backup og meta

ทัลคัม (Talcum) ในเครื่องสำอาง..อันตรายจริงหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ทัลคัม (Talcum) ในเครื่องสำอาง..อันตรายจริงหรือไม่

    ข่าวใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่ศาลแห่งสหรัฐอเมริกามีคำสั่งให้บริษัทผลิตแป้งเด็กยักษ์ใหญ่รายหนึ่ง จ่ายเงินชดเชยจำนวน 72  ล้านเหรียญให้กับเหยื่อที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่ ที่คาดว่าเป็นผลมาจากการใช้แป้ง ทัลคัม อย่างเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน สร้างความหวาดหวั่นพรั่นพรึงไปทั่วโลกอันตรายของสารดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ข้อโต้แย้งมากมายว่าทัลคัมอันตรายจริงหรือ ไปดูข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าคุณจะใช้ทัลคัมต่อ หรือพอกันแค่นี้ 

    ทัลคัม คืออะไร

    ทัลก์ (Talc) เป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั่วไปทุกแห่งบนโลก โดยในประเทศไทย พบมากในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และจันทรบุรี ซึ่งมีวิถีการขุดเช่นเดียวกับแร่ชนิดอื่น แล้วนำมาบดหยาบเพื่อคัดเลือกเกรดของแร่ โดยส่วนที่มีคุณภาพมากที่สุดจะนำมาเข้าสู่อุตสหกรรมการผลิตแป้ง โดยการโม่ให้เป็นผง และทำการทดสอบความบริสุทธิ์ ก่อนนำมาวางขาย หรือเข้าสู่อุตสาหกรรมอื่นต่อไป จนกลายเป็นแป้งทัลคัม (Talcum) หรือแป้งเด็กโรยตัวที่เรารู้จักกันดี เนื่องจากมีความอ่อนนุ่มสูงในรูปของผงละเอียด เป็นส่วนผสมที่ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีเมื่อรับประทานเข้าปาก หรือทาลงบนผิว ทำให้นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมแป้งโรยตัว และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด ที่ต้องอาศัยคุณสมบัติความเป็นผง จึงไม่แปลกใจที่เราจะพบทัลคัมได้ในชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าใช้กันตั้งแต่เด็กยันโตเลยทีเดียว

    ทัลคัมเริ่มใช้กันตั้งแต่เมื่อไหร่

    การใช้ทัลก์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มนุษย์รู้จักนำแร่ธาต่ขึ้นมาใช้ โดยพบหลักฐานว่า ชาวอียิปต์โบราณใช้ทัลก์ในด้านความงาม นอกจากนั้นชาวอัสซีเรียโบราณ (Assyrien) และชนพื้นเมืองในอเมริกา ได้นำทัลก์มาใช้หากหลายด้าน ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีการนำทัลก์มาใช้เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองผิว เนื่องจากพลาสเตอร์ยา อีกทั้งบรรเทาอาการผื่นผ้าอ้อม ที่มักเกิดกับทารกน้อยอีกด้วย และในปัจจุบันมีการนำทัลก์มาใช้ในด้านอุตสาหกรรมความงามทั่วโลก จนกลายเป็นตำนานแป้งทัลคัมที่เราใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ทัลคัมในเครื่องสำอาง

    ทัลก์ เป็นสารสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตแป้งโรยตัวด็ก หรือแป้งทัลคัม และเริ่มมีการนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางด้วยเป็นสารที่ให้ผลลัพธ์ในด้านการหล่อลื่น เนียนเรียบ ดูดซับความมัน ความชื้น แห้งสบาย และมีราคาไม่สูงมากนัก พบมากในเครื่องสำอางประเภทเนื้อฝุ่น เช่น แป้งตลับ บลัชออน อายแชโดว์ หากเราลองสังเกตด้านหลังของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะพบว่ามีคำว่า ทัลก์ (Talc) หรือ ทัลคัม (Talcum) เป็นส่วนประกอบ 

    ทัลคัมกับการก่อมะเร็ง

    สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาถึงผลข้างเคียงที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และพบว่า

    • มะเร็งรังไข่

    จากการศึกษามีความหลากหลายมาก โดยการศึกษาบางส่วนคาดว่าแป้งทัลคัมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ หากผงแป้งเหล่านั้นเดินทางผ่านช่องคลอด มดลูก และท่อนำไปยังรังไข่ ไม่ว่าจะด้วยการทาแป้งทัลคัมบริเวณอวัยวะเพศ ติดไปกับถุงยางอนามัย หรือการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด บางส่วนพบว่าแป้งทัลคัมไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง แต่การศึกษาเหล่านี้ค่อนข้างมีความไม่เป็นกลาง เนื่องจากอาศัยกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยความจำประวัติการใช้แป้งหลายปีก่อน แต่สถาบันแห่งนี้ให้คำแนะนำความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากเจ้าทัลคัมนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป

  • มะเร็งปอด
  • มีการศึกษาบางเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของเจ้าทัลคัมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าการใขช้แป้งโรยตัวหรือเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของทัลคัมไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดแต่อย่างใด 

    • มะเร็งชนิดอื่น

    นอกจากมะเร็งรังไข่ และมะเร็งปอดแล้ว ยังมีการสันนิษฐานว่าเจ้าแป้งทัลคัมตัวนี้เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาหรือหลักฐานที่เพียงพอจะยืนยันข้อสงสัยดังกล่าวในขณะนี้ 

    ทัลคัมกับโรคอื่น

    แม้ว่าทัลคัมค่อนข้างจะมีอัตราความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่ำมากๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ เพราะการสูดดมทัลคัมเป็นระยะเวลายาวนานมากๆ อาจทำให้ทัลคัมจับตัวกันเป็นก้อนภายในปอดหรือหลอดลม เป็นสิ่งกีดขวางระบบหายใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อาจทำให้หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ หรือพัฒนาเป็นเนื้องอกในปอดจนทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เหมือนกันนะ ดังนั้น ถ้าเป็นคุณแม่ที่มีลูกเล็ก อาจเลี่ยงการใช้ผลิตภัณ์ที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าว น่าจะเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยที่ดีที่สุด 

    ทัลคัมใช้ได้ไหม

    หากยึดจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แล้ว ต้องขอบอกว่าแป้งทัลคัมหรือเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของทัลคัม ยังคงปลอดภัยต่อเรา และยังสามารถใช้ได้ แม้ว่าการศึกษาจะระบุว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่เล็กน้อยเท่านั้น หากเจ้าสารตัวนี้หลุดเข้าไปภายในอวัยวะเพศ แต่การใช้เพียงเพื่อการทาภายนอก หรือแต่งแต้มสีสันบนใบหน้า ก็ยังคงถือว่าปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่หากสาวๆ ยังคงกับวลกับปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันมีทางเลือกมากมายที่ผลิตขึ้นมาตอบโจทย์ อย่างการใช้แป้งจากพืชธรรมชาติ หรือการใช้เครื่องสำอางแบบออร์แกนิก ก็ขึ้นอยู่กับสาวๆ แล้วล่ะว่า จะตัดสินใจให้เจ้าทัลคัมเป็นเพื่อนซี้ความสวยต่อไปหรือไม่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา