เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล
คำจำกัดความ
เริมที่ริมฝีปากคืออะไร
เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 (herpes simplex virus-1) ในบางครั้งอาจจะเกิดที่บริเวณภายในปาก บนใบหน้า หรือแม้แต่ในจมูก โรคนี้มักจะเกิดที่บริเวณเหล่านี้ แต่แผลสามารถเกิดขึ้นบริเวณก็ได้บนร่างกาย รวมไปถึงบริเวณอวัยวะเพศ มักจะหายไปหลังจากผ่านไปหลายวันจึนถึง 2 สัปดาห์
เริมที่ริมฝีปาก
พบได้บ่อยแค่ไหน
เชื่อกันว่าผู้ใหญ่จำนวนเกือบ 90% เคยติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งหนึ่ง แม้ว่าคนเหล่านี้อาจจะไม่มีอาการในการติดเชื้อครั้งแรก หนึ่งในสามของผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นโรคเริม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อครั้งก่อน และไม่ได้แสดงถึงการติดเชื้อครั้งล่าสุด
อาการ
อาการของเริมที่ริมฝีปาก
สำหรับในครั้งแรกที่เริ่มต้นการรักษา คุณจะรู้สึกซ่าหรือแสบร้อนที่ริมฝีปากและใบหน้า หลายวันก่อนที่จะเริ่มมีอาการของเริมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีแผลก่อตัวขึ้น คุณก็จะเห็นแผลพุพองสีแดงมีน้ำใสขึ้นมา ปกติแล้วมักจะปวดและกดแล้วเจ็บ และอาจจะมีแผลแบบนี้มากกว่าหนึ่งแห่ง
โรคเริมนั้นจะอยู่นานถึงสองสัปดาห์ และจะติดต่อได้จนกว่าตุ่มหนองจะหายไป โรคเริมครั้งแรกของคุณอาจจะไม่ปรากฏขึ้น จนกว่าจะผ่านไปถึง 20 วัน หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งแรก
หลังจากนั้นคุณอาจจะมีอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่านั้น ในช่วงของการแพร่กระจาย
- เป็นไข้
- เหงือกกร่อนอย่างเจ็บปวด
- เจ็บคอ
- ปวดหัว
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ
ควรไปพบหมอเมื่อไร
หากคุณมีอาการอาการที่ตา ขณะที่โรคเริมแพร่กระจาย ควรจะติดต่อแพทย์ในทันที การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
สาเหตุ
สาเหตุของเริมที่ริมฝีปาก
เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ คือสาเหตุหลักของโรคเริม เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์นี้มีอยู่สองประเภทคือ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 และเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-2 โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านผิวหนังบริเวณปากหรือภายในปาก
เชื้อตัวนี้แพร่กระจายได้ง่าย โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายเมื่อคนสัมผัสถูกโรคเริมหรือของเหลวที่ติดเชื้อ เช่น การใช้ช้อนส้อมหรือมีดโกนร่วมกัน การจูบผู้ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อ พ่อแม่ที่เป็นโรคเริมมักจะแพร่กระจายโรคไปสู่ลูกๆ ด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้โรคเริมยังสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของเริมที่ริมฝีปาก
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับโรคนี้ อย่างเช่น
- การติดเชื้อ เป็นไข้ หรือเป็นหวัด
- สัมผัสกับแสงแดด
- ความเครียด
- เอชไอวี/เอดส์ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
- ประจำเดือน
- แผลไฟไหม้อย่างรุนแรง
- โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
- การทำเคมีบำบัด
- ทันตกรรม
คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม หากคุณสัมผัสกับของเหลวที่เกิดจากโรคเริมผ่านการจูบ แบ่งปันอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือแบ่งปันของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟันและมีดโกน หากคุณสัมผัสกับน้ำลายของคนที่มีเชื้อไวรัส คุณจะติดเชื้อไวรัส แม้ว่าจะไม่มีแผลที่มองเห็นได้ก็ตาม
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคเริม
แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคเริมได้โดยการมองตรวจสอบ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย แพทย์อาจจะนำตัวอย่างจากแผลพุพองไปตรวจสอบในห้องแล็บ
การรักษาโรคเริม
ไม่มีวิธีการรักษาโรคเริม แต่บางคนที่มีเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ มักไม่ค่อยมีการแพร่ระบาด หากมีอาการของโรคเริมเกิดขึ้นก็มีหลายวิธีที่จะดูแลอาการได้
ยาขี้ผึ้งและครีม
คุณสามารถควบคุมอาการเจ็บปวด และช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูได้ด้วยยาขี้ผึ้งต้านไวรัส เช่น เพนไซโคลเวียร์ (Penciclovir) อย่างเดนาเวียร์ (Denavir) ยาขี้ผึ้งนี้มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากใช้ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณแรกของแผล (ทาวันละ 4-5 ครั้ง เป็นเวลา 4-5 วัน)
โดโคซานอล (Docosanol) อย่างอะบรีวา (Abreva) คือครีมที่ซื้อได้ตามร้านขายยา สามารถช่วยลดระยะเวลาการแพร่ระบาดได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงเป็นวัน ควรทาครีมนี้วันละหลายรอบ
การให้ยา
แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใช้ยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (acyclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (famciclovir) อย่างสม่ำเสมอ หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเริม หรือหากคุณมีการกำเริบของโรคบ่อยครั้ง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือกับโรคเริม
ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยคุณรับมือกับโรคเริมได้
- ขณะที่มีแผลพุพอง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวกับผู้อิ่น
- หลีกเลี่ยงการแบ่งปันของใช้ต่างๆ เช่น ช้อนส้อม ผ้าขนหนู ลิปบาร์ม และสิ่งของอื่นๆ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ขณะที่มีแผลพุพองอยู่
- ล้างมือให้สะอาด
เพื่อบรรเทาอาการ คุณควร
- ประคบน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นที่บริเวณแผล
- ใช้ลิปบาล์มที่เป็นสารสกัดจากมะนาว
- ทาเจลว่านหางจระเข้หรือลิปบาล์มว่านหางจระเข้ที่บริเวณแผลพุพอง (วันละ 3 ครั้ง)
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
รู้จักพื้นฐาน
โรคเริมคืออะไร
โรคเริม (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 (herpes simplex virus-1) ในบางครั้งอาจจะเกิดที่บริเวณภายในปาก บนใบหน้า หรือแม้แต่ในจมูก โรคนี้มักจะเกิดที่บริเวณเหล่านี้ แต่แผลสามารถเกิดขึ้นบริเวณก็ได้บนร่างกาย รวมไปถึงบริเวณอวัยวะเพศ มักจะหายไปหลังจากผ่านไปหลายวันจึนถึง 2 สัปดาห์
โรคเริมพบได้บ่อยแค่ไหน
เชื่อกันว่าผู้ใหญ่จำนวนเกือบ 90% เคยติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งหนึ่ง แม้ว่าคนเหล่านี้อาจจะไม่มีอาการในการติดเชื้อครั้งแรก หนึ่งในสามของผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นโรคเริม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อครั้งก่อน และไม่ได้แสดงถึงการติดเชื้อครั้งล่าสุด
อาการ
อาการของโรคเริม
สำหรับในครั้งแรกที่เริ่มต้นการรักษา คุณจะรู้สึกซ่าหรือแสบร้อนที่ริมฝีปากและใบหน้า หลายวันก่อนที่จะเริ่มมีอาการของเริมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีแผลก่อตัวขึ้น คุณก็จะเห็นแผลพุพองสีแดงมีน้ำใสขึ้นมา ปกติแล้วมักจะปวดและกดแล้วเจ็บ และอาจจะมีแผลแบบนี้มากกว่าหนึ่งแห่ง
โรคเริมนั้นจะอยู่นานถึงสองสัปดาห์ และจะติดต่อได้จนกว่าตุ่มหนองจะหายไป โรคเริมครั้งแรกของคุณอาจจะไม่ปรากฏขึ้น จนกว่าจะผ่านไปถึง 20 วัน หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งแรก
หลังจากนั้นคุณอาจจะมีอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่านั้น ในช่วงของการแพร่กระจาย
- เป็นไข้
- เหงือกกร่อนอย่างเจ็บปวด
- เจ็บคอ
- ปวดหัว
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ
ควรไปพบหมอเมื่อไร
หากคุณมีอาการอาการที่ตา ขณะที่โรคเริมแพร่กระจาย ควรจะติดต่อแพทย์ในทันที การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
สาเหตุ
สาเหตุของโรคเริม
เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ คือสาเหตุหลักของโรคเริม เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์นี้มีอยู่สองประเภทคือ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 และเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-2 โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านผิวหนังบริเวณปากหรือภายในปาก
เชื้อตัวนี้แพร่กระจายได้ง่าย โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายเมื่อคนสัมผัสถูกโรคเริมหรือของเหลวที่ติดเชื้อ เช่น การใช้ช้อนส้อมหรือมีดโกนร่วมกัน การจูบผู้ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อ พ่อแม่ที่เป็นโรคเริมมักจะแพร่กระจายโรคไปสู่ลูกๆ ด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้โรคเริมยังสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเริม
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับโรคนี้ อย่างเช่น
- การติดเชื้อ เป็นไข้ หรือเป็นหวัด
- สัมผัสกับแสงแดด
- ความเครียด
- เอชไอวี/เอดส์ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
- ประจำเดือน
- แผลไฟไหม้อย่างรุนแรง
- โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
- การทำเคมีบำบัด
- ทันตกรรม
คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม หากคุณสัมผัสกับของเหลวที่เกิดจากโรคเริมผ่านการจูบ แบ่งปันอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือแบ่งปันของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟันและมีดโกน หากคุณสัมผัสกับน้ำลายของคนที่มีเชื้อไวรัส คุณจะติดเชื้อไวรัส แม้ว่าจะไม่มีแผลที่มองเห็นได้ก็ตาม
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคเริม
แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคเริมได้โดยการมองตรวจสอบ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย แพทย์อาจจะนำตัวอย่างจากแผลพุพองไปตรวจสอบในห้องแล็บ
การรักษาโรคเริม
ไม่มีวิธีการรักษาโรคเริม แต่บางคนที่มีเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ มักไม่ค่อยมีการแพร่ระบาด หากมีอาการของโรคเริมเกิดขึ้นก็มีหลายวิธีที่จะดูแลอาการได้
ยาขี้ผึ้งและครีม
คุณสามารถควบคุมอาการเจ็บปวด และช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูได้ด้วยยาขี้ผึ้งต้านไวรัส เช่น เพนไซโคลเวียร์ (Penciclovir) อย่างเดนาเวียร์ (Denavir) ยาขี้ผึ้งนี้มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากใช้ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณแรกของแผล (ทาวันละ 4-5 ครั้ง เป็นเวลา 4-5 วัน)
โดโคซานอล (Docosanol) อย่างอะบรีวา (Abreva) คือครีมที่ซื้อได้ตามร้านขายยา สามารถช่วยลดระยะเวลาการแพร่ระบาดได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงเป็นวัน ควรทาครีมนี้วันละหลายรอบ
การให้ยา
แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใช้ยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (acyclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (famciclovir) อย่างสม่ำเสมอ หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเริม หรือหากคุณมีการกำเริบของโรคบ่อยครั้ง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือกับโรคเริม
ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยคุณรับมือกับโรคเริมได้
- ขณะที่มีแผลพุพอง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวกับผู้อิ่น
- หลีกเลี่ยงการแบ่งปันของใช้ต่างๆ เช่น ช้อนส้อม ผ้าขนหนู ลิปบาร์ม และสิ่งของอื่นๆ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ขณะที่มีแผลพุพองอยู่
- ล้างมือให้สะอาด
เพื่อบรรเทาอาการ คุณควร
- ประคบน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นที่บริเวณแผล
- ใช้ลิปบาล์มที่เป็นสารสกัดจากมะนาว
- ทาเจลว่านหางจระเข้หรือลิปบาล์มว่านหางจระเข้ที่บริเวณแผลพุพอง (วันละ 3 ครั้ง)
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด