backup og meta

ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ อาการ และการรักษาที่ควรรู้

ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ อาการ และการรักษาที่ควรรู้

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สามารถแพร่กระจายติดต่อผ่านการสัมผัสกับละอองสารคัดหลั่งจากการไอ จาม หรือสูดลมหายใจนำอากาศที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จนนำไปสู่การล้มป่วย ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่อาจรักษาให้หายเองได้ แต่สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

คำจำกัดความ

ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร

ไข้หวัดใหญ่ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก คอ และอาจลุกลามลงไปยังปอด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แต่อาจพบได้บ่อยในทารก เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต 

ไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ ได้แก่

  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A) เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงและอาจแพร่เชื้อได้ในวงกว้างทั้งในคน และในสัตว์ เช่น หมู นก โดยอาจจำแนกได้จากไกลโคโปรตีนรอบเชื้อไวรัส ซึ่งประกอบด้วย ฮีแมกกูตินิน (Hemagglutinin : H) ซึ่งมีทำหน้าที่ในการจับกับตัวรับ (Receptor) บนเซลล์ของร่างกาย ส่งผลให้เชื้อเข้าสู่เซลล์ได้โดยตรง และเอ็นไซม์นิวรามินิเดส และ เอ็นไซม์นิวรามินิเดส (Neuraminidase : N) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยที่ทำให้ไวรัสจับกับเซลล์ และแพร่เชื้อต่อไปได้ ซึ่งในสัตว์จะมีเชื้อไวรัสฮีแมกกูตินิน (H) อยู่ 15 ชนิด และเอ็นไซม์นิวรามินิเดส (N) 9 ชนิด แต่สำหรับของคนจะมี H3 ชนิด คือ H1 H2 H3 และ N 2 ชนิด คือ N1 N2 นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์ H5 และ H7 ที่มีความรุนแรงสูง อาจแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (Influenza B) เป็นไข้หวัดใหญ่ที่แพร่กระจายในคนเพียงเท่านั้น ซึ่งแบ่งออกเป็นอีก 2 สายพันธุ์ คือ Yamagata และ Victoria
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ซี (Influenza C) อาจไม่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง และไม่ก่อให้เกิดการระบาด
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ดี (Influenza D) เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในคน แต่จะส่งผลกระทบต่อวัว

อาการ

อาการไข้หวัดใหญ่

อาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือนต่าง ๆ ดังนี้

  • มีไข้สูงเป็นเวลา 3-4 วัน
  • ปวดศีรษะ
  • อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
  • อาการไอแห้ง เจ็บคอ
  • หนาวสั่น 
  • อ่อนเพลีย 
  • อาเจียน ท้องเสีย
  • ความอยากอาหารลดลง

อาการที่เป็นสัญญาณโรคไข้หวัดใหญ่รุนแรงในคนแต่ละช่วงวัย ที่ควรเข้าพบคุณหมออย่างเร่งด่วน มีดังนี้

อาการไข้หวัดใหญ่รุนแรงในทารก ได้แก่

  • มีไข้ขึ้นสูง 38 องศาเซลเซียส 
  • หายใจเร็ว หายใจลำบาก 
  • ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ
  • ท้องเสีย อาเจียนรุนแรง 
  • ผื่นขึ้น และมีสีผิวเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้า 
  • อาการขาดน้ำ เช่น ไม่ปัสสาวะ
  • ไม่อยากให้ใครมาจับ หรือสัมผัสร่างกาย
  • บางอาการที่หายแล้ว ก็อาจกลับมาทำให้ทารกเป็นอีกซ้ำ ๆ

อาการไข้หวัดใหญ่รุนแรงในผู้ใหญ่ ได้แก่

  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์ มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • น้ำตาไหล
  • หายใจลำบาก หายใจถี่เร็ว
  • อาการไอ
  • เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณซี่โครงขณะหายใจเข้า
  • ปวดเมื่อยรุนแรง
  • มีอาการขาดน้ำ ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา หรือไม่ปัสสาวะนานกว่า 8 ชั่วโมง และน้ำตาไหล

อาการรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ ได้แก่

  • อาการไข้และอาการไอที่หายไป อาจกลับมาเป็นซ้ำ
  • หายใจลำบาก แน่นหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • อาการชัก 
  • ไม่ปัสสาวะ 

สาเหตุ

สาเหตุไข้หวัดใหญ่

สาเหตุที่ทำให้เป็นไข้หวัดใหญ่มาจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ผ่านการสูดดม การสัมผัสกับวัตถุรอบตัวที่มีการปะปนของเชื้อไวรัส เช่น แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ลูกบิดประตู และนำไปจับสัมผัสส่วนต่าง ๆ บนใบหน้า เช่น ตา จมูก ปาก 

นอกจากนี้ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการพัฒนาสายพันธ์ุตลอดเวลา จึงอาจทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ธรรมดาทั่วไปที่อยู่ในร่างกาย เปลี่ยนเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ และไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บีได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงไข้หวัดใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ มีดังนี้

  • อายุ ไข้หวัดใหญ่อาจพบได้มากในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • สตรีตั้งครรภ์ อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ รวมถึงช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจมาจากโรคมะเร็ง การติดเชื้อเอชไอวี การปลูกถ่ายอวัยวะ การใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาว
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคเมตาบอลิซึม โรคตับ โรคไต
  • สถานที่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หน่วยงาน สถานพยาบาล เป็นต้น อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายได้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่

การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ คุณหมออาจตรวจร่างกาย เพื่อหาความผิดปกติ บางกรณีอาจทดสอบด้วยเทคนิคพอลิเมอเรส (Polymerase chain reaction หรือ PCR) ที่เป็นกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในหลอดทดลองหาเชื้อไวรัส การทดสอบด้วยวิธีนี้อาจมีความละเอียดมากกว่าการทดสอบแบบอื่น ๆ และอาจระบุสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ได้

การรักษาไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่โดยทั่วไปอาจสามารถหายไปได้เอง ด้วยการพักผ่อนเพียงพอ และดื่มน้ำให้มาก ๆ แต่หากมีการติดเชื้อ หรือมีอาการที่รุนแรงเป็นเวลานาน คุณหมออาจแนะนำให้รับประทานยาต้านไวรัส เช่น โอเซลทามิเวียร์ ซานามิเวียร์ เพอรามิเวียร์ บาล็อกซาเวียร์ เพราะอาจช่วยให้ฟื้นตัวจากอาการป่วยได้ไวขึ้น และป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

สำหรับการรักษาไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ควรเข้ารับคำแนะนำจากคุณหมอ และไม่ควรให้เด็กรับประทานยาแอสไพริน เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye’s syndrome

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่

การดูแลตัวเอง และลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจทำได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

  • ล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรืออาจใช้เจลแอลกอฮอล์หากไปในพื้นที่ที่ล้างมือไม่สะดวก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณตา จมูก และปาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่อาจปนเปื้อนอยู่ที่มือ
  • ปิดปากขณะไอ และจาม หรืออาจจามใส่ทิชชู่หรือข้อพับแขน เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายในวงกว้าง
  • สวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
  • ทำความสะอาดสิ่งรอบตัวและพื้นที่ที่สัมผัสบ่อยครั้ง
  • หลีกลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด คนพลุกพล่าน เช่น โรงเรียน สำนักงาน หอประชุม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และลดการแพร่เชื้อ 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza). https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=311. Accessed September 27, 2021

Influenza. https://www.cdc.gov/flu/index.htm. Accessed September 23, 2021

Influenza. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flu/symptoms-causes/syc-20351719. Accessed September 27, 2021

All you need to know about flu. https://www.medicalnewstoday.com/articles/15107. Accessed September 27, 2021

Influenza seasonal. https://www.who.int/health-topics/influenza-seasonal#tab=tab_1. Accessed September 27, 2021

Influenza A vs. B: What to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/327397#types. Accessed September 27, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

อาการไข้หวัดใหญ่ VS อาการโควิด-19 ต่างกันอย่างไร?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา