backup og meta

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ (Takayasu's Arteritis)

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ (Takayasu's Arteritis)

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรคทากายาสุ (Takayasu’s Arteritis) เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจและหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังส่วนแขนและเดินผ่านทางลำคอไปยังสมอง อาการอักเสบดังกล่าว ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพองจนเกิดอาการตีบตันหรืออุดตัน

คำจำกัดความ

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ (Takayasu’s Arteritis) คืออะไร   

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรคทากายาสุ (Takayasu’s Arteritis) เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจและหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังส่วนแขนและเดินผ่านทางลำคอไปยังสมอง อาการอักเสบดังกล่าว ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพองจนเกิดอาการตีบตันหรืออุดตัน

อย่างไรก็ตาม โรคทากายาสุเป็นโรคที่หาได้ยาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดังนี้ มีไข้ ภาวะโลหิตจาง เวียนศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหงื่อออกเวลากลางคืน เป็นต้น

พบได้บ่อยเพียงใด

โรคทากายาสุสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ทุกเชื้อชาติ โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงเอเชียอายุระหว่าง 15 ถึง 35 ปี

อาการของโรคทากายาสุ

อาการของโรคทากายาสุ

อาการของโรคทากายาสุจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

อาการของโรคทากายาสุ ระยะที่ 1

  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว

มีไข้เล็กน้อย ในบางครั้งอาจมีอาการเหงื่ออกตอนกลางคืนร่วมด้วย

อาการของโรคทากายาสุ ระยะที่ 2

ในระยะที่ 2 เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดจนเกิดอาการตีบตันหรืออุดตัน ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อยลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • แขนและขามีการอ่อนแรงหรือเกิดอาการปวด
  • รู้สึกวิงเวียนศีรษะ เป็นลม
  • ปวดศีรษะ เกิดความผิดปกติทางการมองเห็น
  • เจ็บหน้าอก หายใจถี่
  • ความดันโลหิตสูง
  • ท้องเสีย หรือมีเลือดปนในอุจจาระ
  • โรคโลหิตจาง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำและกระบวนการคิด

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคทากายาสุ

ในปัจจุบันไม่มีหลักฐานในการระบุสาเหตุของโรคทากายาสุได้อย่างแน่ชัด โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงเอเชียที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี โดยเกิดจากหลายสาเหตุดังนี้

  • โรคสืบทอดทางพันธุกรรม
  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง
  • ถูกกระตุ้นโดยไวรัสหรือการติดเชื้ออื่น ๆ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคทากายาสุ

  • ผู้หญิงเอเชียที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี
  • สมาชิกในครอบครัวที่เคยมีประวัติเป็นโรคทากายาสุ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคทากายาสุ

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย รวมถึงการตรวจวิธีอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยโรค ดังนี้ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) การเอ็กซ์เรย์ (X-Ray) และการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiography) เพื่อดูตำแหน่งและความรุนแรงของความผิดปกติที่เกิดขึ้น รวมถึงการนำเนื้อเยื่อส่วนที่ผิดปกติมาตรวจ

วิธีการรักษาโรคทากายาสุ

วิธีการรักษาโรคทากายาสุขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้

  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยารับประทานช่วยบรรเทาอาการอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในการรักษาโรคทากายาสุ
  • การผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty) ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวายหรือไตล้มเหลวได้ แพทย์จะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดขยายเส้นเลือดเพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคทากายาสุ

ผู้ป่วยโรคทากายาสุ ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และปรึกษาแพทย์อยู่เสมอเนื่องจากยาที่ใช้ในการรักษามีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Takayasu’s arteritis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/takayasus-arteritis/symptoms-causes/syc-20351335. Accessed on August 31, 2020.

Takayasu’s Arteritis. https://www.webmd.com/heart-disease/takayasus-arteritis#1. Accessed on August 31, 2020.

Takayasu Arteritis. https://emedicine.medscape.com/article/332378-overview. Accessed on August 31, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/09/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา