backup og meta

สแตติน (Statins) ยาลดไขมัน กับผลข้างเคียงที่คุณควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 21/04/2021

    สแตติน (Statins) ยาลดไขมัน กับผลข้างเคียงที่คุณควรรู้

    ยาลดไขมันสแตติน (Statins) เป็นที่รู้จักในเรื่องความสามารถในการลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถ้าร่างกายมีระดับไขมันไม่ดีหรือมี LDL สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ หัวใจวายและเส้นเลือดในสมองแตก อย่างไรก็ตาม ยาลดไขมันสแตตินไม่ใช่ยาสำหรับทุกคน เนื่องจากอาจส่งผลข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นร่วมด้วยได้ แต่จะก่อให้เกิดอาการอะไรบ้างนั้น ตอตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอที่นำมาฝากกันได้เลยค่ะ

    ยาลดไขมันสแตติน ทำงานอย่างไร

    เมื่อบริโภค ยาลดไขมันสแตติน เข้าไป ตัวยานั้นจะสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล LDL ได้ 35% ถึง 50% หรือมากกว่า นับว่าอาจเป็นที่น่าแปลกใจสำหรับหลายคน แต่คอเลสเตอรอลที่ไหลเวียนอยู่ในเลือดถูกผลิตมาจากตับ ไม่ได้มาจากอาหารที่เราบริโภค และจำนวนคอเลสเตอรอลที่ตับสร้างขึ้นถูกกำหนดโดยเอนไซม์ที่เรียกว่า HMG-CoA reductase ทั้งนี้ยาลดไขมันสแตตินจึงทำงานโดยการควบคุม HMG-CoA reductase เอาไว้

    อีกทั้งยาลดไขมันสแตติน สามารถลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดได้ ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพของพลาค (Plaque) หรือคราบที่อาจก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดของคุณ ดังนั้น ยาลดไขมันสแตตินจึงอาจลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองแตก

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ สแตติน

    ยาแทบจะทุกชนิดมีผลข้างเคียงด้วยกันทั้งสิ้น ในกรณีของ ยาลดไขมันสแตติน ก็คงจะไม่พ้นเช่นเดียวกัน โดยผลข้างเคียงของตัวยาชนิดนี้มักทำให้คุณมี อาการปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 5 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ที่บริโภคยาตัวนี้ในปริมาณมาก ผลข้างเคียงของยายิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยมากขึ้น

    อย่างไรก็ตามไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอาการเจ็บกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นจากยาลดไขมันสแตติน หรือเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ทางออกของปัญหา คือ การเลือกยาลดไขมันสแตตินประเภทอื่น ลดการบริโภคของปริมาณยาลง และลดการบริโภคยาติดต่อกันทุกวัน หากคุณมีความกังวลถึงวิธีการรับประทานที่เหมาะสม อาจปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติม เพื่อรับคำแนะนำแผนการรักษาตามสภาวะอาการของคุณ

    ผลข้างเคียงที่พบได้ยากในยาสแตติน

    สำหรับอาการข้างเคียงที่พบได้ยากในยาลดไขมันสแตติน อาจเป็นการสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อกล้ามเนื้อ ตับเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจรุนแรงจนสุขภาพคุณมีการทรุดหนักได้ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น เมื่อยาลดไขมันสแตตินมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่น เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาปฏิชีวนะบางชนิด และยารักษาอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ยาลดไขมันสแตตินไม่ควรบริโภคร่วมกับน้ำผลไม้เกรปฟรุตด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อาจมีการเกิดอาการอย่าง การสูญเสียความทรงจำ อาการสับสน โรคทางระบบประสาท หากคุณได้รับปริมาณยาในระดับสูงมาก เพื่อความปลอดภัยในการพบหมอทุกครั้ง คุณควรแจ้งหมอของคุณเกี่ยวกับยาทุกตัวที่คุณกำลังรับประทานรวมไปถึงอาหารเสริมอื่น ๆ ด้วย พร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยา หรือเพิ่มขนาดยาเองโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์

    ใครบ้างที่ควรได้รับ สแตติน

    ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ผู้ที่เจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่เกี่ยวข้องกับแผ่นพลาคที่ก่อตัวขึ้นในหลอดเลือด ควรได้รับยาลดไขมันสแตติน เพราะพวกเขาไม่เคยมีประวัติหรือมีอาการแพ้ต่อยาตัวนี้ แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้ป่วยควรสมควรจะได้รับยาลดไขมันสแตติน หรือไม่ยังขึ้นอยู่กับว่าความเสี่ยงที่มีนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยมากน้อยแคไหนแค่ไหน ก่อนจะเริ่มรับประทานคุณควรปรึกษาคุณหมออย่างใกล้ชิด เพื่อรับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อตัวเอง และเลือกใช้ยาให้มีประสิทธิภาพได้อย่างตรงจุดของการรักษาโรค อีกทั้งแพทย์หัวใจยังมีความเชื่อว่ายาลดไขมันสแตตินควรนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย ต่อการเกิดโรคหัวใจ ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับรุนแรงไม่ควรบริโภคยาลดไขมันสแตติน แต่อาจหาทางรักษา หรือยารักษาประเภทอื่นเข้ามาทดแทน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 21/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา