backup og meta

เจาะหู กับข้อควรรู้และต้องคำนึงถึงก่อนรับบริการ

เจาะหู กับข้อควรรู้และต้องคำนึงถึงก่อนรับบริการ

การ เจาะหู ถือเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งสำหรับสาวๆ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่เฉพาะสาวๆ ที่นิยมเจาะหูเท่านั้น เหล่าบรรดาชายหนุ่มก็นิยมเจาะหูเช่นกัน แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเจาะหูนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงอะไรก่อนบ้าง แล้วการเจาะหูนั้นมีความเสี่ยงหรือไม่ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ เจาะหู

การเจาะหู นั้นสามารถทำได้โดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ใช่แพทย์ และเป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดาการเจาะอื่นๆ แต่เมื่อคุณต้องการที่จะเจาะหู ก็มีหลายสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพก่อนที่จะเจาะหู ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึกถึงก่อนจะเจาะหู มีดังนี้

คุณเคยมีคีลอยด์หรือแผลเป็นขนาดใหญ่หรือไม่

คุณมีประวัติครอบครัวเป็นโรคคีลอยด์ (Keloid) หรือแผลเป็นขนาดใหญ่หรือไม่ คีลอยด์เป็นแผลเป็นขนาดใหญ่ที่ล้นออกมาบริเวณขอบของการบาดเจ็บ หากคุณมีประวัติส่วนตัวหรือครอบครัวที่มีแผลเป็นขนาดใหญ่ ความเสี่ยงของการเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่หลังจากเจาะหูก็จะเพิ่มขึ้น

คุณมีอาการแพ้โลหะหรือไม่

ต่างหูทำจากวัสดุหลายชนิด โดยทั่วไปแล้วต่างหูแบบเริ่มต้นจะทำจากเงินแท้ ซึ่งเป็นโลหะที่ไม่ระคายเคือง แต่ถ้าหากคุณมีอาการแพ้โลหะบางชนิด คุณอาจจะต้องหลีกเลี่ยงโลหะเหล่านั้น หากไม่ทำเช่นนั้น หลังจาก การเจาะหู คุณอาจเกิดอาการแพ้ รวมถึงรอยแดง บวม ระคายเคือง คัน หรือปวดได้

แม้ว่าแผลจากการเจาะหูจะหายดีแล้วก็ตาม แต่รูปลักษณ์ภายนอกของการเจาะก็อาจจะได้รับผลกระทบต่อการแพ้โลหะทั่วไป ซึ่งโลหะทั่วไปที่คนแพ้ ก็คือ นิกเกิล

ควร เจาะหู ที่บริเวณไหน

ติ่งหูมักเป็นส่วนแรกของหูที่จะถูกเจาะ คนส่วนใหญ่มักจะมีหูที่มีความไม่สมมาตรอยู่ในระดับหนึ่ง แต่คุณมักจะต้องการให้ต่างหูอยู่ในระดับเดียวกัน ทั้งยังไม่ต้องการเจาะหูให้มีรูที่อยู่ตรงติ่งหูที่ต่ำเกินไป เพราะมันอาจจะทำให้เกิดการปริแตกได้ ดังนั้น การวางรูสำหรับเจาะหูควรวางให้รูตั้งฉากกับพื้นผิวของหู หรือทำมุมได้ บางคนอาจจะเลือกวางรูสำหรับเจาะหูเอาไว้ที่มุม เพื่อให้ต่างหูหันไปข้างหน้า

ความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการ เจาะหู

แม้ การเจาะหู จะดูเหมือนเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ใครๆ ก็เจาะกัน และดูเหมาะจะไม่ได้มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ความจริงการเจาะหูก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้บางคน โดยความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการเจาะหูมีดังนี้

  • ปฏิกิริยาการแพ้ เครื่องประดับที่ทำจากนิกเกิลหรือทองเหลืองมักจะสามารถกระตุ้นปฏิกิริยาการแพ้จากการเจาะหูได้
  • การติดเชื้อ บางคนเมื่อเจาะหูแล้วจะมีผื่นแดง บวม ปวด หรือไม่เลือดออกหลังการเจาะ
  • ปัญหาผิว เมื่อเจาะหูไปแล้วบางคนอาจจะมีปัญหา เช่น แผลเป็น และคีลอยด์
  • โรคเลือด การเจาะหูสามารถทำให้คุณได้รับความเสี่ยงที่จะได้รับไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) บาดทะยัก และเชื้อเอชไอวี (HIV) จากอุปกรณ์เจาะที่ปนเปื้อนเลือดที่ติดเชื้อ

วิธีดูแลแผลจาก การเจาะหู

แท้ว่า การเจาะหู จะพบได้บ่อยๆ และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเจาะในบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย แต่ก็ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย สำหรับใครก็ตามที่คิดจะเจาะหู ขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสหูที่เพิ่งเจาะทุกครั้ง
  • ทิ้งต่างหูไว้ที่หูของคุณเป็นเวลา 6 สัปดาห์ขึ้นไป แม้ในเวลากลางคืนก็ตาม การถอดต่างหูที่เริ่มเจาะเร็วเกินไป อาจทำให้รูที่เจาะมาตันได้
  • หมั่นล้างหูด้วยสบู่และน้ำ โดยทำอย่างระมัดระวังอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
  • บิดต่างหู 2-3 ครั้งต่อวัน วิธีนี้จะช่วยให้รูที่เจาะมาเปิดอยู่เสมอและไม่ตัน
  • ใช้แอลกอฮอล์ล้างหู พยายามใช้สำลีจุ่มแอลกอฮอล์แล้วถูเบาๆ เพื่อทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เจาะหูมา วันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคและป้องกันการตกสะเก็ด คุณอาจทาปิโตรเลียมเจล (Petroleum Jelly) บางๆ รอบๆ บริเวณรูที่เจาะมาด้วยก็ได้

พยายามสำรวจแผลหลังการเจาะหูอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าแผลนั้นจะไม่เจ็บ แดง หรือบวม นอกจากนั้นรูที่เจาะมาไม่ควรจะมีของเหลวสีเหลืองขุ่นหรือหนองไหลออกมา ซึ่งถ้ามีสิ่งนี้เกิดขึ้นและไม่หายไปอย่างรวดเร็ว คุณควรจะต้องไปพบคุณหมอด้านผิวหนัง เนื่องจากคุณอาจจะเกิดการติดเชื้อได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What You Should Know About Ear Piercing. https://www.webmd.com/beauty/ear-piercing-what-you-should-know#1. Accessed August 27, 2020

CARING FOR PIERCED EARS. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-basics/tattoos/caring-for-pierced-ears. Accessed August 27, 2020

What to Know Before You Get Your Ears Pierced. https://www.verywellhealth.com/ear-piercing-1069162. Accessed August 27, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/03/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

คันหูก็ต้อง แคะหู แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี และแคะหูบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด

แผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ สาเหตุ และการรักษาที่เหมาะสม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 12/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา