backup og meta

ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test)

ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test)

การ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test) เป็นการตรวจเพื่อดูว่าว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ เมื่อมดลูกหดรัดตัวระหว่างการคลอด

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว คืออะไร

การตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว หรือการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก (Contraction Stress Test หรือ CST) เป็นการตรวจเพื่อประเมินว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ในระหว่างที่ระดับออกซิเจนลดลงซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อมดลูกหดรัดตัวระหว่างการคลอด โดยเป็นการตรวจดูการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์จากภายนอก และมักทำการทดสอบเมื่อมีอายุครรภ์ 34 สัปดาห์หรือมากกว่า

ในระหว่างมดลูกหดรัดตัว เลือดและออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์จะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ สิ่งนี้ไม่ใช่ปัญหาสำหรับทารกส่วนใหญ่ แต่อัตราการเต้นของหัวใจของทารกบางรายอาจมีค่าช้าลง การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจนี้สามารถมองเห็นได้จากอุปกรณ์แสดงภาพจากภายนอก

การตรวจสอบนี้ จะมีการให้ฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin) ผ่านทางหลอดเลือดดำ (intravenously หรือ IV) ของมารดา เพื่อทำให้มดลูกหดตัวเสมือนการคลอด หรืออาจมีการนวดหัวนมเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายปลดปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซินออกมา หากอัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลงหลังมดลูกบีบรัดตัว แสดงว่าทารกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับแรงกดทับในการคลอดตามธรรมชาติ

การตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว มักกระทำเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีผลการตรวจความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจ (Non-stress test) และการตรวจความสมบูรณ์ของทารก (biophysical profile) ผิดปกติ การตรวจความสมบูรณ์ของทารกทำได้โดยการอัลตราซาวด์เพื่อวัดลักษณะทางร่างกายของทารก

ความจำเป็นในการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว

การตรวจสอบภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ขณะมีการบีบตัวของมดลูกมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  • เพื่อประเมินว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ เมื่อมดลูกบีบตัวและระดับออกซิเจนลดลงระหว่างการคลอด
  • ประเมินว่ารกแข็งแรงพอที่จะพยุงตัวทารกได้

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์อาจดำเนินการเมื่อพบว่ามีผลการตรวจภาวะสุขภาพทารกในครรภ์แบบไม่มีแรงกดทับที่ตัวทารก (Non-stress test) หรือการตรวจความสมบูรณ์ของทารกผิดปกติ

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว

ในบางกรณี การตรวจภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมีการบีบตัวของมดลูกอาจแสดงผลว่าการเต้นของหัวใจทารกช้าลง ทั้งๆ ที่ทารกไม่ได้มีอาการผิดปกติใดๆ กรณีนี้เรียกว่าผลบวกลวง

ในปัจจุบัน การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ส่วนใหญ่ แพทย์สามารถประเมินทารกได้เร็วขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น โดยการตรวจความสมบูรณ์ของทารกหรือการตรวจภาวะสุขภาพทารกในครรภ์แบบไม่มีแรงกดทับที่ตัวทารก (Non-stress test) หรือทั้งสองอย่าง

แพทย์บางรายอาจมีการตรวจความสมบูรณ์ของทารกด้วยการตรวจอัลตราซาวด์โดยใช้คลื่นเสียงดอพเลอร์ (Doppler ultrasound test) แทนการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว

หากมีข้อสงสัยใดๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว

ควรงดรับประทานอาหารและน้ำอย่างน้อย 4-8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ และให้ปัสสาวะก่อนเข้ารับการตรวจ

หากคุณสูบบุหรี่ ให้งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถทำให้การทำงานของร่างกาย และอัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลงได้

มารดาจะต้องลงนามในหนังสือให้ความยินยอมที่แสดงว่าเข้าใจความเสี่ยงในการตรวจและยินยอมให้ดำเนินการได้

หากคุณมีข้อสงสัย หรือต้องการทราบข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับความจำเป็นในการตรวจ วิธีดำเนินการ และผลการตรวจ โปรดปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว

ผู้เข้ารับการตรวจควรงดรับประทานอาหารและน้ำอย่างน้อย 4-8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ ควรงดรับประทานอาหารและน้ำอย่างน้อย 4-8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ และให้ปัสสาวะก่อนเข้ารับการตรวจ ผู้เข้ารับการตรวจบางรายอาจพบว่าจำเป็นต้องมีการผ่าคลอดฉุกเฉิน

เมื่อถึงเวลาตรวจ มารดาจะต้องอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย โดยผู้ทำการทดสอบจะติดตั้งอุปกรณ์สองอย่างที่หน้าท้อง โดยอุปกรณ์หนึ่งจะใช้ดูอัตราการเต้นของหัวใจของทารก และอีกอุปกรณ์หนึ่งจะบันทึกการบีบตัวของมดลูกและแสดงผลเป็นเส้นกราฟสองเส้นแยกกัน

การทดสอบจะดำเนินต่อไปจนมดลูกหดรัดตัวอย่างน้อย 3 ครั้งในช่วงเวลา 10 นาที ครั้งละไม่ต่ำกว่า 40-60 วินาที บางครั้งการตรวจอาจใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง มารดาอาจรู้สึกได้ถึงการหดตัวของมดลูกได้น้อยมากหรืออาจรู้สึกคล้ายอาการปวดประจำเดือน โดยอาการดังกล่าวไม่ควรรุนแรงมากเกินไปจนกลายเป็นการกระตุ้นการคลอด

หากมดลูกไม่บีบตัวด้วยตัวเองในระหว่าง 15 นาทีแรก แพทย์อาจพยายามให้มดลูกบีบตัวโดยการให้ฮอร์โมนออกซิโทซินในปริมาณเล็กน้อยผ่านทางหลอดเลือดดำ หรือให้มารดากระตุ้นหัวนมตัวเอง เพื่อปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซินตามธรรมชาติ

หลังการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว

หลังเข้ารับการตรวจ มารดาจะได้รับการเฝ้าระวังอาการจนกว่าอาการมดลูกหดตัวจะหายไปหรือลดลงจนมีค่าเท่าก่อนตรวจ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ประเภทนี้อาจใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง

หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

ผลการตรวจ

ผลการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว

ผลการตรวจแสดงให้เห็นถึงสุขภาพทารกในครรภ์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบมากกว่าหนึ่งครั้งในระหว่างตั้งครรภ์

ค่าปกติ  : ผลการตรวจปกติเรียกว่าค่าลบ (Negative)

หากไม่มีความผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจของทารกจะไม่ช้าลงขณะมดลูกบีบตัว และไม่ช้าลงหลังจากมดลูกบีบตัว หรือที่เรียกว่า Late deceleration

หมายเหตุ :

บางครั้งในระหว่างการตรวจ อาจพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ช้าลง แต่หากไม่ช้าลงหลังการบีบตัวของมดลูกหายไป แสดงว่าไม่เป็นปัญหา

หากมดลูกหดตัวสามครั้งภายใน 10 นาที หลังการกระตุ้นหัวนมหรือการฉีดออกซิโทซิน และไม่พบว่าทารกมีภาวะ Late deceleration หรือหัวใจเต้นช้าลงหลังมดลูกบีบตัว ก็สามารถประเมินได้ว่าทารกสุขภาพแข็งแรงและจะปลอดภัยเมื่อมดลูกบีบตัวระหว่างการคลอด

ค่าผิดปกติ : ผลการตรวจที่ผิดปกติเรียกว่าค่าบวก (Positive)

หากผลปรากฏเป็นค่าบวก แสดงว่าทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลงขณะมดลูกบีบตัวและหัวใจยังคงเต้นช้าลงภายหลังที่มดบีบตัว โดยต้องมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งของการทดสอบที่มีการบีบตัวของมดลูกจึงจะถือว่าผลเป็นบวก และหมายความว่าทารกอาจมีอาการผิดปกติระหว่างการคลอดแบบธรรมชาติได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตรวจ

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบนี้ไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะดังต่อไปนี้

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา เช่น การผ่าคลอดซึ่งมีรอยผ่าในแนวกลาง (แนวตั้ง) ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (placenta abruptio) การตั้งครรภ์ทารกมากกว่าหนึ่งคน ภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (premature rupture of the membranes หรือ PROM) มีภาวะปากมดลูกหลวม (incompetent cervix) หรือได้รับแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate) ในระหว่างตั้งครรภ์
  • การผ่าตัดมดลูกในอดีต การหดตัวของมดลูกที่รุนแรงอาจทำให้มดลูกแตกได้
  • หากคุณสูบบุหรี่หรือใช้โคเคน
  • การเคลื่อนไหวของทารกระหว่างการตรวจ อาจทำให้เครื่องจับสัญญาณเพื่อบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจหรือการหดตัวได้ยากขึ้น
  • มีภาวะน้ำหนักเกิน

จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว อาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบอย่างละเอียด

หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Contraction stress test. http://www.webmd.com/baby/contraction-stress-test?print=true. Accessed Jul 6 2016.

Contraction stress test. http://www.babycenter.com/0_contraction-stress-test_1276699.bc?showAll=true. Accessed Jul 6 2016.

Contraction Stress Test. https://www.uofmhealth.org/health-library/aa77493. Accessed Jul 6 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคท็อกโซพลาสโมซิส ส่งผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์

โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ ระหว่างตั้งครรภ์ ควรดูแลอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา