backup og meta

ซาวน่า กับสารพัดประโยชน์ คุณค่าที่คนรักสุขภาพคู่ควร

ซาวน่า กับสารพัดประโยชน์ คุณค่าที่คนรักสุขภาพคู่ควร

การอบ ซาวน่า อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน และถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่อยู่ในกระแสและได้รับความนิยมมาโดยตลอด การใช้เวลาอยู่ในห้องซาวน่าไม่เพียงแต่จะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมายหากใครยังไม่เคยลองอบซาวน่า Hello คุณหมอรับรองว่า หากได้ลองสักครั้ง คุณจะต้องติดใจอย่างแน่นอน

ซาวน่า คืออะไร

การอบซาวน่า ปรากฏในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชาวมายัน ชาวโรมัน ชาวฟินแลนด์ เป็นต้น ต่างก็มีวัฒนธรรมการอบซาวน่าเพื่อวัตถุประสงค์ทางความเชื่อและเพื่อสุขภาพ

การซาวน่าในปัจจุบันนิยมทำในห้องซาวน่าที่ทำจากไม้ การอบตัวในห้องซาวน่าจะอาศัยความร้อนจากการเผาหินด้วยฮีตเตอร์ หรืออุปกรณ์ทำความร้อนแบบไฟฟ้าและรักษาระดับความร้อนให้อยู่ที่ประมาณ 70°-100° เซลเซียส โดยระหว่างอบซาวน่า อุณหภูมิที่ผิวหนังของคุณอาจเพิ่มสูงได้ถึงประมาณ 40° เซลเซียส ส่งผลให้เหงื่อเริ่มออก อัตราการเต้นของหัวใจค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ร่างกายพยายามปรับอุณหภูมิให้เย็นลง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะสูญเสียเหงื่อจำนวนมาก แม้จะอบซาวน่าแค่ครู่เดียวเท่านั้น

ประโยชน์ด้านสุขภาพของการอบ ซาวน่า

1. ช่วยบรรเทาปวด

การอบซาวน่าช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น จึงอาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยลดอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบได้ด้วย

2. ซาวน่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด

ความร้อนจากการอบซาวน่า ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด แต่ยังทำให้คุณสดชื่น และรู้สึกว่าสุขภาพดีขึ้นด้วย

3. ช่วยเรื่องผิวพรรณ

การอบซาวน่าช่วยชำระล้างผิว ทำให้คุณรู้สึกได้ว่าผิวพรรณผ่องใสขึ้น สำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินบางรายพบว่า การอบซาวน่าลดอาการของโรคได้ แต่หากคุณเป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ควรหลีกเลี่ยงการอบซาวน่า เพราะอาจทำให้อาการของคุณแย่ลงได้

4. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้

สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ การอบซาวน่าอาจช่วยให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น ช่วยละลายเสมหะ ทำให้รู้สึกหายใจสะดวกขึ้น

5. ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น

การอบซาวน่าช่วยลดระดับความเครียด จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยผลการศึกษาวิจัยในประเทศฟินแลนด์ชิ้นหนึ่งพบว่า อาสาสมัครผู้ที่อบซาวน่าเป็นประจำ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (sudden cardiac death) น้อยกว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ซาวน่าสัปดาห์ละ 1 ครั้งถึง 22 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของซาวน่าและสุขภาพหัวใจ คุณจึงไม่ควรละเลยการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง

อบซาวน่าอย่างไรให้ปลอดภัย

  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังอบซาวน่า เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดน้ำ ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
  • การอบซาวน่าแต่ละครั้งควรอยู่ที่ประมาณ 10-20 นาที โดยคุณต้องคอยสังเกตตัวเองว่าร่างกายไหวแค่ไหน สำหรับใครที่เพิ่งเคยอบซาวน่าเป็นครั้งแรก ควรใช้เวลาอบแค่ 5-10 นาทีก่อน หากคุณอบซาวน่านานเกินไป แทนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น คลื่นไส้ วิงเวียน หรือเกิดภาวะขาดน้ำได้ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต
  • หลังอบซาวน่า ควรค่อยๆ ทำให้ร่างกายเย็นลงทีละนิด ไม่ควรทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงกะทันหัน เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเฉียบพลันได้ แม้ในบางวัฒนธรรมจะแนะนำให้ลงแช่น้ำเย็นทันทีหลังอบซาวน่าก็ตาม
  • ดื่มน้ำให้มากๆ หลังอบซาวน่าควรดื่มน้ำเย็นอย่างน้อย 2-4 แก้วเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป
  • หากคุณไม่สบาย หรือมีไข้ ควรงดอบซาวน่า หรือหากอบซาวน่าอยู่แล้วรู้สึกไม่สบาย ก็ควรออกจากห้องซาวน่าทันที
  • ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีอบซาวน่า และการอบซาวน่าสำหรับเด็กแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 15 นาที

แม้การอบซาวน่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็อาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนอบซาวน่าเสมอ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

 

 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sauna: What are the Health Benefits?. http://www.medicalnewstoday.com/articles/313109.php. Accessed April 18, 2017

Sauna Health Benefits: Are saunas healthy or harmful?. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/saunas-and-your-health. Accessed April 18, 2017

Sauna: Health benefits, risks, and precautions. https://www.medicalnewstoday.com/articles/313109.php. Accessed April 18, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวัง! สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย

สัญญาณและอาการทางร่างกาย อะไรบ้างที่เกิดจาก ความเครียด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา