backup og meta

ผอมแต่มีพุง อาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

ผอมแต่มีพุง เป็นปัญหาที่ทำให้หลายคนกังวลใจ เช่น ไม่มั่นใจเวลาใส่เสื้อผ้า แต่ปัญหาของคนผอมที่มีพุงอาจไม่ใช่แค่การรูดซิปไม่ขึ้นเวลาใส่กางเกงยีนส์ เนื่องจากมีงานวิจัยที่ชี้ว่าไขมันในช่องท้องของเรานั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ และทั้งคนผอมและคนอ้วนต่างก็มีไขมันในช่องท้องได้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

ผอมแต่มีพุง มีลักษณะเป็นอย่างไร

ถ้าคุณกินมากกินไปและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีแนวโน้มว่าจะทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายมาก นอกจากนี้ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคืออายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง และมวลไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งการที่มวลกล้ามเนื้อลดลงสามารถทำให้ร่างกายเผาผลาญ แคลอรี่ น้อยลง จึงอาจทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงหลายคนมีแนวโน้มว่าจะมีไขมันหน้าท้องมากเมื่ออายุมากขึ้น แม้ว่าน้ำหนักจะไม่ได้ขึ้นก็ตาม เนื่องจากการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ส่งผลต่อ ไขมัน ในร่างกาย

คุณอาจจะมีรูปร่างสมส่วน และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 25 จึงไม่ถือว่ามีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แต่กลับมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก หรือมีพุง ซึ่งวิธีวัดว่ามี ไขมัน ในช่องท้องมากเกินไปหรือเปล่า สามารถทำได้ดังนี้

  • วัดรอบเอวด้วยสายวัด โดยยืนตัวตรงและพันสายวัดรอบเอว บริเวณเหนือสะโพก
  • ดึงสายวัดให้พอดี โดยไม่ให้แน่นจนกดลงบนผิว
  • ผ่อนคลาย หายใจออก และดูขนาดรอบเอว

สำหรับผู้หญิง ถ้ามีขนาดรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว (89 เซนติเมตร) ถือว่ามี ไขมัน สะสมมากบริเวณหน้าท้อง ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ

ผอมแต่มีพุง มีความเสี่ยงสุขภาพอย่างไรบ้าง

เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากเมื่อกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง และอาหารแปรรูป อาจเป็นสาเหตุให้เกิดไขมันสะสมในช่องท้อง และเป็นปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักขึ้น ซึ่งบางคนอาจมีไขมันสะสมไม่มาก แต่สิ่งที่พวกเขามีคือไขมันสะสมที่อันตรายที่สุด นั่นคือไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ที่นักวิจัยพบว่าแตกต่างจากไขมันชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous fat) และไขมันในช่องท้องสามารถทำให้เกิดภาวะต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง

ปัญหาสุขภาพจากไขมันในช่องท้อง

ไขมันในช่องท้อง

ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เป็นไขมันที่อยู่ลึกเข้าไปในท้อง และอยู่รอบอวัยวะภายใน ส่วนไขมันชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous fat) จะอยู่บริเวณใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจสร้างความไม่มั่นใจเวลาสวมเสื้อผ้า แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือไขมันในช่องท้อง ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ดังนี้

นักวิจัยยังพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับไขมันในช่องท้องกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ไม่ว่าจะมีน้ำหนักตัวเท่าไหร่ มากไปกว่านั้น ยังมีงานวิจัยที่พบว่าผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีรอบเอวใหญ่ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ American Journal of Clinical Nutrition ที่ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แต่มีมวลไขมันในร่างกายสูง โดยมีมวลไขมันมากกว่าร้อยละ 30 อาจมีการอักเสบในร่างกายมากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีมวลไขมันน้อยกว่าร้อยละ 30

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Not Overweight? You May Still Be ‘Fat’. https://www.webmd.com/diet/news/20070112/not-overweight-still-fat. Accessed on January 29 2019.

The Hidden Dangers of ‘Skinny Fat’. http://time.com/14407/the-hidden-dangers-of-skinny-fat/. Accessed on January 29 2019.

Belly fat in women: Taking — and keeping — it off. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/belly-fat/art-20045809. Accessed on January 29 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมันส่วนเกิน ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งร้ายอีกด้วย

การลดน้ำหนัก ทำไมถึงเชื่อกันว่าผู้ชายจะผอมได้เร็วกว่าผู้หญิง


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย Sopista Kongchon · แก้ไข 15/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา