backup og meta

กระดูกเชิงกรานหัก ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใดกันนะ

กระดูกเชิงกรานหัก ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใดกันนะ

กระดูกเชิงกรานหัก ปัญหากระดูกที่เราจำเป้นต้องระมัดระวัง เพราะไม่งั้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดินอาจจะไม่สะดวกเหมือนปกติ ซึ่งกระดูกเชิงกรานหักนั้น มีสาเหตุมาจากอะไรบ้างนะ เพื่อเพิ่มการระมัดระวังในตนเองให้มากขึ้น

[embed-health-tool-ovulation]

กระดูกเชิงกราน ประกอบด้วยกระดูกกี่ชิ้น 

กระดูกเชิงกราน เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์อยู่ล่างหน้าท้อง ตำแหน่งระบบสืบพันธุ์ โดยประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น

  • กระดูกหัวหน่าว (Pubis) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณด้านหน้า
  • กระดูกก้น (Ischium) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านหลังสุด
  • กระดูกปีกสะโพก (Ilium) เป็นกระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดากระดูกเชิงกราน แบ่งออกเป็นฝั่งซ้าย และขวา

กระดูกทั้ง 3 ส่วนนี้จะเชื่อมต่อกันทั้งหมด ซึ่งกระดูกเชิงกรานในเพศหญิง และเพศชายนั้นไม่เหมือนกันในลักษณะของรูปร่าง

สาเหตุของกระดูกเชิงกรานหักคืออะไร

ส่วนใหญ่สาเหตุของกระดูกเชิงกรานหัก มักเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถ ไม่ว่าจะรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ การบาดเจ็บจากการถูกทับ หรือการตกจากที่สูง สาเหตุอื่น ๆ คือกระดูกเชิงกรานหักเนื่องจากเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อหลุดออกจากกระดูก มาจากการเล่นกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว และหยุดกะทันหัน ได้แก่ การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งระยะสั้น รวมไปถึง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

อาการ กระดูกเชิงกรานหัก

  • การเดิน หรือยืนลำบาก รวมไปถึงการเคลื่อนไหว
  • ปวด และเจ็บบริเวณขาหนีบ สะโพก หลังส่วนล่าง ก้น หรือเชิงกรา
  • ไม่สามารถขยับพลิกตัวหรือขยับสะโพกได้
  • มีการปวดกระดูกเชิงกราน เวลานั่งบางท่า
  • บริเวณกระดูกเชิงกราน หรือสะโพกผิดรูป
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ
  • มีรอยฟกช้ำชัดเจนบริเวณสะโพก และเชิงกราน

การวินิจฉัย กระดูกเชิงกรานหัก ทำได้อย่างไรบ้าง

  • เอ็กซเรย์ (X-ray) กระดูกเชิงกรานจะถูกถ่ายจากมุมต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจสอบ และวินิจฉัย
  • การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ในกรณีที่มีความซับซ้อน เพื่อให้ได้ภาพที่ดีขึ้นของกระดูกที่หัก และค้นหาอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้อง
  • สแกนภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เป็นทางเลือกแทน CT อาจเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • อัลตราซาวด์ ใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพอวัยวะ และโครงสร้างภายในร่างกาย เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัย และรักษา

การตรวจสอบอื่น ๆ รวมถึงการตรวจเลือดเพื่อประเมินระดับของเลือด การทำงานของตับ และไต รวมไปถึงการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูความเสียหายของกระเพาะปัสสาวะว่าได้รับผลกระทบ หรือไม่

วิธีรักษากระดูกเชิงกรานหัก

  • การผ่าตัดเพื่อใส่โลหะยึดกระดูก กรณีกระดูกเชิงกรานหักไม่มีความมั่นคงพอที่จะรับน้ำหนัก หรือรับการขยับเคลื่อนไหวได้ รวมไปถึงมีการผิดรูปมาก การรักษาอาจใช้เวลา 8-12 สัปดาห์
  • แบบไม่ผ่าตัด ในกรณีกระดูกเชิงกรานหักแต่ไม่ได้มีความรุนแรงมาก ไม่จำเป็นต้องพึ่งการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยจะต้องปฎิบัติตนเองอย่างเคร่งครัดเพื่อการรักษา คือ
    • การกายภาพบำบัด กระดูกเชิงกรานที่ได้รับบาดเจ็บเริ่มหายดี การออกกำลังกายเพื่อช่วยรักษาด้านการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงของข้อต่อ กล้ามเนื้อรอบ ๆ เช่น การยกขา
    • การใช้ยาแก้ปวด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้มากพอที่จะเดินได้ แต่หลีกเลี่ยงยาต้านการอักเสบจำพวกสเตียรอยด์
    • การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า และอัลตราโซนิก กระตุ้นกระดูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง คลื่นเสียงกระตุ้นให้ร่างกายรวมแคลเซียมไว้ในกระดูก ช่วยสร้างมวลกระดูกขึ้นใหม่ รวมทั้งกระตุ้นการผลิตสารเคมีบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบำบัด

กระดูกเชิงกรานหัก ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องพยายามไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่ควรลงน้ำหนักที่สะโพกข้างที่ได้รับผลกระทบเป็นเวลา 6 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pelvis Fracture. https://www.renoortho.com/specialties/center-for-fracture-trauma/pelvis-fracture/. Accessed June 29, 2021

About pelvic fractures. https://www.cedars-sinai.org/health-library/diseases-and-conditions/p/pelvic-fracture.html. Accessed June 29, 2021

Pelvic Fractures. https://patient.info/bones-joints-muscles/pelvic-fractures-leaflet. Accessed June 29, 2021

Pelvic Fractures. https://www.msdmanuals.com/home/injuries-and-poisoning/fractures/pelvic-fractures. Accessed June 29, 2021

Nonsurgical Treatment for Hip & Pelvic Fractures. https://nyulangone.org/conditions/hip-pelvic-fractures-in-adults/treatments/nonsurgical-treatment-for-hip-pelvic-fractures. Accessed June 29, 2021

3D Skeletal System: The Pelvic Girdle. https://www.visiblebody.com/blog/3d-skeletal-system-the-pelvic-girdle. Accessed June 29, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/11/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

กระดูกหัก (Bone Fracture)

ไขกระดูก อีกหนึ่งอวัยวะสำคัญ ที่คุณอาจยังไม่รู้จักดีพอ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 26/11/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา