backup og meta

ก้มจิ้มมือถือทั้งวันระวัง โรคเท็กซ์เน็ค ไหล่ห่อคอตก

ก้มจิ้มมือถือทั้งวันระวัง โรคเท็กซ์เน็ค ไหล่ห่อคอตก

ใครที่ก้มเล่นมือถือแล้วมักเกิดอาการปวดที่คอ บ่า ไหล่กันบ้างคะ ยกมือขึ้นค่ะ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก โรคเท็กซ์เน็ค (Text Neck) หรือ โรคไหล่ห่อคอตก เป็นโรคที่เมื่อก้มเล่นมือถือ แทปเล็ต หรือคอมพิวเตอร์มากๆ ก็จะส่งผลให้เราปวดคอ บ่า และไหล่ แต่ผลกระทบไม่ได้มีแค่ปวดนะคะ ยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น โครงสร้างกระดูกสันหลัง และยังมีผลที่ร้ายแรงกว่าที่เราคิดไว้อีกนะคะ หากใครมีอาการปวดเรามีท่าบริหารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดมาแนะนำด้วยค่ะ

โรค เท็กซ์เน็ค คืออะไร

ปัจจุบันแทบจะทุกคนใช้เวลาไปกับการเล่นเกมส์ออนไลน์ การใช้โปรแกรมแชตต่างๆ บนสมาร์ทโฟน แทปเล็ต และคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งท่าทางการใช้งานส่วนใหญ่เรามักจะก้มเล่นอุปกรณ์เหล่านั้น เมื่อคอค้างอยู่ท่าก้มเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการปวด เมื่อยล้า เราจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคเท็กซ์เน็ค หรือภาษาไทยเรียกว่า โรคไหล่ห่อคอตก (Text Neck) เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อเราอยู่ในยุคสังคมก้มหน้า เมื่อเกิดจากการก้มหน้าใช้โทรศัพท์มือถือนานเกินกว่าวันละ 10 ชั่วโมง ในการก้มหน้าทุก ๆ 15 องศาทำให้คอและหลังแบกรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น ยิ่งก้มหน้ามากคอก็ยิ่งรับน้ำหนักมากขึ้น ส่งผลทำให้ปวดไหล่ คอ และหลังได้

อาการของโรคเท็กซ์เน็ค

  • มีอาการปวดหลังส่วนบนและคอเมื่อใช้มือถือ
  • มีอาการเวียนหัวเมื่อใช้มือถือ
  • ปวดหัวเป็นประจำ อาการจะแย่ลงเมื่อก้มเล่นมือถือหรือใช้งานคอมพิวเตอร์
  • มีอาการปวดคอหรือไหล่
  • ไหล่จะมีอาการปวดทั่วไปและจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้หดตัว
  • ส่งผลให้กระดูกสันหลังโค้งและผิดรูป

ผลกระทบต่อร่างกาย

โรคเท็กซ์เน็ค เป็นโรคที่มีแนวโน้มว่าผู้คนจะเป็นโรคนี้กันมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน แทปเล็ต และคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้น  บางครั้งใช้จนลืมคำนึงถึงสุขภาพของตัวเอง บางรายใช้งานเกิน 10 ชั่วโมงก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ ผลกระทบต่อร่างกายอย่างแรกที่เราเห็นได้ชัดเจนเลยคือเมื่อมีอาการของโรคเท็กซ์เน็ค จะปวดบริเวณคอ บ่า และไหล่ โรคเท็กซ์เน็คจะทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น โครงสร้างด้านหน้าของคอบีบลง แต่ในขณะเดียวกันจะช่วยยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น โครงสร้างบริเวณต้นคอ โดยปกติศีรษะคนเราหนักประมาณ 4-5 กิโลกรัม เมื่อเราก้มหน้ามากๆ ก็จะยิ่งทำให้คอแบกรับน้ำหนักมากขึ้น ยิ่งก้มเล่นนานเท่าไรคอก็จะยิ่งแบกรับน้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น หากเรายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หรือลดการเล่นโทรศัพท์มือถือลงได้ อาการก็อาจจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้กระดูกสันหลังโค้งผิดรูป บางครั้งอาจเป็นหนักถึงขั้นเกิดความดันในหมอนรองกระดูก เกิดภาวะหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือถ้ากดทับมากๆ ก็อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกได้

ท่าบริหารแก้อาการโรคเท็กซ์เน็ค

 

  1. Downward-Facing Dog

  • เริ่มต้นจากการยืนตรง ค่อยๆ ย่อขาลงลงวางมือทั้งสองข้างที่พื้นขนาบเท้าทั้งสอง ดันสะโพกขึ้นเพดาน
  • ค่อยๆ ถอยเท้าไปที่ด้านหลังของเสื่อโยคะ แต่ยังคงยกสะโพกขึ้นสูง
  • ก้มหัวลง ให้มีความผ่อนคลาย
  • เพื่อไม่ให้ข้อมือได้รับแรงกดมากเกินไป ให้ทำมือเป็นรูปถ้วยแล้วถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วมือทั้ง 5
  • หายใจเข้าออกอย่างน้อย 3 ลมหายใจ แล้วค่อยๆ ผ่อนออก

2. Bow pose

  • เริ่มต้นด้วยการนอนคว่ำ หายใจเข้าลึกๆ
  • เงยหน้าขึ้นและยกลำตัวด้านบน และยกขาขึ้น โดยที่มือยังคงวางอยู่ที่ขางๆ ลำตัว
  • วาดมือทั้งสองข้างไปด้านหลังเพื่อจับข้อเท้าด้านนอก และหายใจเข้า
  • ยกข้อเท้าขึ้นด้านบนเพื่อให้ อก สะโพกขึ้นเหนือพื้น
  • ค้างท่านี้ 10 ลมหายใจ เมื่อเสร็จแล้วค่อยๆ หายใจออก กลับสู่ท่าเดิม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  1. โรค Text Neck
    https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book581/Easy581.pdf
  2. 6 Chiropractor-Approved Exercises to Fight Text Neck
    https://www.healthline.com/health/fitness-exercise/text-neck-treatment
  3. What Is Text Neck Syndrome?
    https://www.ihna.edu.au/blog/2018/05/text-neck-syndrome/

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา