backup og meta

ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง กับอาการเบื้องต้นที่คุณควรสังเกต

ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง กับอาการเบื้องต้นที่คุณควรสังเกต

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เกิดจากผนังของหลอดเลือดมีการขยายตัวขึ้นด้วยปัจจัยหลาย ๆ ช่องทางตามสภาวะสุขภาพไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่คุณทราบหรือไม่ว่า โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองนี้ ยังแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งทาง Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนมารู้จักกับ ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง พร้อมกับอาการที่คุณควรสังเกตตัวเอง

ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ที่มีทั้งสาเหตุ และอาการที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ในช่องอกนี้ค่อนข้างมีความอ่อนแอ หากคุณเคยมีประวัติทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดแข็งตัว การติดเชื้อของหัวใจ และลิ้นหัวใจเอออร์ตา ก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการกดทับ และโป่งพองออกมาได้นั่นเอง

แต่ถึงอย่างไร การโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่ในบริเวณนี้มักเติบโตได้ช้า และไม่ค่อยปรากฏอาการมากนัก ทำให้ตรวจพบได้ยาก นอกเสียจากว่าเส้นเลือดแดงใหญ่จะเริ่มพองโตใหญ่ขึ้น และเผยอาการต่าง ๆ ออกมาให้เห็น ซึ่งอาการต่าง ๆ ได้แก่ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง เสียงแหบ และหายใจถี่

  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ประเภทนี้ เกิดจากการพัฒนาของหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก และค่อนข้างอันตรายอย่างมาก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้การโป่งพองของหลอดเลือดแดงขยายใหญ่จนแตกได้ สำหรับอาการที่คุณควรสังเกตส่วนใหญ่ ได้แก่ มีอาการปวดท้องรุนแรง อาการปวดหลังเป็นเวลานาน หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก สีผิวเปลี่ยนสี และถึงขั้นหมดสติได้ในที่สุด

สัญญาณเตือนแบบไหน ที่ควรเข้าขอพบคุณหมอ

อาการที่คุณไม่ควรเพิกเฉย และควรรีบเข้าขอพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจเช็กอย่างละเอียด มีดังนี้

หากไม่สามารถเดินทางไปรับการรักษาด้วยตนเองได้ และเพื่อความปลอดภัยระหร่างการเดินทาง คุณอาจจำเป็นต้องติดต่อไปยังเบอร์ฉุกเฉินของทางโรงพยาบาล เพื่อให้มารับตัวคุณอย่างโดยเร็วที่สุดก่อนเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองจะแตกตัวออก ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสี่ยงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

สำหรับบุคคลใดที่เคยได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า ตนเองกำลังเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง แพทย์อาจแนะนำให้คุณหยุดใช้ร่างกาย และหยุดการยกของหนัก เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ อาจเพิ่มความดันโลหิต รวมถึงเพิ่มแรงกดดันไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองได้ นอกจากนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังจะขอให้คุณละเว้นการสูบบุหรี่ งดรับประทานอาหารประเภทไขมัน และโปรดหันมาออกกำลังกายในระดับเบาอย่างสม่ำเสมอเพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมให้หลอดเลือดแดงคุณแข็งแรงขึ้น

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Aortic Aneurysm. https://www.cdc.gov/heartdisease/aortic_aneurysm.htm . Accessed July 01, 2021

abdominal aortic aneurysm. https://www.nhs.uk/conditions/abdominal-aortic-aneurysm/ . Accessed July 01, 2021

What is an Aortic Aneurysm?. https://www.webmd.com/heart-disease/heart-disease-aortic-aneurysm . Accessed July 01, 2021

aortic aneurysm. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/aortic-aneurysm/symptoms-causes/syc-20369472 . Accessed July 01, 2021

thoracic aortic aneurysm. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/thoracic-aortic-aneurysm/symptoms-causes/syc-20350188 . Accessed July 01, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการวินิจฉัยโรค ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา