backup og meta

แหล่งสะสม แบคทีเรีย ในบ้านที่เราอาจคาดไม่ถึง

แหล่งสะสม แบคทีเรีย ในบ้านที่เราอาจคาดไม่ถึง

บ้านของเราอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากกว่าที่คิด เนื่องจากงานวิจัยชี้ว่าจาก 32 สถานที่ภายในบ้าน พบว่าจุดที่ สะสม แบคทีเรีย  เป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ ชักโครก ท่อระบายน้ำในห้องครัว ฟองน้ำล้างจาน ผ้าขี้ริ้ว และอ่างล้างจาน นอกจากนี้ยังมีแหล่งสะสม แบคทีเรีย ภายในบ้าน ที่คุณอาจคาดไม่ถึงอีกหลายแหล่ง

แหล่งสะสมแบคทีเรียในบ้าน ที่คุณคาดไม่ถึง

ห้องครัว

ห้องครัวควรเป็นมุมที่สะอาด เพราะเป็นมุมที่ใช้ทำอาหารและล้างจาน แต่ห้องครัวอาจไม่ได้สะอาดเสมอไป เนื่องจากสมาคมสุขาภิบาลแห่งชาติ (National Sanitation Foundation, NSF) พบว่าบริเวณที่ใช้เก็บอาหาร หรือมุมเตรียมอาหาร มีแบคทีเรียมากกว่า เมื่อเทียบกับมุมอื่นๆ ภายในบ้าน นอกจากนี้ 75% ของฟองน้ำล้างจานและผ้าขี้ริ้วมีซาลโมเนลลา (Salmonella) และอี. โคไล (E. coli) และพบการปนเปื้อนอุจจาระเมื่อเทียบกับ 9% ที่พบในก๊อกน้ำล้างมือในห้องน้ำ และสำหรับคำแนะนำคือ ควรทำความสะอาดห้องครัวบ่อยๆ รวมถึงใช้เทคนิคเหล่านี้ ได้แก่

  • ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เช็ดทำความสะอาดห้องครัว
  • นำฟองน้ำล้างจานไปใส่ในไมโครเวฟเป็นเวลาประมาณ 1 นาทีเพื่อฆ่าแบคทีเรีย
  • เปลี่ยนผ้าขี้ริ้วสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • ล้างมือก่อนและหลังจับอาหาร

เครื่องซักผ้า

หากผ้าที่เปียกชื้นค้างอยู่ในเครื่องซักผ้า แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงสั้นๆ ก็สามารถทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตขึ้นได้ โดยควรนำผ้ามาตากทันทีหลังจากที่ซักเสร็จ และหากทิ้งผ้าไว้นานเกิน 30 นาที ควรเริ่มซักผ้าใหม่อีกครั้ง

กลอนประตู ปุ่มบนอุปกรณ์ต่างๆ และสวิตซ์ไฟ

หลายคนอาจคิดว่าลูกบิดประตูห้องน้ำจะสกปรกที่สุด แต่จากการสำรวจกลับพบว่ามีจุดอื่นที่มีการสะสมของแบคทีเรียสูงกว่า ได้แก่

  • สวิตช์ไฟห้องน้ำ
  • ที่จับตู้เย็น
  • ปุ่มเปิดเตาแก๊ส
  • ที่จับไมโครเวฟ

คุณสามารถทำความสะอาดได้ด้วยผ้าเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในมุมที่คุณคาดไม่ถึงเหล่านี้

ห้องน้ำ

ความชื้นภายในห้องน้ำ สามารถทำให้ห้องน้ำเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยจุดที่มักจะมีแบคทีเรียสะสมได้แก่

  • ท่อระบายน้ำ
  • ก๊อกน้ำ
  • พื้นที่บริเวณรอบชักโครก
  • ผ้าเช็ดตัว
  • แปรงสีฟัน

คุณควรทำความสะอาดห้องน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นอกจากนี้อาจนำแปรงสีฟันเก่ามาขัดในซอกต่างๆ เช่น รอบๆ ท่อระบายน้ำและก๊อกน้ำ และควรเปลี่ยนผ้าเช็ดเท้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมถึงเปลี่ยนแปรงสีฟัน ทุกๆ 3-4 เดือน

กระเป๋าเครื่องสำอาง

กระเป๋าเครื่องสำอางสามารถเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย เพราะหลายคนมักจะพกไปไหนมาไหนด้วยตลอด และเชื้อโรคที่อยู่ในกระเป๋าเครื่องสำอางสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวและดวงตาได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นทำความสะอาดกระเป๋าเครื่องสำอาง รวมถึงอุปกรณ์แต่งหน้าเป็นประจำด้วย นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำให้เปลี่ยนเครื่องสำอางทุกๆ 6 เดือนและควรเลิกใช้อุปกรณ์ตกแต่งดวงตาทันที หากคุณเกิดการติดเชื้อที่ดวงตา

ของใช้ส่วนตัว

คุณสามารถนำเชื้อโรคจากนอกบ้านเข้ามาในบ้านได้ด้วยของใช้ส่วนตัว เช่น รองเท้า ถุงผ้า หรือแม้แต่หูฟัง โดยจากการสำรวจของสมาคมสุขาภิบาลแห่งชาติพบว่าพบการปนเปื้อนของยีสต์ รา และอุจจาระ ในอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

  • โทรศัพท์มือถือ
  • ลูกกุญแจ
  • กระเป๋าสตางค์และเงิน
  • กล่องใส่อาหาร

โดยควรหมั่นทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวเหล่านี้ เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคชนิดอื่น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

สมาคมสุขาภิบาลแห่งชาติพบว่า มียีสต์และราในรีโมทโทรทัศน์ คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแท็บเล็ต สิ่งของภายในห้องเหล่านี้อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดด้วยผ้าเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อบ่อยๆ

 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Top Spots for Bacteria at Home. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/news/20070625/top-spots-for-bacteria-at-home#1. Accessed on January 1 2019.

Germs: Understand and protect against bacteria, viruses and infection. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/in-depth/germs/art-20045289. Accessed on January 1 2019.

The 9 Dirtiest Spots in Your Home. https://www.healthline.com/health/germy-places. Accessed on January 1 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

เคล็ดลับที่จะช่วยคุณ ต่อสู้อาการภูมิแพ้ จากไรฝุ่นและละอองเกสรอย่างได้ผล


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา