backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว กับสัญญาณเตือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/08/2021

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว กับสัญญาณเตือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

    การจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจาก โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจสามารถทำได้ หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ที่มากพอ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ และสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ดีมากขึ้น ก่อนที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจในภายหลัง

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีอะไรบ้าง

    ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจจะมาจากภาวะทางสุขภาพอย่างเช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อไวรัส แต่ก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ขึ้นมาได้อีกเช่นเดียวกัน ดังนี้

    • พันธุกรรม

    หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ คุณก็อาจได้รับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคจากคนในครอบครัวมาได้เช่นกัน

  • ปัญหาทางสุขภาพ

  • นอกจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจแล้ว ผู้ที่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ โรคไตเรื้อรัง โรคปอด โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้เช่นกัน

    • อายุ

    แน่นอนว่าเมื่อคุณมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายอาจเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ส่งผลให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับโรคต่าง ๆ รวมไปถึง โรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ได้ง่ายขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ อีกด้วย

    การวินิจฉัย โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว 

    สำหรับการวิจิยฉัยเพื่อหาสาเหตุของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์อาจเริ่มต้นด้วยการซักประวัติสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงอาการและยาต่าง ๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่ จากนั้นแพทย์ก็อาจเลือกเทคนิคการตรวจสุขภาพหัวใจ ดังต่อไปนี้

    • ตรวจเลือด เทคนิคนี้เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วขั้นพื้นฐาน ใช้เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติ หรือสารแปลกปลอมในเลือด ที่อาจทำให้คุณอาจเป็นโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้
    • บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติของสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจ
    • เอกซเรย์ทรวงอก การเอกซเรย์จะทำให้แพทย์เห็นโครงสร้างภายในของปอดและหัวใจ ว่ามีความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว บ้างหรือไม่
    • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบนี้แพทย์อาจใช้กับกรณีที่แพทย์คาดว่าคุณอาจมีลิ่มเลือด โดยจะใช้คลื่นเสียงส่งเข้าไปเพื่อบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่

    สำหรับในส่วนของการรักษา โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดำเนินการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค รวมถึงผลอื่น ๆ จากการตรวจร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยบางคนอาจมีสภาวะที่อาจส่งผลกระทบกับการรักษาได้ การเลือกวิธีการรักษาจึงต้องเป็นไปอย่างรอบคอบและปลอดภัย

    โดยปกติแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการรักษา โดยการรีเซ็ตอัตราการเต้นของหัวใจด้วยการใช้ยาและไฟฟ้ากระตุ้น แต่สำหรับในกรณีรุนแรง แพทย์ก็อาจพิจารณาการผ่าตัดหัวใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อย่างรวดเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเป็นอันตรายได้

    สัญญาณเตือนแบบไหน ที่คุณควรพบคุณหมอ

    สัญญาณเตือนที่คุณควรเข้ารับการวินิจฉัย คือ อาการเจ็บหน้าอก และหัวใจเต้นผิดปกติ เพราะเป็นอาการที่เชื่อมโยงกับ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โดยตรง หากคุณสังเกตพบอาการดังกล่าว แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดในทันที อย่าเพิกเฉยปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจนำไปสู่อันตรายต่อร่างกาย เช่น ภาวะหัวใจวาย ได้ในที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา