backup og meta

เคล็ดลับน่ารู้ ท่านอน แต่ละท่า มีข้อดีข้อด้อยอย่างไรกัน?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เคล็ดลับน่ารู้ ท่านอน แต่ละท่า มีข้อดีข้อด้อยอย่างไรกัน?

    การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อวันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะการพักผ่อนที่เพียงพอเปรียบเสมือนการชาร์จพลังงานของร่างกายให้พร้อมที่จะตื่นไปทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการนอนที่ดีนั้นจำเป็นต้องควบคู่ไปกับ ท่านอน ที่เหมาะสมและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับน่ารู้ถึงข้อดีและข้อด้อยในแต่ละท่วงท่านอนมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

    ท่านอน ท่าไหน ที่เหมาะสำหรับคุณ?

    ท่านอนแต่ละท่านั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพของคุณได้อย่างไม่คาดคิด หากนอนผิดท่า อาจทำให้ระบบหายใจของคุณนั้นทำงานผิดปกติได้ เช่น หายใจไม่ออก การกรนเสียงดังจนรบกวนคนรอบข้าง และนำไปสู่การนอนไม่หลับ มาเช็กถึงข้อดี ข้อด้อย ของแต่ละท่านอนกันดีกว่า ว่าท่าไหนจะเหมาะสมกับคุณมากที่สุด

    • นอนหงาย

    ข้อดี : ทำให้ร่างกายของคุณสูดอากาศได้เต็มที่ อาจเพิ่มเติมด้วยการนำหมอน หรือเบาะรองไว้บริเวณที่คุณรู้สึกปวดเพราะอาจช่วยบรรเทาอาการลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการใช้งานหนักระหว่างวัน

    ข้อด้อย : สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการหายใจอยู่ก่อนแล้ว อาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจจนทำให้เกิดการหายใจทางปาก หรือเรียกอีกอย่างว่า การกรน ซึ่งสามารถส่งผลทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

    • นอนตะแคงซ้าย

    ข้อดี : การนอนท่านี้สามารถทำให้คุณหลีกเลี่ยงอาการกรนได้ดี รวมถึงห่างไกลจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การนอนตะแคงด้านซ้ายถือว่าเป็นท่านอนที่ดีสำหรับสตรีตั้งครรภ์ แต่ควรนำหมอนมารองบริเวณใต้ท้องเพื่อลดแรงกดของกระเพาะปัสสาวะ และบรรเทาอาการปวดหลัง หรือสะโพก

    ข้อด้อย : การนอนตำแหน่งนี้ในระยะเวลานานอาจไม่เหมาะสมสำหรับบางคน เพราะอาจทำให้หัวใจเกิดการทำงานอย่างหนัก หรืออาจทำให้สภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงความโค้งของกระดูกหลังส่วนล่างเปลี่ยนแปลง

    • นอนตะแคงขวา

    ข้อดี : ไม่ต่างจากการนอนจะแคงด้านซ้ายมากนัก เพราะท่านี้สามารถช่วยในเรื่องของลดอาการกรนได้ดีเช่นเดียวกัน

    ข้อด้อย : อาจทำให้ปริมาณของออกซิเจนลดลง ทำให้เกิดแรงกดที่หลอดเลือด และเส้นประสาทนำไปสู่การปวดเมื่อยบริเวณสะโพกด้านขวา หรือหลังส่วนล่างได้

    • นอนคว่ำ

    ข้อดี : ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของขนาดทรวงอกได้ และยังช่วยรักษาอุณภูมิในร่างกายส่งผลต่อจิตใจทำให้ผ่อนคลายขึ้น

    ข้อด้อย : การนอนคว่ำนั้นอาจทำให้คุณรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ กล้ามเนื้อไหล่ส่วนบน และหลังส่วนบน รวมถึงระบบการหายใจทำงานได้ไม่เต็มที่

    5 สารอาหาร เสริมประสิทธิภาพในการนอน

  • เชอร์รี่
  • คุณสามารถทานผลไม้ หรือคั้นเป็นน้ำเพื่อดื่มในช่วงเวลาก่อนนอนหรือตอนท้องว่างได้ เพราะเชอร์รี่มีฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ส่งเสริมการนอนหลับ เพิ่มชั่วโมงการพักผ่อนของคุณได้ยาวนานขึ้น

  • กีวี่
  • กีวี่เป็นผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดที่มีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ช่วยในการผ่อนคลายให้คุณได้นอนหลับได้เร็วขึ้น และลดความอยากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตได้อย่างดี จากการทดสอบของทีมวิจัยที่ศึกษาในวัยผู้ใหญ่จำนวน 24 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยให้รับประทานก่อนนอนทุกคืน และได้บันทึกการนอนหลับด้วยอุปกรณ์บางอย่างที่รัดข้อมือเพื่อช่วยจดจำวัดผลการทดลอง ซึ่งจากการทดสอบเป็นระยะเวลา 1 เดือนสรุปได้ว่า พวกเขาสามารถนอนหลับได้ยาวนานขึ้น และมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นถึง 18% เลยทีเดียว

    • ธัญพืช

    ธัญพืชที่ดีนั้นไม่จำเป็นที่ต้องรับประทานในช่วงเช้าเพียงอย่างเดียว แต่สามารถรับประทานช่วงเวลาก่อนนอนได้ โดยอาจมีการเพิ่มรสชาติเล็กน้อย เช่น รับประทานควบคู่กับนม หรือผลไม้อบแห้ง เป็นต้น

    • โยเกิร์ต

    เป็นแหล่งรวมแคลเซียมที่ช่วยรักษากระดูก และสามารถลดความหิวในช่วงเวลากลางคืนได้ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับด้วยการสร้างเมลาโทนนินจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Amino Acid Tryptophan) ที่อยู่ในโยเกิร์ตอีกด้วย

    • แครกเกอร์และชีส

    หนึ่งในของว่างที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ แต่การรับประทานชีสในช่วงเวลาก่อนนอนนั้น ควรเลือกเป็นเชดดาร์ชีสที่ดีมีไขมันน้อย เพื่อป้องกันโรคอ้วนที่อาจตามมา

    พฤติกรรมการนอนหลับ ที่จำเป็นต้องฝึกให้เป็นนิสัย

    คุณควรเริ่มโดยการขจัดความกังวล ความเครียด ออกไปก่อนที่จะเข้านอน และจัดตารางเวลาการนอนหลับให้คุณได้พักผ่อนเพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมง ต่อวัน พยายามเข้านอน และตื่นนอนในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด พร้อมกับเช็กสภาพแวดล้อมในห้องนอนของคุณไม่ให้มีแสงสว่าง หรือเสียงรบกวนในช่วงเวลากลางคืน

    ในระยะแรกหากคุณยังไม่สามารถฝึกพฤติกรรมเหล่านี้ได้อาจมีการออกกำลังกายร่วมด้วย เพราะการสูญเสียพลังงาน อาจทำให้ร่างกายของคุณต้องการพักผ่อนมากขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา