backup og meta

แผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ สาเหตุ และการรักษาที่เหมาะสม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 18/04/2022

    แผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ สาเหตุ และการรักษาที่เหมาะสม

    แผลเป็นนูน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า คีลอยด์ เริ่มต้นจากการเกิดแผล ก่อนที่จะกลายมาเป็นแผลเป็น แต่หลังจากแผลเป็นส่วนนั้นหาย เนื้อตรงส่วนที่เป็นแผลก็นูนขึ้นมา สร้างความกังวลใจให้กับผู้เป็นแผลเป็นนูนเป็นอย่างมาก เนื่องจากบางครั้งก็มีอาการเจ็บปวดตามมา ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้หยิบเอาเรื่องเกี่ยวกับแผลเป็นนูนมาฝากกัน

    ทำความรู้จักกับ แผลเป็นนูน (Keloids)

    เมื่อผิวหนังได้รับบาดเจ็บ เนื้อเยื่อแผลเป็นจะก่อตัวเหนือแผล เพื่อซ่อมแซมและป้องกันการบาดเจ็บ ในกรณีที่เนื้อเยื่อแผลเป็นเจริญเติบโตขึ้นทำให้เกิดการเติบโตที่ราบรื่นและมีสัมผัสที่แข็ง เรียกว่า คีลอยด์ (Keloids) ซึ่งคีลอยด์นี้จะสามารถมีขนาดที่ใหญ่กว่าแผลเดิมได้ บริเวณส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นหน้าอก ไหล่ ใบหู และแก้ม แต่ความเป็นจริงแล้ว แผลเป็นนูนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ และสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ ถึงแม้แผลเป็นนูนจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่พวกมันอาจสร้างความกังวลให้แก่คุณได้

    แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์นั้น มีทั้งสีชมพู แดง สีเดียวกับผิว และสีเข้มกว่าผิวรอบข้าง ซึ่งมันสามารถพัฒนามาจากความเสียหายของผิวเล็กน้อย อย่าง สิว หรือการเจาะ แต่มันสามารถแพร่กระจายเกินกว่าพื้นที่ความเสียหายเดิมของผิวได้

    ลักษณะของแผลเป็นนูน (Keloids) เป็นอย่างไร

    สำหรับลักษณะของแผลเป็นนูนนั้น จะมีลักษณะดังนี้

    • มันเงา
    • ไม่มีขน
    • ยกขึ้นเหนือผิวโดยรอบ
    • มีสีแดงหรือสีม่วงในตอนแรก ก่อนจะกลายเป็นสีน้ำตาล หรือสีซีด

    แผลเป็นเหล่านี้สามารถอยู่ได้นานหลายปี และบางครั้งมันจะไม่นูนขึ้นมาในทันที แต่จะใช้ระยะเวลาเป็นเดือนหรือหลายปี หลังจากได้รับบาดเจ็บครั้งแรก

    สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลเป็นนูน (Keloids) มีอะไรบ้าง

    การบาดเจ็บของผิวหนังเกือบทุกประเภท สามารถนำไปสู่การเป็นแผลเป็นนูนได้ ซึ้งรวมถึงสาเหตุเหล่านี้

    ประมาณ 10% ของผู้ที่มีประสบการณ์เป็นรอยแผลเป็นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง มีแนวโน้มที่จะเป็นรอยแผลเป็นนูน นอกจากนั้นคนที่มีสีผิวคล้ำก็มีแนวโน้มที่จะเป็นแผลเป็นนูนได้เช่นกัน นอกจากการบาดเจ็บของผิวหนังที่จะทำให้เกิดแผลเป็นนูนแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

  • เป็นเชื้อสายเอเชีย
  • เป็นเชื้อลายละติน
  • กำลังตั้งครรภ์
  • มีอายุน้อยกว่า 30 ปี
  • แนวโน้มทางพันธุกรรมก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการเป็นแผลเป็นนูนได้ นอกจากนั้นจากการศึกษาหนึ่งพบยีนส์ที่มีชื่อว่า เอเอชเอ็มเอเค (AHNAK) ซึ่งอาจจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเกิดของแผลเป็นนูน โดยผู้ที่มียีนส์นี้อยู่ในตัวแผลเป็นอาจมีแนวโน้มพัฒนากลายเป็นแผลเป็นนูนได้มากกว่าผู้ที่ไม่มียีนส์นี้

    ดังนั้นหากคุณรู้ว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยที่จะเกิดแผลเป็นนูน ก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการเจาะตามร่างกาย การผ่าตัดที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงรอยสักต่างๆ จะเป็นการดีที่สุด

    การรักษาแผลเป็นนูน (Keloids) มีวิธีไหนบ้าง

    การรักษาแผลเป็นนูนนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีดังนี้

    รักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

    การตัดสินใจรักษา คีลอยด์ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะแผลเป็นนูนนั้นมาจากการที่ร่างกายพยายามซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นหากตัดสินใจที่จะลบรอยแผลเป็นนูนออก ก็อาจจะต้องทำใจว่ามันอาจจะสามารถกลับมาเป็นได้อีก และบางครั้งมันอาจจะใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

    ก่อนที่จะไปพบแพทย์ ลองใช้น้ำมันที่ให้ความชุ่มชื่นซึ่งมีอยู่ทั่วไปมาลองทาที่แผลเป็นนูนดู เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่ออ่อนลง ซึ่งการทำเช่นนี้อาจช่วยให้ขนาดของแผลเป็นลดลง นอกจากนั้นแผลเป็นนูนยังอาจมีแนวโน้มที่จะหดตัวและราบเรียบอยู่ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม

    ในขั้นต้นแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด เช่น แผ่นซิลิโคน หรือหากเป็นแผลกดทับก็อาจจะใช้การฉีดโดยเฉพาะ ซึ่งจะเหมาะกับแผลเป็นนูนที่ค่อนข้างใหม่ การรักษาเหล่านี้ต้องทำบ่อยๆ และระมัดระวัง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ จึงใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนในการรักษา รวมถึงการเยียวยาอื่นๆ ที่บ้านหากเป็นแผลเป็นนูนที่เป็นมานานแล้ว

    การผ่าตัด

    ในกรณีที่แผลเป็นนูนมีขนาดใหญ่มาก หรือเป็น แผลเป็น ที่เป็นมานานแล้ว แนะนำให้ทำการผ่าตัดออก ซึ่งอัตราการหายหลังจากผ่าตัดเอาแผลเป็นนูนออกจะค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามข้อดีของการกำจัดรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ด้วยการผ่าตัดก็ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเป็นหลังผ่าตัดได้

    การรักษาด้วยความเย็น อาจเป็นวิธีการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับแผลเป็นนูน การผ่าตัดแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไครโอเทอราพี (Cryotherapy) ซึ่งกระบวนการทำงานของไครโอเทอราพี คือการแช่แข็ง เพื่อกำจัด คีลอยด์ ด้วยไนโตรเจนเหลว

    แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) หลังการผ่าตัด เพื่อลดการอักเสบและลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นแผลเป็นนูน

    การรักษาด้วยเลเซอร์

    สำหรับ แผลเป็น บางประเภท รวมถึงแผลเป็นนูนบางส่วน แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาวิธีนี้จะช่วยฟื้นฟูผิวตรงที่เป็นแผลเป็นนูน และผิวรอบข้างด้วยลำแสงที่มีความสว่างสูง เพื่อสร้างความเรียบเนียนและกระชับยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยเลเซอร์ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้แผลเป็นนูนแย่ลง โดยทำให้เกิดรอยแผลเป็นและรอยแดงเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลข้างเคียงเหล่านี้บางครั้งอาจจะดีกว่า แผลเป็น ดั้งเดิม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 18/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา