backup og meta

โรคโลหิตจาง ปัญหาสุขภาพที่คนกินมังสวิรัติต้องระวังให้ดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    โรคโลหิตจาง ปัญหาสุขภาพที่คนกินมังสวิรัติต้องระวังให้ดี

    อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด โรคโลหิตจาง (anemia) ได้อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเพิ่มสารอาหารที่ร่างกายต้องการโดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด เช่น ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ ผักใบเขียวเข้ม ข้าวเสริมธาตุเหล็ก ข้ามหอมนิล

    ปัจจุบันคนเลือกกินมังสวิรัติ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ นม ชีส กันมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือความเชื่อที่ว่า กินเนื้อสัตว์เท่ากับทำบาป กินเนื้อสัตว์แล้วจะเป็นโรคต่างๆ เป็นต้น แต่หากจะเลือกกินมังสวิรัติ คุณก็ต้องจัดตารางอาหารของตัวเองให้ดี กินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารครบ 5 หมู่ เพราะการกินมังสวิรัติ หากกินแต่อาหารชนิดเดิมๆ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่ต้องการอย่างครบถ้วน ก็จะทำให้ขาดสารอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารที่พบได้มากในเนื้อสัตว์ อย่างธาตุเหล็ก เมื่อร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอก็ทำให้เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางมากขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ

    สำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติแบบเคร่งครัดมาก คือ กินแต่พืชผักผลไม้อย่างเดียว นอกจากอาจทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอแล้ว ยังทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี 12 ซึ่งพบมากในไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำผึ้ง อีกด้วย และหากร่างกายขาดวิตามินบี 12 ก็อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้เช่นกัน

    การดูดซึมธาตุเหล็ก

    ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน เช่น ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยกำจัดโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยให้เซลล์สมองเติบโตได้ดี โดยคนแต่ละเพศ แต่ละช่วงวัยต่างก็ต้องการธาตุเหล็กในปริมาณที่ต่างกัน ดังนี้

  • เพศชาย (14-18 ปี): 11 มก
  • เพศชาย (19 ปีขึ้นไป): 8 มก
  • เพศหญิง (14-18 ปี): 15 มก
  • เพศหญิง (19-50 ปี): 18 มก
  • เพศหญิง (51 ปีขึ้นไป): 8 มก
  • ธาตุเหล็ก มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ธาตุเหล็กในรูปฮีม (heam iron) พบมากในเครื่องในสัตว์ ไข่ ปลา เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย และธาตุเหล็กในรูปอื่น (non-heam iron) พบมากในพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช โดยธาตุเหล็กในรูปฮีมสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าธาตุเหล็กในรูปอื่น

    ธาตุเหล็กในรูปอื่นมีค่าชีวอนุเคราะห์ต่ำ วิตามินและแร่ธาตุ เช่น ฟอสเฟต ไฟเตต ออกซาเลต คาร์บอเนต วิตามินซี และเส้นใยอาหาร  สามารถขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กได้ ดังนั้น คนกินมังสวิรัติจึงควรระมัดระวังการเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากร่างกายอาจดูดซึมธาตุเหล็กที่ได้จากการกินผักได้ไม่เต็มที่เพราะมีแร่ธาตุอื่นมาขัดขวางการดูดซึม

    โรคโลหิตจาง เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก

    โรคโลหิตจางมักมีสาเหตุมาจากการขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากอาหารที่คุณกินเข้าไปมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ธาตุเหล็กมีบทบาทสำคัญในการขนส่งออกซิเจนในฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ออกซิเจนสามารถไหลเวียนไปทั่วร่างกาย และช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน หนึ่งในอาการที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของโรคโลหิตจาง คือ อาการเหนื่อยล้า แต่อาการนี้อาจยังไม่ปรากฏ หากโรคโลหิตจางของคุณยังอยูในระดับที่ไม่รุนแรง

    อาหารเพิ่มธาตุเหล็ก ป้องกัน โรคโลหิตจาง

    แม้จะไม่ได้รับธาตุเหล็กจากการกินเนื้อสัตว์ ไข่ หรือเครื่องในสัตว์ แต่คนกินมังสวิรัติ ก็สามารถเพิ่มธาตุเหล็กให้กับร่างกายได้ ด้วยอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์เหล่านี้

    • ธัญพืชไม่ขัดสี
    • น้ำลูกพรุน
    • ซีเรียลอาหารเช้าเสริมสารอาหาร
    • ผักใบเขียวเข้ม
    • ข้าวหรือพาสต้าเสริมสารอาหาร
    • กากน้ำตาล (Blackstrap molasses)
    • เมล็ดฟักทอง
    • ถั่วเมล็ดแห้ง

    โลหิตจางเนื่องจากขาดวิตามิน บี 12

    โรคโลหิตจางเนื่องจากขาดวิตามิน บี 12 หรือที่รู้จักในนาม โรคโลหิตจางร้ายแรง (Pernicious Anemia) เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลงเนื่องจากลำไส้ไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 ได้ตามที่ควร

    วิตามิน บี เป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง พบได้มากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา นม ไข่ โยเกิร์ต เป็นต้น ชาวมังสวิรัติอาจมีความเสี่ยงของการเป็นโลหิตจางเนื่องจากขาดวิตามิน บี 12 เพราะไม่ได้บริโภคอาหารชนิดดังกล่าว จึงได้รับวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม หากคุณกินมังสวิรัติก็สามารถรับวิตามินบี 12 จากอาหารเหล่านี้ได้

  • ยีสต์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
  • เนื้อสัตว์สังเคราะห์ ที่อุดมไปด้วย วิตามิน บี 12
  • ซีเรียลที่เพิ่มสารอาหาร
  • ข้าว หรือนมถั่วเหลืองที่เพิ่มสารอาหาร
  • ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อุดมไปด้วย วิตามิน บี 12
  • Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา