backup og meta

ม้ามโต (Enlarged Spleen)

ม้ามโต (Enlarged Spleen)

ม้ามโต หมายความว่าม้ามทำงานมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ในบางครั้ง ม้ามทำงานมากเกินไปในการกำจัดและทำลายเซลล์เม็ดเลือด โดยภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ

 

คำจำกัดความ

ม้ามโต (Enlarged Spleen) คืออะไร

ม้ามเป็นอวัยวะภายในอยู่บริเวณใต้ซี่โครงในช่องท้องด้านซ้ายบน ค่อนไปด้านหลัง ม้ามเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง ทำหน้าที่กำจัดของเสียและป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ  เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกสร้างจากม้ามจะช่วยกำจัดแบคทีเรีย เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ออกจากกระแสเลือดขณะไหลผ่านม้าม นอกจากนี้ ม้ามยังทำหน้าที่รักษาเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดด้วย

ม้ามมักมีขนาดประมาณเท่ากำปั้น แพทย์มักไม่สามารถสัมผัสม้ามได้ในระหว่างการตรวจร่างกายภายนอก การเกิดโรคต่างๆ สามารถทำให้ม้ามมีขนาดใหญ่กว่าปกติได้หลายเท่า หรือ ม้ามโต (Enlarged Spleen) เนื่องจากม้ามเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกายหลายระะบบ ดังนั้น ม้ามมักได้รับผลกระทบเสมอหากเกิดโรคใดๆ ขึ้นในร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ม้ามโตไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ของความผิดปกติเสมอไป ภาวะม้ามโต หมายความว่าม้ามทำงานมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ในบางครั้ง ม้ามทำงานมากเกินไปในการกำจัดและทำลายเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งเรียกว่าภาวะม้ามทำงานมากเกินไป โดยภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งได้แก่ อาการผิดปกติเกี่ยวกับการมีเกล็ดเลือดมากเกินไป และความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับเลือด

ม้ามโตพบบ่อยเพียงใด

ภาวะม้ามโตพบได้ทั่วไปในคนทุกช่วงวัย โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการของม้ามโต

อาการทั่วไปของภาวะม้ามโต ได้แก่

  • ไม่มีอาการในผู้ป่วยบางราย
  • อาการปวดหรือแน่นในช่องท้องด้านซ้ายบนที่อาจลุกลามไปยังไหล่ด้านซ้าย
  • รู้สึกอิ่มแม้ไม่ได้รับประทานอาหาร หรือหลังจากรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากม้ามกดทับลงบนกระเพาะอาหาร
  • เลือดจาง
  • อ่อนเพลีย
  • ติดเชื้อบ่อย
  • เลือดออกง่าย

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

คุณควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการปวดในช่องท้องด้านซ้ายบน โดยเฉพาะหากมีอาการรุนแรง หรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึกๆ

สาเหตุ

สาเหตุของม้ามโต

การติดเชื้อ

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส (mononucleosis)
  • การติดเชื้อพยาธิ เช่น โรคท็อกโซพลาสโมซิส (toxoplasmosis)
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ลิ้นหัวใจติดเชื้อ

มะเร็ง

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าแทนที่เซลล์เม็ดเลือดปกติ
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเเกิดความปกติที่เนื้อเยื่อน้ำเหลือง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s disease)

สาเหตุอื่นๆ ของภาวะม้ามโต ได้แก่

  • โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น ซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis) ลูปัส (lupus) และข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • บาดแผล เช่น การได้รับบาดเจ็บระหว่างเล่นกีฬา
  • มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังม้าม
  • ถุงน้ำ หรือถุงของเหลวที่ไม่ใช่มะเร็ง
  • ฝีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโพรงหนองที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคแทรกซ้อน เช่น โรคเกาเชอร์ (Gaucher’s disease) โรคแอมีลอยโดซิส (amyloidosis) หรือกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการสลายไกลโคเจน

คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ามีภาวะม้ามโต เนื่องจากพบอาการได้น้อย และมักตรวจพบม้ามโตโดยบังเอิญ ระหว่างการตรวจร่างกาย ต่อไปนี้เป็นอาการของม้ามโตที่พบได้มากที่สุด

  • ไม่สามารถรับประทานอาหารมื้อใหญ่ได้
  • รู้สึกอึดอัด แน่น หรือปวดในบริเวณช่องท้องด้านซ้ายบน อาการปวดนี้อาจลุกลามไปยังไหล่ด้านซ้ายได้

หากมีภาวะม้ามโต อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยอาจเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว ได้แก่

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดม้ามโต

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะม้ามโต เช่น

  • เด็กและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีการติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส
  • ผู้ที่เป็นโรคเกาเชอร์ โรคนีมาน-พิค (Niemann-Pick disease) และอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อตับและม้าม
  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในหรือเดินทางไปยังพื้นที่ระบาดของโรคมาลาเรีย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการม้ามโต

ภาวะม้ามโตมักพบได้บ่อยที่สุดจากการตรวจร่างกาย โดยจะมีการตรวจหาภาวะม้ามโตเนื่องจากมีการวินิจฉัยมาแล้ว หรือมีการตรวจพบม้ามโตโดยบังเอิญจากการตรวจผู้ป่วยเบื้องต้น

ด้วยตำแหน่งของม้ามที่อยู่ภายใต้ซี่โครงส่วนล่างซ้าย ม้ามในภาวะปกติจึงไม่สามารถสัมผัสได้จากการตรวจร่างกายภายนอก ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายที่มีรูปร่างผอมมาก แต่ถ้าเกิดภาวะม้ามโต ม้ามจะขยายตัวขึ้นจากส่วนบนซ้ายของช่องท้องไปยังบริเวณสะดือ ในบางครั้ง แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวาเพื่อให้สามารถสัมผัสม้ามได้มากขึ้น แต่ในผู้ป่วยโรคอ้วน การสัมผัสม้ามจากภายนอกเป็นไปได้ยาก  ในบางครั้ง อาจมีการวินิจฉัยม้ามโตด้วยการเอ็กซเรย์ อัลตราซาวนด์ ซีทีสแกน และเอ็มอาร์ไอ

การรักษา

ควรงดกิจกรรมที่อาจทำให้ม้ามได้รับบาดเจ็บ เช่น กีฬาที่มีการสัมผัสร่างกาย อาการม้ามแตกจะสูญเสียเลือดจำนวนมากและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ควรเข้ารับการรักษาสาเหตุของม้ามโตตั้งแต่เนินๆ เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ภาวะม้ามโตอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ การรักษาสาเหตุพื้นฐานของภาวะม้ามโตสามารถป้องกันการสูญเสียม้ามได้ ขณะที่ผู้ป่วยบางราย อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดออกม้ามออก

หากจำเป็นต้องมีการผ่าตัด แพทย์อาจใช้การผ่าตัดส่องกล้องแทนการผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดส่องกล้องทำให้แพทย์มองเห็นและผ่าตัดนำม้ามออกไปได้

เมื่อม้ามถูกผ่าตัดนำออกไป ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียบางชนิดออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายมีความไวต่อการติดเชื้อบางชนิด ดังนั้น วัคซีนและยาอื่นๆ จึงจำเป็นในการป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัดเอาม้ามออกไป

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับม้ามโต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการกับภาวะม้ามโตได้

  • หลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการกระแทก เช่น ซ็อคเกอร์ ฟุตบอล และฮ็อคกี้ และจำกัดกิจกรรมอื่นๆ ตามที่แพทย์แนะนำ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บที่ม้ามได้
  • นอกจากนี้ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยระหว่างใช้ยานพาหนะ ขัดนิรภัยสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับม้ามได้
  • ผู้ที่มีภาวะม้ามโตมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้น ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน และควรปรึกษาแพทย์หากจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพิ่มเติม

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Enlarged Spleen: Causes, Symptoms, and Treatments. http://www.webmd.com/digestive-disorders/enlarged-spleen-causes-symptoms-and-treatments#1-2. Accessed June 30, 2017.

Enlarged spleen (splenomegaly). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/enlarged-spleen/home/ovc-20212739. Accessed June 30, 2017.

Enlarged Spleen (Splenomegaly). http://www.medicinenet.com/enlarged_spleen/page3.htm#how_is_the_diagnosis_of_an_enlarged_spleen_made. Accessed June 30, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ อาการปวดหลังรับประทานอาหารที่ควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา