backup og meta

วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ทำแล้วรับรองว่ากินยาครบกำหนดชัวร์

วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ทำแล้วรับรองว่ากินยาครบกำหนดชัวร์

การจะต้องมานั่งจำว่าในแต่ละวันต้องกินยาอะไรบ้างไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจคิดว่ากินยาแค่วันละ 2 หรือ 3 ครั้งจะไปยากอะไร ยังไงก็ต้องจำได้แน่ ๆ แต่ถึงอย่างนั้น คนเราก็มักลืมกินยากันเป็นประจำ ร่างกายของเราต้องการปริมาณยาที่จำเพาะเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ หากเรา ลืมกินยา ถึงจะแค่ 1-2 ครั้ง ก็อาจส่งผลให้ยาทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพได้ หากใครลืมกินยาเป็นประจำ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีป้องกันการลืมกินยามาฝาก รับรองว่าหากคุณทำตามแล้ว จะไม่ลืมกินยาอีกแน่นอน

วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา

  • ใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง

การใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง อาการของโรคที่เผชิญ และการรักษาที่จำเป็น จะเป็นแรงกระตุ้นให้คุณกินยารักษาโรคเป็นประจำตามที่คุณหมอสั่ง หากคุณศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาที่กิน ทำความเข้าใจว่าคุณกินยาไปเพื่ออะไร รวมถึงใส่ใจกับผลข้างเคียงของยา รวมถึงผลของการกินยาไม่สม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้คุณไม่ลืมกินยาได้

  • กล่องยา

กล่องยาไม่ใช้แค่ที่เก็บยาเท่านั้น แต่ยังช่วยเตือนให้คุณกินยาในแต่ละวันได้อย่างครบถ้วนด้วย เนื่องจากกล่องยาแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เพียงพอต่อการเก็บยาในแต่ละสัปดาห์ สามารถเก็บไว้ในกระเป๋า หรือพกพาได้เมื่อเดินทาง จึงสะดวกกว่าการพกถุงยาไปไหนมาไหน ถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนที่ชอบลืมกินยา และผู้สูงอายุต่างก็เห็นตรงกันว่ากล่องยาคือตัวช่วยในการกินยาที่กะทัดรัดและพกพาสะดวกมาก

  • แอปพลิเคชันเตือนกินยา

คนเราพกโทรศัพท์มือถือติดตัวไปแทบทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่เวลาเข้าห้องน้ำ และเช็คโทรศัพท์กันไม่ต่ำกว่าวันละ 50 ครั้ง โทรศัพท์มือถือมีประโยชน์มากกว่าเอาไว้ใช้ถ่ายรูปหรือเล่นโซเชียลมีเดีย เนื่องจากปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ เช่น แอปพลิเคชันออกกำลังกาย แอปพลิเคชันคำนวณวันตกไข่และบันทึกประจำเดือน รวมถึงแอปพลิเคชันเตือนกินยา ที่สามารถตั้งเวลาแจ้งเตือน ช่วยให้คุณกินยาตรงเวลาได้ แถมบางแอปพลิเคชันยังมีฟังก์ชันให้คนในครอบครัวช่วยเตือนให้เรากินยาด้วย

  • เก็บยาในที่ที่มองเห็นง่าย

ปัญหาข้อหนึ่งที่ทำให้เราลืมกินยาก็คือ จำไม่ได้ว่าเก็บยาไว้ที่ไหน ไม่ก็หายาไม่เจอ ฉะนั้นเคล็ดลับป้องกันการ ลืมกินยา แบบง่าย ๆ ที่คุณทำได้หากไม่อยากลืมกินยา ก็ควรเก็บยาไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่าย หยิบสะดวก

  • ทำให้เป็นกิจวัตร

ปัญหาลืมกินยาจะน้อยลง หากคุณทำให้การกินยาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน เริ่มจากท่องจำให้ขึ้นใจว่า “นี่คือยาหลังอาหารเช้า’ “นี่คือยาก่อนนอน’ “วันนี้ต้องกินยาก่อนอาหาร’ เป็นต้น

หากคุณกลัวว่าแค่ท่องจำยังไม่พอ ลองทำตารางแจกแจงว่าในแต่ละวันคุณต้องกินยาตัวไหน เวลาใดบ้าง เมื่อกินยาแล้วจึงค่อยทำสัญลักษณ์ให้ตัวเองรู้ว่ากินยาเรียบร้อยแล้ว โดยจะทำตารางไว้ในปฏิทิน สมุดบันทึก หรือทำเป็นกระดาษแผ่นเล็กๆ พกไว้ในกระเป๋าสตางค์ก็ได้

  • ปรึกษาแพทย์

แม้การสั่งจ่ายยาจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ คุณไม่สามารถบังคับให้แพทย์จ่ายยาเฉพาะที่คุณต้องการได้ แต่คุณก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลือกสำหรับยาที่เข้ากับตารางชีวิตคุณได้ โดยแพทย์อาจลดยาบางตัวลง หรือเลือกจ่ายยาที่เหมาะสมกับกิจวัตรประจำวันของคุณมากที่สุด คุณควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า ยาตัวไหนที่สามารถกินคู่กันได้อย่างปลอดภัย จะได้ไม่ต้องแยกกินยาหรือกินยาวันละหลาย ๆ ครั้ง เพราะอาจทำให้ลืมกินยาตัวใดตัวหนึ่งได้

  • ให้สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนช่วยเหลือ

สำหรับคนที่ต้องกินยาเยอะ ๆ ผู้สูงอายุ หรือคนที่ยุ่งจนอาจลืมกินยา ควรให้เพื่อน ๆ คนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานช่วยเตือนเรื่องการกินยา คุณจะได้กินยาตรงเวลา ไม่ลืมกินยาเหมือนตอนจำคนเดียว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหาด้านความจำ ยิ่งต้องมีลูกหลานคอยดูแลเรื่องยาให้ จะได้ไม่ลืมกินยา หรือกินยาเกินขนาดยาต่อวัน เพราะจำไม่ได้ว่าตัวเองกินยาไปแล้วหรือยัง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tips to Remember and Stay on Your Medications. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=14476. Accessed December 23, 2017

8 Simple Ideas for Remembering to Take Your Medication. https://psychcentral.com/blog/8-simple-ideas-for-remembering-to-take-your-medication/. Accessed December 23, 2017

Taking medicine at home – create a routine. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000613.htm. Accessed December 23, 2017

8 Creative Ways to Remember to Take Your Medicine Every Day. https://www.drugs.com/article/taking-your-medicine.html. Accessed December 23, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/06/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกับเครื่องพ่นละอองยา ใครบ้างต้องพึ่งเครื่องพ่นละอองยา

อาการแพ้ยา และ ผลข้างเคียงของยา สองอาการที่คล้ายแต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา