backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภูมิแพ้ยา (Drug Allergy)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ภูมิแพ้ยา (Drug Allergy)

ภูมิแพ้ยา (Drug Allergy) หรือการแพ้ยา หมายถึง ปฏิกิริยาที่ไม่ปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อยา ยาใด ๆ รวมถึงยาที่ซื้อเองตามร้าน ยาตามคำสั่งแพทย์หรือสมุนไพรอาจจะทำให้แพ้ยาได้

คำจำกัดความ

ภูมิแพ้ยา คืออะไร

ภูมิแพ้ยา หรือการแพ้ยา (Drug allergy) หมายถึง ปฏิกิริยาที่ไม่ปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อยาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อเองตามร้าน ยาตามคำสั่งแพทย์ หรือสมุนไพร ก็อาจทำให้แพ้ยาได้

อาการแพ้ยาอาจจะแตกต่างกันในแต่ละคน อาการทั่วไปของการแพ้ยา คือ ลมพิษ เป็นผื่นคัน หรือเป็นไข้ มีอาการรุนแรงรวมถึงปฎิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง อาการช็อก และความดันโลหิตต่ำลงทันที และหลอดลมรัดตัวแน่น การแพ้ยาไมใช่ผลข้างเคียงของยาและไม่ใช่สถานะที่เกิดจากการรับประทานยาเกินขนาด

ภูมิแพ้ยาพบได้บ่อยแค่ไหน

ภูมิแพ้ยา หรืออาการแพ้ยาสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่โชคร้ายที่ไม่มีวิธีการตรวจสอบว่าคุณแพ้ยาหรือไม่ ในหลายกรณี คนไข้ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาหลังจากใช้ยานั้น ภูมิแพ้ยาสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภูมิแพ้ยา

อาการของการแพ้ยาโดยมากจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา อาการทั่วไปของการแพ้ยา คือ

  • เป็นผื่นที่ผิวหนัง
  • ลมพิษ
  • คัน
  • เป็นไข้
  • บวม
  • หายใจไม่อิ่ม
  • หายใจลำบากและมีเสียงฟืดฟาดหรือฮืดฮาด
  • น้ำมูกไหล
  • คันตา น้ำตาไหล

ยาบางประเภทอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงในบางคน อาการที่รุนแรงมากขึ้นดังต่อไปนี้ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ทันที

  • หัวใจหรือชีพจรเต้นเร็ว
  • หลอดลมรัดแน่นและลำคอจุก หายใจลำบาก
  • มีความกังวลหรือวิงเวียนศีรษะ
  • เสียสติ
  • ลมพิษ หรือหายใจลำบาก

อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาของการแพ้ยาอาจเกิดขึ้นหลายวันถึงหลายสัปดาห์หลังจากรับยา หรือเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้จะหยุดใช้ยาแล้ว อาการจากภูมิแพ้ยาที่มักเกิดขึ้นในระยะยาว ได้แก่

  • เป็นไข้ ปวดข้อ เป็นผื่น บวม และคลื่นไส้
  • โลหิตจาง เมื่อเม็ดเลือดแดงลดลงจะทำให้เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจไม่อิ่ม เป็นต้น
  • ผื่น จำนวนเม็ดเลือดขาวสูง มีอาการบวม ต่อมน้ำเหลืองโต และติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • ไตอักเสบ ทำให้เป็นไข้ มีเลือดในปัสสาวะ ตัวบวม เกิดอาการสับสน เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

การแพ้ยาอาจทำให้มีอาการเบาๆ ไปจนถึงอาการที่รุนแรงคุกคามชีวิต หากมีอาการต่อไปนี้ โปรดเข้ารับการรักษาทันที

  • มีผิวแดง เจ็บปวด หรือมีแผลพองที่ผิวหนัง
  • ผิวชั้นนอกซีดโดยไม่มีแผลพอง
  • ผิวหมองคล้ำ
  • ไม่สบาย
  • เป็นไข้
  • เป็นผื่น หรือเป็นแผลพุพองที่ตา ปากและอวัยวะเพศ

หากเกิดปฏิกิริยารุนแรง ซึ่งส่งผลต่อความดันโลหิตและการหายใจ ควรเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที

สาเหตุ

สาเหตุของภูมิแพ้ยา

การแพ้ยาเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันหลังจากการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการใช้ยาผิดซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย และเริ่มจะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน นักวิทยาศาสตร์มักจะเชื่อมโยงการแพ้ยากับการเข้าถึงของยา เช่น ในอาหาร ในน้ำ หรือยาที่คุณใช้ในสถานะต่างๆ หากระบบภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยาไม่ดีต่อยาในการเข้าถึงครั้งแรก ร่างกายของคุณจะสร้างภูมิต้านทานทำให้เกิดการแพ้ยาได้

ยาทุกประเภทสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ยาได้ แต่พบว่า มีผู้แพ้ยาดังต่อไปนี้มากกว่ายาประเภทอื่น

  • ยาแก้อักเสบ เช่น เพนิซิลลิน
  • แอสไพรินและกลุ่มยาแก้ปวด ยาลดไข้ และยาต้านการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
  • ยาเคมีบำบัด เพื่อรักษามะเร็ง
  • ยาเพื่อรักษาโรคทางด้านภูมิคุ้มกัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ครีมหรือโลชั่นคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • ยาสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV หรือผู้ป่วยโรคเอดส์
  • ผลิตภัณฑ์เกสรผึ้ง
  • เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคหวัด
  • สีย้อมที่ใช้ในการทดสอบภาพ (สารทึบรังสี)
  • โอปิเอตที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บปวด
  • ยาสลบใช้เฉพาะที่

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของการแพ้ยา

มีปัจจัยความเสี่ยงมากมายเกี่ยวกับการแพ้ยา ได้แก่

  • ประวัติการแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร เป็นไข้
  • ประวัติปฏิกิริยาการแพ้ยาอื่น หรือส่วนประกอบที่สำคัญอย่างเดียวกัน
  • ประวัติคนในครอบครัวที่แพ้ยา
  • การใช้ยาเกินขนาด ใช้ยาซ้ำๆ หรือใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • การติดเชื้อเอชไอวีหรือไวรัสเอ็บสไตบาร์

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภูมิแพ้ยา

  • การทดสอบทางกายภาพ แพทย์จะตรวจสอบปฏิกิริยาทางกายภาพ เช่น สัญญาณของผื่นคันและแผลพุพอง หรือฟังการเต้นของหัวใจและเช็คหลอดลมของคุณ
  • การซักประวัติ แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับประวัติการแพ้ ประวัติการแพทย์ สภาวะทางการแพทย์ที่เป็นอยู่ หากคุณแพ้ยาอื่นที่มีส่วนประกอบเดียวกัน คุณเพิ่มความเสี่ยงในการแพ้ยาชนิดเดียวกันมากขึ้น
  • การทดสอบในห้องปฏิบัติการ แพทย์อาจสั่งให้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาส่วนประกอบของยาที่คุณแพ้
  • การทดสอบเพิ่มเติม เช่น การทดสอบผิวหนัง การตรวจเลือด

การรักษาภูมิแพ้ยา

การแพ้ยาสามารถรักษาได้ด้วยการลดอาการแพ้ หรือการรักษาอื่นๆ ที่ช่วยให้คุณสามารถรับยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้

คุณสามารถรักษาอาการแพ้ยาได้โดย

  • หยุดการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้
  • รับยาต้านฮิสตามีน เพื่อต้านการกระตุ้นสารระบบภูมิค้มกันระหว่างที่เกิดปฏิกิริยาการแพ้
  • รับคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้น และเป็นปฏิกิริยาที่รุนแรงมากขึ้น
  • รับยาฉีดเอพิเนฟรีนทันที และรีบเข้ารับการรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาระดับความดันและช่วยด้านการหายใจ
  • นอกจากนี้ แพทย์อาจรักษาโดยให้คุณรับยาที่ทำให้เกิดการแพ้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ของแพทย์ จุดประสงค์ในการรักษาก็เพื่อช่วยให้คุณตอบสนองต่อยาน้อยลง

    • เริ่มจากการใช้ปริมาณยาน้อยๆ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก 15 ถึง 30 นาทีหรือทุกหลายชั่วโมงหรือทุกชั่วโมงจนกว่าจะไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น
    • ทดสอบเพื่อดูว่า คุณเริ่มมีปฏิกิริยาการแพ้ที่ขนาดยาเท่าใด

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภูมิแพ้ยา

    • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นภูมิแพ้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • หากเป็นไปได้ ควรพกเครื่องมือฉีดยาอัตโนมัติติดตัวเสมอ เช่น เครื่องฉีดเอพิเนฟรีนอัตโนมัติ
    • ใช้ยาเพรดนิโซนหรือยาต้านฮิสตามิน
    • ระวังอย่าให้แมลงสัตว์กัดต่อย
    • อ่านฉลากอาหารให้ละเอียดก่อนรับประทาน

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา