backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ควันไฟป่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรรับมือหรือป้องกันอย่างไร

ควันไฟป่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรรับมือหรือป้องกันอย่างไร

เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าที่มีบริเวณกว้าง ก็จะนำพามาซึ่ง ควันไฟป่า ซึ่งเมื่อหากมีการสูดดมเข้าไปมาก ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายของคุณได้ ดังนั้น เมื่อเกิดควันไฟป่า จะต้องดูแลและป้องกันตัวเองและคนในครอบครัวอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

ควันไฟป่า คืออะไร และส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

ควันไฟป่าเป็นส่วนผสมของก๊าซและอนุภาคขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาไหม้ของพืช วัสดุก่อสร้าง และวัสดุอื่น ๆ โดยที่ควันไฟป่าสามารถทำให้ทุกคนป่วยได้ แม้แต่คนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงก็สามารถเจ็บป่วยได้ หากมีควันในอากาศมากเกินไป

มากไปกว่านั้น การหายใจเอาควันเข้าไปยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ทันที ซึ่งผลกระทบจากควันไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่

สำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เด็ก และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและหัวใจอยู่แล้ว อาจมีแนวโน้มที่จะป่วยได้ หากสูดดมควันไฟป่าเข้าไป

สาเหตุที่ทำให้ ควันไฟป่า เป็นอันตรายต่อร่างกาย

เมื่อพูดถึงคุณภาพอากาศ หลายคนคงนึกถึงการวันที่เรียกว่า “PM2.5 ซึ่งมันสามารถทำให้ทราบได้ว่าอนุภาคขนาด 2.5 ไมครอนและขนาดเล็กกว่า ลอยอยู่ในอากาศจำนวนเท่าใด

Colleen Reid ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์แห่ง University of Colorado Boulder สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมื่อคุณมองเห็นควันสีดำที่ลอยออกมาจากกองไฟ คุณจะเห็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศและไม่ตกลงสู่พื้นได้ เมื่อรูปแบบลมเปลี่ยนไป ควันไฟที่มีอนุภาคเล็ก ๆ ก็จะกระจายไปยังทิศทางอื่นได้เช่นกัน

ความจริงแล้วอนุภาคขนาดเล็ก นอกจากจะเป็นอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศแล้ว มันยังเป็นสิ่งที่สามารถเข้าไปในปอดได้ลึกมากและทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบของสุขภาพในร่างกายได้อีกด้วย ยิ่งระดับ PM2.5 สูงเท่าไหร่ ผลกระทบที่จะมีต่อสุขภาพก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงสูงเมื่อสูดดม ควันไฟป่า เข้าไป

แน่นอนว่าคุณจำเป็นจะต้องใส่ใจกับรายงานคุณภาพอากาศในพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ เพื่อจะได้ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของคุณได้ และแน่นอนว่ามีคนหลายกลุ่มที่อาจจะมีความเสี่ยงสูงเมื่อสูดดม ควันไฟป่า เข้าไป ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่

  • คนที่เป็นโรคหัวใจหรือปอด เช่น หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง ถุงลมโป่งพอง หรือโรคหอบหืด
  • ผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอด มากกว่าคนที่อายุยังน้อย
  • เด็กเล็กรวมถึงวัยรุ่น เนื่องจากระบบทางเดินหายใจของพวกเขายังคงพัฒนาอยู่ เมื่อพวกเขาหายใจเอาอากาศและมลพิษทางอากาศเข้าไปเมื่อต้องออกไปข้างนอก ซึ่งอาจจะหายใจเอาอากาศและมลพิษทางอากาศเข้าไปมากกว่าน้ำหนักตัวของพวกเขา จึงทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดได้มากกว่าผู้ใหญ่
  • คนที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากเมื่อหายใจเอาควันไฟป่าเข้าไป อาจทำให้มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • หญิงตั้งครรภ์ การสูดคมเอาควันไฟป่าเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งของตัวเองและทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนาอยู่

วิธีป้องกันตัวเองจากควันไฟป่า

สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำหากมีไฟป่าเกิดขึ้นในบริเวณใกล้ ๆ ที่คุณอยู่ โดยที่มีอากาศฟุ้งและมีควันกระจาย คือ การอยู่ในร่มโดยปิดหน้าต่าง แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกอาคารที่จะสามารถปิดสนิทได้ โดยเฉพาะอาคารเก่ายิ่งมีแนวโน้มที่จะมีอากาศและควันไฟป่ารั่วไหลเข้ามาในอาคารมากขึ้น ซึ่งทำให้อากาศภายในอาคารเกิดมลพิษเนื่องจากอากาศภายนอกได้

แม้บ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่จะสามารถป้องกันมลพิษที่เกิดจากควันไฟป่าได้ แต่ทุกครั้งที่คุณเปิดประตูออก อากาศเสียบางส่วนก็ยังสามารถลอยเข้ามาในบ้านได้ หลังจากผ่านไปหลายวันหมอกควันที่ลอยเข้ามาในบ้านก็จะก่อตัวขึ้นภายในบ้าน ทำให้เกิดอากาศเสียภายในบ้านได้

เครื่องกรองอากาศ ทางเลือกในการกรองอากาศเสีย

ดังนั้น การซื้อเครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง (High Efficiency Particulate Air หรือ HEPA) มาติดตั้งภายในบ้าน เพื่อทำความสะอาดอากาศภายในบ้านจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ แม้เครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูงจะมีราคาที่สูง แต่คุณสามารถเลือกซื้อเครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูงที่มีขนาดเล็กลงมา เพื่อนำมาใช้ทำความสะอาดอากาศในห้องที่คุณใช้เวลาอยู่มาที่สุดก็ได้เช่นกัน

บางคนอาจจะทำเครื่องกรองอากาศด้วยตัวเอง โดยการใช้ตัวกรอง MERV-13 และพัดลมแบบกล่อง แม้ว่าจะยังมีหลักฐานที่น้อยกว่าเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้งานเครื่องกรองอากาศที่ทำขึ้นด้วยตัวเอง แต่พวกมันก็ยังอาจจะช่วยได้บ้าง

ตั้งค่าเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ระบบอากาศมีการหมุนเวียนและถ่ายเท

หากคุณมีเครื่องปรับอากาศ ให้ตั้งค่าหมุนเวียน เพื่อให้อากาศภายในเย็นลงแทนที่จะนำอากาศใหม่เข้ามาแทน หมั่นตรวจสอบตัวกรองเครื่องปรับอากาศของคุณเป็นประจำ เพราะอาจเกิดการอุดตันได้อย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่มีหมอกควันและควันไฟป่า

หากคุณอาศัยอยู่ในอาการเก่า ลองปิดหน้าต่างและประตูด้วยกระบวนการปิดผนึกช่องเปิดต่าง ๆ (Weather Stripping) เพื่อทำให้บ้านของคุณแน่นหนาขึ้น

สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปข้างนอกบ้าน

หากคุณจำเป็นจะต้องออกไปข้างนอกในช่วงที่มีควันไฟป่า ควรสวมหน้ากากอนามัย อย่างเช่น N95 หรือ N99 แต่หากคุณหาหน้ากากเหล่านี้ไม่ได้จริง ๆ การใช้หน้ากากทั่วไปก็สามารถช่วยป้องกันได้บ้างเช่นกัน เพราะถือเป็นวิธีการป้องกันที่ดีกว่าอาการออกไปข้างนอกโดยที่ไม่มีอะไรป้องกันเลย

จำกัดเวลาในการอยู่กลางแจ้งหรือออกไปข้างนอก

สุดท้าย หากคุณมีอาการไอ ให้จำกัดเวลาการออกไปข้างนอก แม้ว่าดัชนีคุณภาพอากาศจะดีขึ้นก็ตาม การได้รับอากาศที่สะอาดถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายของคนเรา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Wildfire Smoke Affects the Body and What You Can Do to Protect Yourself. https://www.healthline.com/health-news/how-wildfire-smoke-affects-the-body-and-what-you-can-do-to-protect-yourself. Accessed October 19, 2020

Wildfire Smoke. https://www.cdc.gov/disasters/wildfires/smoke.html#:~:text=Wildfire%20smoke%20can%20harm%20you,are%20exposed%20to%20wildfire%20smoke. Accessed October 19, 2020

How Smoke from Fires Can Affect Your Health. https://www.epa.gov/pm-pollution/how-smoke-fires-can-affect-your-health. Accessed October 19, 2020

Wildfire Smoke and Your Health. https://www.oregon.gov/oha/ph/Preparedness/Prepare/Documents/OHA%208626%20Wildfire%20FAQs-v6c.pdf. Accessed October 19, 2020

Wildfire smoke exposure under climate change: impact on respiratory health of affected communities. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6743728/. Accessed October 19, 2020

Long and Short-Term Effects of Wildfire Smoke. https://www.nationaljewish.org/conditions/health-information/multimedia/health-and-lifestyle-tips/long-and-short-term-effects-of-wildfire-smoke. Accessed October 19, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/10/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา