านการเปิดท่อหัวนม ส่งผลให้เนื้อเยื่อเต้านมเกิดอาการอักเสบ โดยเฉพาะบริเวณท่อน้ำนมและต่อมน้ำนม
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ไม่ได้ให้นมบุตรก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นฝีเต้านมได้เช่นกัน หากมีพฤติกรรมเหล่านี้
- สูบบุหรี่
- โรคอ้วน
- เจาะหัวนม
- เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่เต้านมผ่านหัวนมที่เจ็บหรือหัวนมแตก
เต้านมอักเสบ ที่อาจนำไปสู่ ฝีเต้านม
โดยปกติ คุณแม่ให้นมบุตรจะมีอาการบวมบริเวณเต้านมในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการให้นมบุตร แต่ถ้าคุณแม่มีอาการเต้านมอักเสบ บวม แดง และมีไข้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเต้านมอักเสบ จึงควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เป็น ฝีเต้านม ที่อาจให้เกิดอาการเจ็บทรมาน ป่วย และอาจรุนแรงถึงขั้นการติดเชื้อในกระแสเลือดและหมดสติได้
เต้านมอักเสบภาวะสุ่มเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ฝีเต้านม
หากพบว่าเต้านมมีอาการผิดปกติ บวม อักเสบ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของฝีเต้านม รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกโรคดังกล่าว ดังนี้
- เต้านมมีอาการบวมแดง
- ปวดร้อนบริเวณเต้านม
- มีหนองไหลออกมาจากหัวนม
- ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น
- น้ำนมน้อย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
วิธีการรักษาเต้านมอักเสบ
หากมีอาการเต้านมอักเสบคุณหมอจะจ่ายยาปฏิชีวนะ เพื่อลดอาการอักเสบและการติดเชื้อ ในกรณีคุณแม่ให้นมบุตร คุณหมอจ่ายยาที่สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ
ในกรณีที่ร้ายแรงจนถึงขั้นเป็นฝีเต้านม คุณหมอจะทำการระบายหนองออกจากฝี โดยการฉีดยาชาก่อนที่จะทำการระบายหนองออก ในกรณีผู้ป่วยที่มีฝีขนาดใหญ่ คุณหมออาจต้องผ่าให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้หนองไหลออกมา และเปิดปากแผลไว้ หลังจากนั้นจะใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำยาฆ่าเชื้อทิ้งไว้บริเวณว่าง เพื่อให้หนองสามารถระบายออกมาได้หมด หลังจากนั้นจึงทำการปิดปากแผล และจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
ดังนั้น การดูแลสุขภาพเต้านมเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้หญิงอย่างต้องให้ความใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ เพื่อดลความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ โดยการดูแลสุขภาพเต้านมอาจทำได้ ดังนี้
- ทาครีมบำรุงที่หัวนมเพื่อป้องกันหัวนมแตก และอาจช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย
- รักษาสุขอนามัยบริเวณเต้าและหัวนมให้สะอาดอยู่เสมอ