backup og meta

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)
แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทและอื่นๆ

คำจำกัดความ

แคลเซียมในเลือดต่ำคืออะไร

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ที่เป็นของเหลวหรือพลาสมา

แคลเซียมในเลือดต่ำพบได้บ่อยเพียงใด

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการแคลเซียมในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาท ทารกที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือมีอาการสั่น ผู้ใหญ่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้ออ่อนล้า
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ความรู้สึกผิดปกติที่ไร้สาเหตุ (Paresthesias) หรือความรู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงในบริเวณทั่วร่างกาย
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความกังวล อาการซึมเศร้า หรืออาการหงุดหงิด
  • ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ
  • ความดันเลือดต่ำ
  • พูดหรือกลืนลำบาก
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการพาร์กินสัน
  • จานประสาทตาบวม (Papilledema)

อาการของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่

  • อาการชัก
  • ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmias)
  • หัวใจวาย
  • กล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasms)

อาการในระยะยาวของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่

  • ผิวแห้ง
  • เล็บเปราะ
  • มีนิ่วในไต หรือมีการสะสมตัวของแคลเซียมอื่นๆ ในร่างกาย
  • ภาวะสมองเสื่อม
  • ต้อกระจก
  • ผื่นผิวหนังอักเสบ

อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการหนึ่งๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

แคลเซียมในเลือดต่ำเกิดจากอะไร

สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำก็คือ ภาวะที่ร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์น้อยเกินไป (hypoparathyroidism) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone: PTH) ในปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในระดับต่ำ ส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือเกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งในบริเวณศีรษะและคอ

สาเหตุอื่นๆ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่

  • ปริมาณแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอในอาหารที่รับประทาน
  • การติดเชื้อ
  • ยาบางชนิด ได่แก่ ยาฟีไนโทอิน (Phynytoin) อย่างไดแลนติน (Dilantin) ยาฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) และยาไรแฟมปิน (Rifampin)
  • ความเครียด
  • ความกังวล
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ระดับแมกนีเซียมหรือฟอสเฟตที่ผิดปกติ
  • โรคไต
  • ท้องร่วง ท้องผูก หรือความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับลำไส้ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างเหมาะสม
  • การให้ฟอสเฟตหรือแคลเซียมทางหลอดเลือด
  • มะเร็งที่กำลังลุกลาม
  • มารดาที่เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยที่เป็นทารก

คำจำกัดความ

แคลเซียมในเลือดต่ำคืออะไร

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ที่เป็นของเหลวหรือพลาสมา

แคลเซียมในเลือดต่ำพบได้บ่อยเพียงใด

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการแคลเซียมในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาท ทารกที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือมีอาการสั่น ผู้ใหญ่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้ออ่อนล้า
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ความรู้สึกผิดปกติที่ไร้สาเหตุ (Paresthesias) หรือความรู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงในบริเวณทั่วร่างกาย
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความกังวล อาการซึมเศร้า หรืออาการหงุดหงิด
  • ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ
  • ความดันเลือดต่ำ
  • พูดหรือกลืนลำบาก
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการพาร์กินสัน
  • จานประสาทตาบวม (Papilledema)

อาการของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่

  • อาการชัก
  • ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmias)
  • หัวใจวาย
  • กล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasms)

อาการในระยะยาวของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่

  • ผิวแห้ง
  • เล็บเปราะ
  • มีนิ่วในไต หรือมีการสะสมตัวของแคลเซียมอื่นๆ ในร่างกาย
  • ภาวะสมองเสื่อม
  • ต้อกระจก
  • ผื่นผิวหนังอักเสบ

อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการหนึ่งๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

แคลเซียมในเลือดต่ำเกิดจากอะไร

สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำก็คือ ภาวะที่ร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์น้อยเกินไป (hypoparathyroidism) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone: PTH) ในปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในระดับต่ำ ส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือเกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งในบริเวณศีรษะและคอ

สาเหตุอื่นๆ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่

  • ปริมาณแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอในอาหารที่รับประทาน
  • การติดเชื้อ
  • ยาบางชนิด ได่แก่ ยาฟีไนโทอิน (Phynytoin) อย่างไดแลนติน (Dilantin) ยาฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) และยาไรแฟมปิน (Rifampin)
  • ความเครียด
  • ความกังวล
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ระดับแมกนีเซียมหรือฟอสเฟตที่ผิดปกติ
  • โรคไต
  • ท้องร่วง ท้องผูก หรือความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับลำไส้ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างเหมาะสม
  • การให้ฟอสเฟตหรือแคลเซียมทางหลอดเลือด
  • มะเร็งที่กำลังลุกลาม
  • มารดาที่เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยที่เป็นทารก

ปัจจัยเสี่ยง

อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับแคลเซียมในเลือดต่ำ

ผู้ที่มีภาวะพร่องวิตามินดีหรือแมกนีเซียม มีความเสี่ยงต่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่

  • เคยมีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติของทางเดินอาหาร
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • ไตวาย
  • ตับวาย
  • โรควิตกกังวล

ทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวนี้ เนื่องจากร่างกายยังไม่เติบโตเต็มที่ ซึ่งพบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคเบาหวาน

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วินิจฉัยแคลเซียมในเลือดต่ำได้อย่างไร

ขั้นตอนแรกในการวินิจฉัย คือการตรวจเลือดเพื่อระบุระดับแคลเซียมในเลือด แพทย์ยังอาจตรวจทางร่างกายและจิตใจ เพื่อตรวจหาสิ่งบ่งชี้ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ การตรวจร่างกายอาจรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับส่วนของร่างกายดังต่อไปนี้

  • ผม
  • ผิวหนัง
  • กล้ามเนื้อ

การตรวจทางจิตใจอาจรวมถึงการตรวจสำหรับ

  • โรคสมองเสื่อม
  • ประสาทหลอน
  • กาการสับสน
  • อาการหงุดหงิด
  • อาการชัก

นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจตรวจหาอาการโควสเต็กและอาการทรูโซ (Chvostek’s and Trousseau’s signs) ซึ่งทั้งสองอาการมีความสัมพันธ์กับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ อาการโควสเต็กเป็นอาการกระตุกเมื่อแตะที่กลุ่มเส้นประสาทที่ใบหน้า อาการทรูโซเป็นอาการกระตุกที่มือหรือเท้าซึ่งเกิดจากการขาดเลือด หรือการขัดขวางทางเดินเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาการกระตุกจัดว่าเป็นการตอบสนองในทางที่ดีต่อการทดสอบดังกล่าวนี้และเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการเร้าต่อประสาทและกล้ามเนื้อ อันเป็นผลมาจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ

รักษาแคลเซียมในเลือดต่ำได้อย่างไร

ผู้ป่วยบางรายอาจหายขาดจากภาวะดังกล่าวโดยไม่ได้เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากมีอาการเฉียบพลัน แพทย์จะทำการฉีดแคลเซียมเข้าทางเส้นเลือดให้แก่คุณ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการแคลเซียมในเลือดต่ำ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียยวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำได้

ผู้ป่วยภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำจำนวนมาก รับการรักษาได้ง่ายโดยการเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน การรับประทานอากหารเสริมแคลเซียม วิตามินดี หรือแมกนีเซียม หรือการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอสามารถช่วยรักษาภาวะดังกล่าวได้

การรับแสงแดดจะช่วยเพิ่มระดับวิตามินดีได้ ปริมาณแสงแดดที่จำเป็นมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ให้มั่นใจว่าได้ใช้ครีมกันแดดหากต้องโดนแดดเป็นเวลานาน แพทย์อาจแนะนำให้วางแผนการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เพื่อช่วยรักษาภาวะดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hypocalcemia https://www.healthline.com/health/hypocalcemia#outlook7 Accessed October 18, 2017

Hypocalcemia Clinical Presentation https://emedicine.medscape.com/article/241893-clinical Accessed October 18, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

นวด เพื่อสุขภาพ ข้อดีของการนวด ผ่อนคลายร่างกาย

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา