backup og meta

ยาชนิดไหนที่ช่วยอาการปวดกระดูกและข้อ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 27/11/2019

    ยาชนิดไหนที่ช่วยอาการปวดกระดูกและข้อ

    อาการปวดกระดูกอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยไปกว่าการปวดข้อและกล้ามเนื้อ แต่ก็ทำให้ร่างกายอ่อนกำลังลงได้เช่นกันและควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม แพทย์ของคุณอาจสั่ง ยาแก้ปวดข้อ และปวดกระดูก ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกสับสนและตกใจ เราสามารถช่วยแก้ความสับสนของคุณได้ด้วยการอธิบายตัวยาประเภทต่างๆ ที่ใช้เพื่อรักษาการปวดกระดูก ก่อนอื่น คุณควรทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดกระดูกก่อน

    สาเหตุของอาการปวดกระดูก

    การปวดกระดูกอาจเกิดขึ้นได้จากการแตกร้าวของกระดูกหรือสภาวะร่างกายที่ส่งผลต่อกระดูก สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการปวดกระดูกได้แก่

    • การบาดเจ็บ
    • กระดูกแตก
    • ใช้งานมากเกินไป
    • มะเร็งภายในกระดูก (มะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ)
    • มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังกระดูก (มะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ)
    • เลือดไปเลี้ยงกระดูกไม่เพียงพอ
    • การติดเชื้อในกระดูก (osteomyelitis)
    • ลิวคีเมีย
    • ขาดการเกาะของแร่ธาตุ (mineralization) ที่กระดูก (ภาวะกระดูกพรุน)

    อาการปวดกระดูกอาจเกี่ยวข้องกับภาวะการสูญเสียกระดูกและระดับแคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มสูง (hypercalcemia)

    ยาอะไรที่ใช้ในการรักษาอาการปวดกระดูก

    การรักษาของคุณจะขึ้นกับสาเหตุของอาการปวดกระดูก เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับสภาวะของคุณก่อนที่จะเริ่มดำเนินการรักษาประเภทใดๆ ยาแก้ปวดข้อ บางชนิดที่ใช้ทั่วไปเพื่อรักษาอาการปวดกระดูกอาจรวมถึง

    ยาปฏิชีวนะ

    มักมีการจ่ายยาปฏิชีวนะให้เพื่อรักษาอาการปวดกระดูกเมื่อเกิดอาการปวดจากการติดเชื้อ เช่น ภาวะติดเชื้อในกระดูก (osteomyelitis) อาจใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน (ทางปาก) หรือทาง IV (ทางหลอดเลือดดำ) เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบเพื่อป้องกันการดื้อยา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรียไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะอีกต่อไป เมื่อเกิดภาวะนี้ แพทย์จะต้องจ่ายยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้นให้ ยาปฏิชีวนะที่ใช้โดยทั่วไปจำนวนหนึ่งได้แก่ คลินดามัยซิน (clindamycin) ไทคาร์ซิลลิน (ticarcillin) พร้อมด้วยคลาวูลาเนต (clavulanate) และเซโฟตีแทน (cefotetan) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณแจ้งให้แพทย์ทราบแล้วว่าคุณแพ้ยาตัวใดหรือไม่ เช่น เพนนิซิลลิน

    ยาต้านอาการชัก 

    ถ้าอาการปวดกระดูกของคุณเป็นอาการปวดแบบแสบร้อนและชา เป็นไปได้ที่สุดว่าจะเป็นการปวดประสาทที่เป็นที่รู้จักว่าเป็นอาการปวดเหตุประสาท (neuropathic pain) จะมีการสร้างปลายประสาทขึ้นเมื่อคุณรู้สึกเจ็บปวดเพื่อที่จะนำตัวสื่อความเจ็บปวดมา ยิ่งคุณรู้สึกเจ็บปวดมากเท่าไร ปลายประสาทเหล่านี้ก็จะยิ่งถูกสร้างมากขึ้น และทำให้คุณยิ่งมีความไวต่ออาการเจ็บปวดมากขึ้นด้วย ยาต้านอาการชักที่ตามปกติใช้เพื่อรักษาอาการชักยังสามารถใช้เพื่อรักษาอาการปวดเหตุประสาทได้ด้วย ตามปกติจะถูกใช้ร่วมกันกับยารักษาอื่นๆ เพื่อลดความเจ็บปวดของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ยาต้านอาการชักที่ใช้บ่อย ได้แก่คาร์บามาเซพีน (เอปิทอล®, เทเกรทอล®), กาบาเพนติน (กราลิส®, นิวรอนติน®), ออกซ์คาบาเซพีน (ไตรเล็ปตัล®), พรีกาบาลิน (ไลริกา®) และ โทพิราเมท (โทพาแมกซ์®) ต่อไปนี้เป็นอาการข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับยาประเภทนี้ ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจรวมถึงภาวะตับเสียหาย วิงเวียนศีรษะและเหนื่อยล้า

    ยาต้านการซึมเศร้า 

    ยาต้านการซึมเศร้าตามปกติใช้เพื่อรักษาอาการซึมเศร้า แต่เป็นที่รู้จักว่าสามารถใช้เพื่อรักษาอาการปวดประสาทได้ด้วย ยาต้านการซึมเศร้าทำงานโดยการเข้าแทรกแซงการทำงานของ serotonin และ norepinephrine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่สำคัญที่สามารถควบคุมความเจ็บปวดรวมทั้งอารมณ์ได้

    ยาต้านการซึมเศร้าที่ใช้โดยทั่วไปจำนวนหนึ่ง อาจได้แก่ อะมิทริปไทลีน อิมิพรามีน (โทฟรานิลl®), โคลมิพรามีน (อะนาฟรานิล®), โดซีพิน, นอร์ทริปไทลีน (ปามีลอร์®), เดซิพรามีน (นอร์พรามิน®) ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจรวมถึงอาการปากแห้ง ง่วงนอน ท้องผูกและเวียนศีรษะ

    ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates) 

    ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน นี่รวมถึงกระดูกแตก และอาการต่างๆ ที่ทำให้เกิดการสูญเสียเนื้อกระดูก เช่นมะเร็ง เนื้องอกหรือรอยโรค (lesion) ใช้เพื่อรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูง

    ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ อะเลนโดรเนท (โฟซาแมกซ์®), ไอบันโดรเนท (โบนิวา®), ริเซโดเนท (แอคโทเนล®, อะเทลเวีย®), โซเลโดรนิค แอซิด (รีคลาสท์®)

    คอร์ติโคสตีรอยด์ (Corticosteroids)

    ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ได้รับความนิยมในการรักษาอาการอักเสบในหลายส่วนของร่างกาย คุณอาจต้องใช้คอร์ติโคสตีรอยด์ถ้าคุณเป็นมะเร็งหรือเกิดอาการบวมในส่วนต่างๆ ที่มีเนื้องอกเพื่อลดแรงดันที่ปลายประสาทลง คอร์ติโคสตีรอยด์ป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่เกิดการบวมในร่างกายของคุณ

    ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ เดซามีทราโซน (เดคาดรอน®), เมทิลเพรดนิโซโลน (เดโปเมดรอล®, เมโดรล®), เพรดนิโซโลน, เพรดนิโซน, ไตรอัมนิโซโลน (อะริสโตสปาน®)

    สารเสพติด

    สารเสพติดทำงานโดยทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดสักระยะหนึ่ง และใช้เพื่อการบรรเทาปวดทันที สามารถขจัดความเจ็บปวดได้ด้วยการบล็อคสัญญาณความปวด สารเสพติดมักจะมีผลข้างเคียงอย่างเช่นผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด เช่นท้องผูก เซื้องซึม เวียนศีรษะและอาเจียน

    ยาที่ใช้กันทั่วไปจำนวนหนึ่ง ได้แก่ โคเดอีน, เฟนทานิล (อัคติค®, ดูราจีซิก®, เฟนโทรา®), ไฮโดรโคโดน (ไฮซิงลา อีอาร์, โซไฮโดร อีอาร์), ไฮโดรโคโดน/อะเซตามีโนเฟน (ลอร์เซท®, ลอร์แทบ®, นอร์โค®,วิโคดิน®), ไฮโดรโมโฟน (ดิเลาดิด®, เอ็กซ์อัลโก®), เมเพอริดีน (เดเมโรล®), เมทาโดน (โดโลฟีน®, เมทาโดส®), มอร์ฟีน (แอสทรามอฟ®, อะวินซา®, คาเดียน®, เอ็มเอส คอนติน®, โอรามอร์ฟ เอสอาร์®), ออกซีโคโดน (ออกซิคอนติน®, ออกเซคตรา®, ร็อกซิโคโดน®), ออกซีโคโดน และอะเซตามิโนเฟน (เปอร์โคเซท®, เอนโดเซท®, โรซิเซท®), ออกซิโคโดนและนาโลโซน (ทาร์จินิค อีอาร์®)

    กลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs)

    การรักษาความเจ็บปวดที่ใช้โดยทั่วไปอีกอย่าง คือยากลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟนหรือไดโคลฟีแนค ยาเหล่านี้ส่วนมากใช้สำหรับอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ แม้ว่าจะสามารถใช้เพื่อสภาวะอื่นๆ เพื่อรักษาอาการต่างๆ ด้วยได้ก็ตาม

    ยาที่ใช้กันทั่วไปจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (แอดวิล®, มอทริน®), นาพร็อกเซน (อาเลเว®), เซเลค็อกซิบ (เซเลเบร็กซ์®), ไดโคลฟิแน็ก (โวลทาเรน®), คีโตโพรเฟน, นาพร็อกเซน (อะนาพร็อกซ์®), ไพโรซิแคม (เฟลดีน®) และ ซูลินแดค (ไคลโนริล®)

    คุณไม่ควรหยุดใช้ยาใดๆ กลางคันโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แพทย์ของคุณจะพูดคุยกับคุณว่าวิธีการรักษาใดที่ดีที่สุดสำหรับคุณ คุณควรพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการทำงาน ผลข้างเคียงของยาและวิธีการควบคุมผลข้างเคียงเหล่านี้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 27/11/2019

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา