backup og meta

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis)

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis)

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการอักเสบจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุหัวใจ (เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดและติดเชื้อในหัวใจ) โดยเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณปาก ผิว ลำไส้ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

คำจำกัดความ

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis)

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการอักเสบจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุหัวใจ (เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดและติดเชื้อในหัวใจ) โดยเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณปาก ผิว ลำไส้ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ รู้สึกหนาว อาการเจ็บหน้าอก เหงื่อออก ปัสสาวะเป็นเลือด อาการปวดและบวมในข้อต่อ เยื่อบุหัวใจติดเชื้อเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานหรือได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้หัวใจล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้

พบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ป่วยเยื่อบุหัวใจติดเชื้อส่วนใหญ่มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ

อาการ

อาการของเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ

อาการเยื่อบุหัวใจติดเชื้อจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในบางคนอาจแสดงอาการแบบฉับพลันทันทีในขณะที่บางคนอาจค่อย ๆ แสดงอาการ  โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้

  • ไข้ รู้สึกหนาว
  • อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก
  • ร่างกายอ่อนเพลีย เหงื่อออกผิดปกติ
  • มีเลือดในปัสสาวะ
  • มีผื่นสีแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง
  • มีจุดขาวๆ ขึ้นในปากหรือบนลิ้น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • น้ำหนักลด

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด แต่ในบางกรณีอาจเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแปรงฟันหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่อาจทำให้เหงือกของคุณมีเลือดออก อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดผ่านรอยแผล
  • การสัก เข็มที่ใช้ในการสัก การเจาะร่างกาย อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดได้
  • การฉีดสารเสพติด เข็มและกระบอกฉีดยาที่ปนเปื้อนอาจนำไปสู่การติดเชื้อโรคได้
  • การทำทันตกรรม กระบวนการทางทันตกรรมบางอย่างที่ใช้ในการตัดแต่งเหงือกอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดังต่อไปนี้มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไปต่อการเกิดเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจเทียม
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคลิ้นหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
  • คนที่เคยมีประวัติเป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ
  • ใช้สารเสพติด

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ 

 ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติ ตรวจเช็กร่างกาย ฟังเสียงหัวใจเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • ตรวจเลือด แพทย์จะทดสอบความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย เพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือด
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์  ตรวจอัลตร้าซาวด์เหัวใจเพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดได้อย่างละเอียดมากขึ้น
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะทำการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่

การรักษาเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ 

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อหากเป็นแล้วต้องรีบทำการรักษาอย่างรวดเร็ว หากปล่อยเป็นระยะเวลานานอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยมีวิธีการรักษาแตกต่างกันไปตามอาการของแต่ละบุคคล

ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะผ่านหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ และนัดตรวจอาการเป็นระยะๆ

ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรงแพทย์จะทำการผ่าตัดลิ้นหัวใจ โดยการเปลี่ยนใส่ลิ้นหัวใจเทียม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ สามารถทำได้ดังนี้

หมั่นรักษาสุขอนามัยและดูแลสุขภาพร่างกายตนเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติในร่างหาย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค หากพบว่าเป็นเยื่อบุหัวใจติดเชื้อและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ  เพียงรับประทานยาปฏิชีวนะ อาจทำให้ร่างกายมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็ว

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Infective Endocarditis. https://www.healthline.com/health/infectious-endocarditis. 17 July 2020

Infective Endocarditis. https://emedicine.medscape.com/article/216650-overview. 17 July 2020

Endocarditis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endocarditis/symptoms-causes/syc-20352576. 17 July 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/07/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สาเหตุ อาการ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา