backup og meta

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)

คำจำกัดความอาการสาเหตุปัจจัยเสี่ยง

คำจำกัดความ

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคืออะไร

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นชื่อทางการแพทย์สำหรับภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจถูกขัดขวางอย่างเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ

หัวใจจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หัวใจมีหลอดเลือดใหญ่สองเส้น และหลอดเลือดสาขาที่ทำหน้าที่ลำเลียงลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หากหลอดเลือดหัวใจหลอดใดหลอดหนึ่งหรือสาขาใดสาขาหนึ่งมีการอุดกั้นทันที หัวใจก็จะขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (Cardiac Ischemia)’

หากภาวะหัวใจขาดเลือดคงอยู่เป็นเวลานานเกินไป กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดจะตาย ภาวะนี้เรียกว่า “หัวใจวาย’ หรือเป็นที่รู้จักว่า “กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน’ หรือ “กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Death Of Heart Muscle)’

ภาวะหัวใจวาย ส่วนใหญ่กินเวลาหลายชั่วโมง ดังนั้น จึงอย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ ในบางกรณีอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือ ภาวะหัวใจวาย ส่วนใหญ่ จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พบได้บ่อยแค่ไหน

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ส่งผลต่อผู้ป่วยได้ในทุกวัย โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

อาการทั่วไปของ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้แก่

  • มีแรงกดหรืออาการแน่นในหน้าอก
  • อาการปวดในหน้าอก หลัง ขากรรไกร และบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายส่วนบนนานกว่า 2-3 นาที หรือหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่
  • หายใจลำบาก
  • เหงื่อออก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • วิตกกังวล
  • ไอ
  • เวียนศีรษะ
  • หัวใจเต้นเร็ว

ไม่ใช่ทุกคนที่อยู่ในภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แล้ว จะมีอาการเช่นเดียวกันหรือระดับความรุนแรงของอาการเหมือนกัน อาการเจ็บหน้าอกมักมีการรายงานมากที่สุดทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย อย่างไรก็ดี ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเกิดอาการดังต่อไปนี้มากกว่า

ในความเป็นจริงแล้ว มีการรายงานว่า ผู้หญิงที่มีภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักมีอาการเหมือนกับอาการของไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักเกิดจากอาการอุดกั้นในหลอดเลือดหัวใจหนึ่งหลอดหรือมากกว่า การอุดกั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการก่อตัวของคราบพลัคหรือหินปูนซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และของเสียในเซลล์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจทำให้เกิดการอุดกั้นในหลอดเลือดหัวใจ ดังนี้

  • คอเลสเตอรอลไม่ดี คลอเรสเตอรอลไม่ได้ไม่ดีไปเสียทั้งหมด แต่คอเลสเตอรอลชนิด LDL สามารถติดอยู่บนผนังหลอดเลือดและก่อให้เกิดคราบพลัคได้
  • ไขมั่นอิ่มตัว ยังอาจทำให้เกิดการก่อตัวของคราบพลัคหรือคราบหินปูนในหลอดเลือดได้ด้วย ไขมันอิ่มตัวพบได้ส่วนใหญ่ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม ได้แก่ เนื้อวัว เนย และเนยแข็ง
  • ไขมันทรานส์ หรือไขมันเติมไฮโดรเจน เป็นไขมันอีกประเภทที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดกั้น ไขมันชนิดนี้มักผลิตขึ้นโดยการสังเคราะห์และสามารถพบได้ในอาหารแปรรูปทั่วไป

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acute Myocardial Infarction. http://www.healthline.com/health/acute-myocardial-infarction#Prevention8. Accessed 10 Feb, 2017.

Understanding Heart Attack: The Basics. http://www.webmd.com/heart-disease/understanding-heart-attack-basics#1. Accessed 10 Feb, 2017.

Heart Attack. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/symptoms-causes/syc-20373106. Accessed 10 Feb, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/04/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวัง! สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไข 10/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา