backup og meta

นั่งพื้น เหมือนจะเมื่อย แต่กลับส่งผลดีต่อร่างกายในแบบที่คุณอาจไม่เคยรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    นั่งพื้น เหมือนจะเมื่อย แต่กลับส่งผลดีต่อร่างกายในแบบที่คุณอาจไม่เคยรู้

    ความชอบในการนั่งของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบนั่งเก้าอี้ โซฟา หรือ นั่งพื้น ซึ่งการนั่งพื้นนั้นถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับความยืดหยุ่น ทั้งยังช่วยส่งเสริมการรักษาความมั่นคงตามธรรมชาติของกล้ามเนื้อหลักอีกด้วย นอกจากนี้ การนั่งพื้น จะมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง ลองมาติดตามในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน

    ประโยชน์ของ การนั่งพื้น

    สำหรับประโยชน์ของ การนั่งพื้น ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีดังนี้

    • ส่งเสริมความมั่นคงตามธรรมชาติ การนั่งพื้นจะเป็นการบังคับให้แกนกลางของลำตัวเกิดความมั่นคง โดยปราศจากการสนับสนุนจากเก้าอี้
    • แรงตึงสะโพกน้อยลง การนั่งเก้าอี้เป็นเวลานานจะทำให้สะโพกของคุณแน่นและแข็ง แต่เมื่อคุณนั่งบนพื้นคุณจะสามารถยืด หรืองอสะโพกได้ง่ายขึ้น
    • เพิ่มความยืดหยุ่น ตำแหน่งที่นั่งนั้นจะช่วยให้คุณยืดกล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกายได้มากขึ้น
    • ความคล่องตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่คุณยืดกล้ามเนื้อบางส่วนได้ ซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนไหวของคุณดีขึ้น
    • เพิ่มกิจกรรมของกล้ามเนื้อให้มากขึ้น ท่าบางอย่าง เช่น การนั่งคุกเข่า และการนั่งยองๆ เป็นท่าพักให้เพลิน (Active rest) ซึ่งเป็นท่านั่งที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อมากกว่าการนั่งเก้าอีก

    นั่งพื้น พร้อมกินอาหารไปด้วย ดีต่อร่างกายอย่างไร

    นอกจากนั้นแล้วการนั่งพื้นพร้อมกินอาหารไปด้วย ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งประโยชน์ของการนั่งพื้นแล้วกินอาหารไปด้วยนั้น มีดังนี้

    กระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น

    เมื่อคุณนั่งพื้นแล้วกินอาหารในท่าสุขะสนะ (Sukhasana) หรือท่าแห่งความสุข หรือนั่งกินในท่าไขว้ขา ก็เหมือนกับการนั่งกินแล้วทำท่าโยคะไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งตำแหน่งโยคีนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารให้ดีขึ้น

    ท่านั่ง-นั่งพื้น-ประโยชน์สุขภาพ
    ท่าสุขะสนะ (Sukhasana) หรือ ท่าแห่งความสุข

    นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่าเมื่อคนที่นั่งกินในตำแหน่งนี้ มันจะส่งสัญญาณไปยังสมองของคุณ เพื่อบอกให้ร่างกายเตรียมย่อยอาหาร เมื่อคุณนั่งในตำแหน่งนี้แล้วก้มตัวลงไปกินอาหาร แล้วยกตัวกลับมาที่ตำแหน่งเดิม เพื่อกลืนอาหาร การเคลื่อนไหวไปมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้จะเปิดใช้งานกล้ามเนื้อหน้าท้อง และการย่อยอาหารที่ดีขึ้น

    ปรับปรุงความยืดหยุ่น

    การนั่งพื้น สามารถทำให้ร่างกายแข็งแรงและยืดหยุ่นได้มากขึ้น เพราะทำให้สามารถเหยียดเข่า สะโพก กระดูกสันหลัง หน้าอก และข้อเท้าของคุณได้ การนั่งพื้นจึงทำให้ส่วนต่างๆ เหล่านี้ยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งยังช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ด้วย

    ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นที่ได้จากการนั่งพื้นกินอาหาร จะป้องกันไม่ให้คุณกระแทกเมื่อนั่งและหลังจะไม่บาดเจ็บเมื่องอตัว การนั่งบนเก้าอี้นานเกินไปส่งผลทำให้ปวดหลัง ปวดสะโพก ทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อแข็ง ขาดความยืดหยุ่น และอ่อนแอ

    ส่งเสริมการลดน้ำหนัก

    แน่นอนว่าส่วนใหญ่ที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นเพราะการกินที่มากเกินไป การนั่งกินข้าวบนโต๊ะและเก้าอี้จะทำให้เส้นประสาทเวกัส (Vagus) ซึ่งต้องทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังสมอง โดยบอกว่าคุณอิ่มแล้วหรือยังทำงานไม่ถูกต้อง การนั่งพื้นขณะกินอาหารจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทนี้ดีขึ้น เป็นผลทำให้คุณไม่กินมากเกินไป

    เพิ่มอายุขัย

    คุณสามารถลุกขึ้นจากท่านั่งไขว้ขวาโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยใดๆ ได้หรือไม่ ถ้าสามารถทำได้ก็จงชื่นชมกับการที่ทำได้ เนื่องจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าคุณมีแนวโน้มที่จะอายุยืน

    จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Preventive Cardiology รายงานว่า ผู้ที่นั่งอยู่ในท่าไขว้ขาและสามารถลุกขึ้นโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยใดๆ มีแนวโน้มที่จะอายุยืนยาวขึ้น เนื่องจากมันต้องอาศัยความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่น

    ช่วยให้หัวเข่าและข้อต่อสะโพกแข็งแรง

    การนั่งพื้น ช่วยให้หัวเข่าและข้อต่อสะโพกแข็งแรง ด้วยวิธีนี้คุณจะยืดสะโพก ขา และกระดูกเชิงกราน ทำให้เกิดความยืดหยุ่นได้มากขึ้น กล้ามเนื้อและข้อเท้าหลักก็จะแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน การดัดข้อต่ออย่างต่อเนื่องทำให้พวกมันยืดหยุ่นมากขึ้นและทำให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ

    นอกจากนั้น การนั่งพื้น ยังช่วยทำให้การหล่อลื่นในข้อต่อทำงานได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้คุณไม่ต้องรู้สึกยากลำบากมากนักในขณะที่นั่งและเดิน

    ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด

    สิ่งที่สำคัญที่สุดของกระเพาะอาหารที่จะทำหน้าที่สำหรับการย่อยอาหาร ก็คือ การไหลเวียนโลหิตที่เหมาะสม การนั่งพื้น จึงเป็นวิธีที่จะทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น การนั่งบนเก้าอี้และกินอาหารจะทำให้เลือดไหลเวียนในทิศทางที่ตรงกันข้าม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา