backup og meta

ปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือ ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

ปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือ ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
ปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือ ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

การ ปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell Transplantation) เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของเซลล์ไขกระดูก ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด และเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ปลูกถ่ายไขกระดูก คืออะไร

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell Transplantation) คือ หัตถการในการแทนที่ไขกระดูกที่เสียหายหรือถูกทำลายโดยโรค การติดเชื้อ หรือการทำเคมีบำบัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด หรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ซึ่งเป็นเซลล์ตัวอ่อนของเลือดที่อาศัยอยู่ในไขกระดูก และจะเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ที่ไหลวนอยู่ในร่างกาย รวมถึงมีส่วนในการสร้างไขกระดูกใหม่ด้วย

การปลูกถ่ายไขกระดูกมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่

การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้กระดูกของตนเอง (Autologous Bone Marrow Transplantation)

โดยต้องใช้ไขกระดูกของผู้ป่วยที่เก็บไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับเคมีบำบัดหรือฉายรังสี โดยผู้เชี่ยวชาญจะปลูกถ่ายไขกระดูกที่เก็บไว้กลับคืนเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาดังกล่าวแล้ว แต่วิธีนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีไขกระดูกที่สมบูรณ์ดีเท่านั้น

การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของผู้บริจาค (Allogeneic Bone Marrow Transplantation)

โดยผู้บริจาคจะต้องมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ตรงกับผู้ป่วย วิธีนี้มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้มากกว่า เช่น ภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย และคุณอาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายไม่ทำลายเซลล์ใหม่ แต่ยาก็อาจทำให้คุณติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

ความจำเป็นในการ ปลูกถ่ายไขกระดูก

ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูกเมื่อไขกระดูกในร่างกายไม่แข็งแรง และทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • โรคไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anemia) ทำให้ไขกระดูกหยุดสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่
  • โรคมะเร็งบางชนิดที่ส่งผลต่อไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดมัยอีโลมา (Multiple Myeloma)
  • ไขกระดูกถูกทำลายระหว่างการทำเคมีบำบัด
  • ภาวะนิวโทรฟิลในกระแสโลหิตต่ำที่เป็นแต่กำเนิด (Congenital Neutropenia) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ง่ายกว่าปกติ
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease หรือ SCD)
  • โรคธาลัสซีเมีย

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ ปลูกถ่ายไขกระดูก

การปลูกถ่ายไขกระดูกจัดเป็นการผ่าตัดใหญ่ ที่อาจทำให้เกิดภาวะสุขภาพและอาการแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

ภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อยหลัง ปลูกถ่ายไขกระดูก

  • ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • เจ็บปวด
  • หายใจถี่
  • หนาวสั่น
  • มีไข้

อาการแทรกซ้อนจากการ ปลูกถ่ายไขกระดูก

  • ภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย (Graft-versus-host disease หรือ GVHD)
  • ผู้ป่วยต่อต้านหรือไม่ยอมรับเซลล์ผู้บริจาค (Graft rejection หรือ Graft failure)
  • เลือดออกในปอด สมอง หรืออวัยวะอื่น ๆ
  • ต้อกระจก
  • อวัยวะสำคัญถูกทำลาย
  • ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร
  • โลหิตจาง
  • โรคมะเร็งชนิดใหม่
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • การเสียชีวิต
  • การติดเชื้อ
  • เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Mucositis)

ความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนดังกล่าวจะยิ่งเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อายุ
  • สภาวะสุขภาพ
  • โรคที่คุณเป็นอยู่
  • ประเภทของการปลูกถ่ายไขกระดูก

สิ่งที่สำคัญคือ ก่อนเริ่มกระบวนการนี้ คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนให้ดี หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูก

คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ เพื่อหาว่าคุณต้องการไขกระดูกชนิดใด และอาจต้องเข้ารับการบำบัดด้วยการฉายรังสีหรือเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ไขกระดูกทั้งหมด ก่อนรับไขกระดูกใหม่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์

ขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูก

ขั้นตอนในการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นคล้ายกับการให้เลือด (Blood transfusion) หากเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของผู้บริจาค แพทย์จะต้องเก็บสเต็มเซลล์จากโพรงไขกระดูกของผู้บริจาคก่อนดำเนินการปลูกถ่ายไขกระดูก 1-2 วัน แต่หากเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้กระดูกของตนเอง แพทย์จะใช้ไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์ของคุณที่เก็บรักษาเอาไว้ในธนาคารสเต็มเซลล์

สำหรับกระบวนการเก็บสเต็มเซลล์ วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกกับคุณ เมื่อยาออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะเก็บสเต็มเซลล์จากโพรงไขกระดูกโดยใช้เข็มและกระบอกฉีดเจาะเก็บสเต็มเซลล์จากบริเวณสะโพกด้านหลัง

การพักฟื้น

หลังการปลูกถ่ายไขกระดูก

ไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์ใหม่ที่ได้รับการปลูกถ่ายมาจะเดินทางเข้าสู่ไขกระดูกของคุณผ่านทางกระแสเลือด จากนั้นสเต็มเซลล์จะแบ่งตัวแบบทวีคูณ และเจริญเติบโตเป็นเซลล์เม็ดเลือดใหม่ที่สุขภาพสมบูรณ์ดี โดยปกติแล้ว จะต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์กว่าปริมาณเม็ดเลือดในร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ และสำหรับผู้ป่วยบางราย ก็อาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น

หลังจากปลูกถ่ายไขกระดูก คุณจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และเข้ารับการตรวจต่าง ๆ เช่น การตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบภาวะสุขภาพของคุณ และหากคุณมีอาการแทรกซ้อน เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ก็อาจต้องใช้ยาบรรเทาอาการด้วย

หากคุณเคยติดเชื้อหรือมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็อาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลนานขึ้น โดยระยะเวลาในการพักฟื้นนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของการปลูกถ่ายไขกระดูก ผู้ป่วยบางรายอาจต้องพักฟื้นตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ ไปจนถึงหลายเดือน

ความเสี่ยงหลังปลูกถ่ายไขกระดูก

หลังการปลูกถ่ายไขกระดูก คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล
  • ท้องเสีย
  • ภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย
  • การติดเชื้อ
  • เจ็บในช่องปาก
  • ปวดท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน
  • อาเจียน
  • เหนื่อยล้า

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bone Marrow Transplant. https://www.healthline.com/health/bone-marrow-transplant. Accessed August 5, 2020

Bone marrow transplant. https://medlineplus.gov/ency/article/003009.htm. Accessed August 5, 2020

Bone marrow transplant. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/bone-marrow-transplant/about/pac-20384854. Accessed August 5, 2020

What Happens During a Bone Marrow Transplant?. https://www.webmd.com/cancer/lymphoma/marrow-transplant-18/marrow-transplant-surgery-explained. Accessed August 5, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/08/2020

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีเพิ่มเกล็ดเลือด อย่างเป็นธรรมชาติ ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ

พลาสมาในเลือด สามารถนำมารักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 17/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา