backup og meta

มารู้ทัน!! มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Cancer) ก่อนสาย

มารู้ทัน!! มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Cancer) ก่อนสาย
มารู้ทัน!! มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Cancer) ก่อนสาย

ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์

คำจำกัดความ

มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ คืออะไร

ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์

พบได้บ่อยเพียงใด

มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นมะเร็งที่แบ่งตัวช้าประเภทที่พบได้น้อย ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์มักมีอายุ 30 ปีหรือมากกว่า โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

อาการของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • ปวดกระดูก
  • ท้องผูก
  • อ่อนเพลีย
  • กระดูกแตก
  • หิวน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อย
  • มีนิ่วในไต
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ไม่มีความอยากอาหาร

อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

สาเหตุที่เป็นไปได้ของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ มีดังต่อไปนี้

  • การฉายรังสี การรักษาด้วยเอกซเรย์หรือพลังงานชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณคอมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ได้
  • การถ่ายทอดภาวะไทรอยด์ทำงานเกินในครอบครัว (Familial Isolated Hyperparathyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดนิ่วในไต คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ร่างกายอ่อนแรง และอ่อนเพลีย
  • กลุ่มอาการ MEN1 (multiple endocrine neoplasia type 1) ซึ่งเป็นภาวะที่สัมพันธ์กับเนื้องอกของต่อมสร้างฮอร์โมน

ปัจจัยเสี่ยง

ความเสี่ยงของการเกิด มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

กรรมพันธุ์มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ภาวะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เรียกว่า multiple endocrine neoplasia อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเนื้องอกต่อมพาราไทรอยด์ชนิดไม่อันตราย เนื้องอกต่อมพาราไทรอยด์ที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการ MEN มักเป็นชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ปัจจัยทางพันธุกรรมไม่ปรากฏว่าสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

ไม่มีความเสี่ยงที่แน่ชัดสำหรับผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การตรวจและประวัติสุขภาพ แพทย์จะสังเกตร่างกายและตรวจหาก้อนนูนหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ดูไม่ปกติ นอกจากนี้ แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพในปัจจุบัน และประวัติสุขภาพของครอบครัวของคุณ
  • การตรวจเลือดและปัสสาวะ เป็นการตรวจหาระดับแคลเซียมและพาราไทรอยด์ฮอร์โมนระดับสูงในเลือดและปัสสาวะ ควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ก่อนการตรวจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับผลตรวจที่ถูกต้องที่สุด
  • การสแกนต่อมพาราไทรอยด์ วิธีนี้จะแสดงให้เห็นว่าต่อมพาราไทรอยด์สร้างพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไปหรือไม่ วิธีนี้ดำเนินการกับผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล คุณจะได้รับการฉีดยาที่มีวัตถุกัมมันตรังสี แล้วคุณจะต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลาประมาณ 30 นาทีในขณะที่ถูกถ่ายภาพศีรษะและคอ ต่อมาจะถ่ายภาพอีก และเปรียบเทียบกับภาพถ่ายชุดแรก
  • CT (CAT) สแกน จะมีการใช้คอมพิวเตอร์และเอกซเรย์ถ่ายภาพอย่างละเอียดภายในร่างกาย
  • MRI (magnetic resonance imaging) ใช้คอมพิวเตอร์ เอกซเรย์ และแม่เหล็กเพื่อถ่ายภาพอย่างละเอียดภายในร่างกาย
  • วิธีนี้ใช้คลื่นเสียงพิเศษเพื่อถ่ายภาพ ซึ่งเรียกว่าวิธีโซโนแกรม (sonogram)
  • ฉีดน้ำสีชนิดพิเศษเข้าสู่หลอดเลือด ในขณะที่น้ำสีเคลื่อนผ่านร่างกาย จะทำการเอกซเรย์เพื่อตรวจหาการอุดกั้น
  • ตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือด จะเป็นการนำตัวอย่างเลือดมาจากหลอดเลือดที่แตกต่างกัน และตรวจเพื่อดูว่าต่อมพาราไทรอยด์ต่อมใด ที่สร้างพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าที่ควรจะเป็น

การรักษามะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

หากแพทย์ตรวจพบมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ แพทย์จะตรวจว่ามีการลุกลามหรือไม่ ในบางครั้งมะเร็งจะแพร่กระจายและเกิดเซลล์มะเร็งใหม่ในที่อื่นในร่างกาย การรักษาแตกต่างกันออกไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

  • การผ่าตัดเป็นการรักษาที่พบได้มากที่สุดสำหรับมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ แพทย์อาจผ่าตัดนำเพียงก้อนมะเร็งออกมาหรือนำเนื้อเยื่ออื่นๆ ออกมาด้วย หากมะเร็งลุกลามไปยังบริเวณอื่น
  • การฉายรังสีโดยใช้เอกซเรย์และพลังงานสูงอื่นๆ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง การฉายรังสีอาจใช้ก่อนหรือหลังจากผ่าตัด
  • การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) ใช้ความร้อนเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนได้
  • เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ประเภทของยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับมะเร็ง
  • การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก เป็นการตรวจที่แพทย์ลองใช้ยาและวิธีการรักษาแบบใหม่ ให้สอบถามแพทย์ว่าคุณเป็นผู้รับการทดลองได้หรือไม่

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์

คนเราสามารถที่จะรับมือกับมะเร็งได้ เช่นเดียวกับจัดการปัญหาอื่น ๆ ในชีวิต โดยแต่ละคนทำได้ตามวิธีของตนเอง โดยอาศัยเวลาและการปฏิบัติ คนส่วนใหญ่หาหนทางต่าง ๆ สำหรับการทำงาน งานอดิเรก และความสัมพันธ์ทางสังคม

ในขณะที่คุณมองหาหนทางในการจัดการสิ่งต่างๆ ที่ได้ผลสำหรับคุณ คุณอาจต้องการลองใช้แนวคิดบางประการดังต่อไปนี้

  • เรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้เกี่ยวกับมะเร็งและการรักษา
  • แสดงความรู้สึก บางคนค้นพบว่าการได้ระบายความรู้สึก สามารถช่วยได้
  • ดูแลตนเอง
  • ออกกำลังกาย
  • พยายามสื่อสารกับผู้อื่น
  • พยายามมุ่งเน้นในสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ แทนสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Parathyroid cancer. https://medlineplus.gov/ency/article/007264.htm. Accessed August 6, 2018

Parathyroid Cancer: Risk Factors. https://www.cancer.net/cancer-types/parathyroid-cancer/risk-factors. Accessed August 6, 2018

How do I cope?. https://www.cancer.org/treatment/understanding-your-diagnosis/after-diagnosis/how-do-i-cope.html. Accessed August 6, 2018

What Is Parathyroid Cancer? https://www.webmd.com/cancer/parathyroid-cancer#1. Accessed August 6, 2018

Parathyroid Cancer Treatment (PDQ®). https://www.cancer.gov/types/parathyroid/patient/parathyroid-treatment-pdq. Accessed July 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/07/2021

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

ภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจริงหรือ



เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 22/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา