backup og meta

ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เป็นหนึ่งในปัญหาของโรคหัวใจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพกายโดยรวมของคุณ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด คุณอาจต้องทำการทราบข้อมูลพื้นฐานของโรคนี้เอาไว้ ก่อนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต

คำจำกัดความ

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) คืออะไร

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease : CAD) เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือด ออกซิเจน และสารอาหาร ไปยังหัวใจ (หลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจ) จนเกิดความเสียหาย และมีการสะสมของคราบพลัคจากคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด หรือเกิดจากอาการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ

เมื่อคราบพลัคก่อตัวขึ้น จะทำให้หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบลง และส่งผลให้เลือดที่ลำเลียงไปยังหัวใจนั้นน้อยลง เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หรืออาจจะเกิดสิ่งบ่งชี้และอาการอื่น ๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ การตีบตันของเส้นเลือดอย่างสมบูรณ์เกิดภาวะหัวใจวายได้

โรคหลอดเลือดหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด

โรคหลอดเลือดหัวใจมักจะพบได้บ่อยทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน

อาการ

อาการของ โรคหลอดเลือดหัวใจ

อาการที่มักพบได้มากที่สุดคืออาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) หรือเจ็บหน้าอก โดยอาการปวดเค้นในหน้าอกนี้สามารถอธิบายได้ว่าเป็น

  • อาการหน่วง
  • แรงกด
  • อาการปวด
  • อาการแสบร้อน
  • อาการชา
  • อาการแน่น
  • อาการบีบคั้น

อาการเหล่านี้อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นอาการของอาการอาหารไม่ย่อยและภาวะกรดไหลย้อนได้

อาการปวดเค้นในหน้าอกมักรู้สึกที่บริเวณหน้าอก แต่ยังอาจรู้สึกในบริเวณอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ไหล่ข้างซ้าย แขน คอ หลัง และกระดูกขากรรไกร

อาการดังกล่าวมักจะไม่ค่อยรุนแรงในผู้หญิง นอกจากนี้อาการคลื่นไส้ เหงื่อออก อ่อนเพลีย หรือหายใจไม่อิ่ม อาจเป็นอาการร่วมของอาการเจ็บหน้าอกแบบคล้ายมีแรงกดที่พบได้ทั่วไป อาการอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณสงสัยว่ากำลังเป็นโรคหัวใจวาย มีความดันโลหิตสูง ให้โทรแจ้งที่หมายเลขฉุกเฉินทันที หากคุณไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินได้ ให้คนในครอบครัวขับรถพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด การขับรถไปโรงพยาบาลเองควรเป็นทางเลือกสุดท้าย

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากความเสียหาย หรือบาดแผลในผนังด้านในของหลอดเลือดหัวใจ ในบางครั้งพบได้เร็วตั้งแต่ในวัยเด็ก ความเสียหายดังกล่าวอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • ความดันเลือดสูง
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • โรคเบาหวานหรือภาวะต้านอินซูลิน (insulin resistance)
  • การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน

เมื่อเกิดความเสียหายที่ผนังด้านในของหลอดเลือดหัวใจ สิ่งสะสมจำพวกไขมัน (คราบพลัค) ที่เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียในเซลล์อื่น ๆ อาจสะสมตัวในบริเวณที่เกิดความเสียหายในกระบวนการที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) หาพื้นผิวของคราบพลัคแตกหรือแยกออก เซลล์เม็ดเลือดที่เรียกว่า เกล็ดเลือด (platelets) จะจับตัวกันในบริเวณดังกล่าว เพื่อพยายามซ่อมแซมหลอดเลือดแดง การจับตัวกันของเกล็ดเลือดนี้ สามารถอุดตันหลอดเลือด ซึ่งก่อให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจ

มีปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจหลายประการ เช่น

  • อายุที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงสำหรับภาวะหลอดเลือดแดงเสียหายและตีบ
  • ผู้ชายมักมีความเสี่ยงสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน
  • ประวัติครอบครัว ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหัวใจมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากญาติสนิทเป็นโรคหัวใจตั้งแต่ยังเด็ก มีความเสี่ยงสูงสุด หากบิดาหรือพี่ชายหรือน้องชายได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี หรือหากมารดาหรือพี่สาวหรือน้องสาว มีอาการของโรคก่อนอายุ 65 ปี
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการเป็นโรคหัวใจ การทำให้คนรอบข้างได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของคุณยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยเช่นกัน
  • ความดันเลือดสูง ภาวะความดันเลือดสูงที่ไม่ได้รับการรักษา สามารถส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้น ซึ่งอุดตันช่องทางที่เลือดลำเลียงผ่าน
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดคราบพลัคและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ระดับคอเลสเตอรอลสูงมีสาเหตุมาจากระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein: LDL) ที่เรียกว่า คอเลสเตอรอล “ไม่ดี” ในเลือดสูง ระดับไขมันความหนาแน่นสูง (high-density lipoprotein: HDL) ที่เรียกว่า คอเลสเตอรอล “ดี” ในเลือดต่ำ อาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • โรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานประเภท 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ โรคอ้วนและความดันเลือดสูง
  • ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน น้ำหนักส่วนเกินมักส่งผลให้ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ แย่ลง
  • การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย การขาดการออกกำลังกายยังมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจ และปัจจัยเสี่ยงบางประการด้วยเช่นกัน
  • ภาวะความเครียดสูง ความเครียดที่ไม่ได้รับการบรรเทาในชีวิตอาจทำให้หลอดเลือดแดงเสียหาย พร้อมทั้งทำให้ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแย่ลง

ปัจจัยเสี่ยงมักเกิดขึ้นพร้อมกัน และอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยหนึ่ง ๆ เช่น โรคอ้วนก่อให้เกิดโรคเบาหวานประเภท 2 และความดันเลือดสูง เมื่อถูกจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน ปัจจัยเสี่ยงบางประการก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจที่มากขึ้น ตัวอย่างเช่น โรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่รวมถึงภาวะความดันเลือดสูง ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง ระดับอินซูลินสูง และไขมันร่างกายส่วนเกินบริเวณรอบเอว เพิ่มความเสียงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ในบางครั้ง โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้น โดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่พบได้ทั่วไป นักวิจัยได้ทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้อื่นๆ ได้แก่

  • ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea) อาการผิดปกติดังกล่าวนี้เป็นสาเหตุให้คุณเริ่มและหยุดหายใจอย่างซ้ำๆ ในระหว่างที่นอนหลับ การลดลงกะทันหันของระดับออกซิเจนในเลือด ที่เกิดขึ้นในระหว่างภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะเพิ่มความดันเลือด และทำให้ระบบหัวใจใจและหลอดเลือดทำงานหนัก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โปรตีนซี-รีแอ็คทีฟในระดับสูง (High sensitivity C-reactive protein: hs-CRP) เป็นโปรตีนที่เกิดขึ้นในปริมาณสูงขึ้น เมื่อมีอาการอักเสบที่บางบริเวณในร่างกาย ระดับโปรตีนซี-รีแอ็คทีฟที่สูงขึ้น อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งสำหรับโรคหัวใจ เป็นที่สันนิษฐานว่าเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบลง คุณจะมีปริมาณโปรตีนซีรีแอ็คีฟในเลือดเพิ่มมากขึ้น
  • ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันในเลือดประเภทหนึ่ง ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง
  • โฮโมซีสทีน (Homocysteine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายของคุณใช้เพื่อสร้างโปรตีนและสร้างและรักษาเนื้อเยื่อ แต่โฮโมซีสทีนในระดับสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าคุณเป็นโรคนี้ หากได้รับรู้เกี่ยวกับอาการ ประวัติสุขภาพ และปัจจัยเสี่ยง
  • การทดสอบร่างกาย
  • การทดสอบเชิงวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram: ECG หรือ EKG) การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (echocardiogram) การตรวจด้วยการออกกำลัง (exercise stress tests) การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ลำแสงอิเล็กตรอน (electron beam (ultrafast) CT scans) การสวนหัวใจและหลอดเลือด (cardiac catheterization) และอื่นๆ การทดสอบเหล่านี้ช่วยให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับขอบเขตของโรคหลอดเลือดหัวใจ ผลต่อหัวใจ และการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

ยาประเภทต่างๆ สามารถใช้เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ได้แก่

  • ยาลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol-modifying medications) ด้วยการลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein: LDL) หรือคอเลสเตอรอล “ไม่ดี” ยานี้จะช่วยลดสารเบื้องต้นที่สะสมตัวในหลอดเลือดหัวใจ แพทย์สามารถเลือกใช้ยาจากยาจำพวกหนึ่งได้ เช่น ยาสเตติน (statins) ยาไนอาซิน (niacin) ยาไฟเบรต (fibrates) และยาไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (bile acid sequestrants)
  • แพทย์อาจแนะนำการใช้ยาแอสไพรินประจำวัน หรือยาเจือจางเลือด (blood thinner) สามารถช่วยลดแนวโน้มการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจได้ หากคุณเคยมีภาวะหัวใจวาย ยาแอสไพรินสามารถช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวในอนาคตได้ มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาแอสไพริน เช่น หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ หรือกำลังใช้ยาเจือจางเลือดตัวอื่น ดังนั้น ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแอสไพริน
  • ยาเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta blockers) ยาชนิดนี้ช่วยชะลอการเต้นของหัวใจ และลดความดันเลือด ซึ่งช่วยลดปริมาณความต้องการออกซิเจนของหัวใจ หากคุณเคยมีภาวะหัวใจวาย ยาเบต้าบล็อกเกอร์ช่วยลดความเสี่ยของภาวะดังกล่าวในอนาคตได้
  • ยาเม็ด สเปรย์ และแผ่นยาไนโตรกลีเซอริน (Nitroglycerin) สามารถควบคุมอาการเจ็บหน้าอกได้ โดยการขยายหลอดเลือดหัวใจชั่วคราว และลดปริมาณความต้องการเลือดของหัวใจ
  • ยาต้านเอนไซม์เอซีอี (Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors) และตัวบล็อคตัวรับแอนจีโอเทนซิน (angiotensin II receptor blockers: ARBs) ยาสองประเภทที่คล้ายกันนี้ลดความดันเลือด และอาจช่วยป้องกันการลุกลามของโรคหลอดเลือดหัวใจ

ในบางครั้งจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาที่รุนแรงขึ้น วิธีการดังกล่าวมีดังนี้

  • การผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty)
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือโรคหลอดเลือดหัวใจ

ไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคหลอดเลือดหัวใจได้

  • เลิกสูบบุหรี่  เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวาย
  • ควบคุมความดันเลือด
  • ตรวจคอเลสเตอรอลสม่ำเสมอ
  • การออกกำลังกายช่วยให้คุณมีและควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารประเภทเมดิเตอร์เรเนียนไดเอ็ท ซึ่งเน้นอาหารจำพวกพืชผัก เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่ว
  • จัดการความเครียด ให้ลดความเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Coronary artery disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/symptoms-causes/syc-20350613. Accessed December 26, 2017.

Coronary Artery Disease. https://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-coronary-artery-disease#2-6. Accessed December 26, 2017.

What to know about coronary artery disease. https://www.medicalnewstoday.com/articles/184130 . Accessed July 27, 2021.

Coronary Artery Disease. https://medlineplus.gov/coronaryarterydisease.html. Accessed July 27, 2021.

Coronary Artery Disease (CAD). https://www.cdc.gov/heartdisease/coronary_ad.htm . Accessed July 27, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/09/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ และทางเลือกอื่นในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

มลพิษทางอากาศ ไม่ใช่แค่ปอดพัง แต่ทำร้ายยันหัวใจและหลอดเลือด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 07/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา