backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/02/2021

ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ในแต่ละครั้งที่คุณปัสสาวะนั้นมีเลือดปะปนออกมา ไม่ว่าจะในปริมาณเล็กน้อย หรือปริมาณมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีสัญญาณแรกเริ่มของอาการ ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) และจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาโดยด่วนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที

คำจำกัดความ

ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คืออะไร

ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คือภาวะสุขภาพบางอย่าง ที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อเนื่องจากโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เช่น โรคไต โรคมะเร็ง หากมีเลือดปนออกมาในปริมาณมากก็อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากมีเลือดปนมาในปริมาณน้อย อาจจำเป็นต้องตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ร่วมให้แน่ชัด

ปัสสาวะเป็นเลือด สามารถพบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

อาการ

อาการของปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือดนั้น มักสังเกตอาการได้จากเลือดที่ปะปนออกมาในปัสสาวะ จนอาจทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน สีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม รวมทั้งอาจมีอาการเจ็บแสบอวัยวะเพศร่วมด้วยขณะปัสสาวะ

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

นอกจากนี้ยังมียาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) ยาเฮพาริน (Heparin) และยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่อาจส่งผลให้เกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ได้อีกด้วย ดังนั้น หากคุณเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ โปรดระบุชนิดยาที่คุณรับประทานอยู่ปัจจุบันให้แพทย์ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการหาวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสม

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัสสาวะเป็นเลือด

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด มีดังต่อไปนี้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

ในการวินิจฉัยภาวะปัสสาวะเป็นเลือด แพทย์อาจเลือกวิธีการตรวจวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้วิธีทั้งหมดร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเป็นเลือด โดยใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจสอบหาเลือดที่อาจมีการปะปนออกมา
  • CT Scan เป็นการเอกซเรย์ที่เผยภาพที่อาจสามารถตรวจสอบถึงเนื้องอก หรือนิ่วในไต
  • Cystoscopy คือ การสอดท่อเล็ก ๆ เข้าผ่านท่อปัสสาวะ และอาจมีการนำตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมาตรวจร่วมด้วย

การรักษา ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

การรักษาอาจขึ้นอยู่กับอาการ หรือสภาวะของโรคที่คุณเป็นอยู่ โดยแพทย์อาจใช้วิธีการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เพื่อลดอาการติดเชื้อในช่องทางเดินปัสสาวะ การสลายนิ่วในไต ต่สำหรับผู้ป่วยบางกรณีก็อาจมีการใช้เทคนิคการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียง ESWL ในกระเพาะปัสสาวะหรือไตเข้ามาทดแทน ตามแต่ลักษณะอาการที่ผู้ป่วยเป็น

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

หากมีข้อสงสัย หรือความกังวลเกี่ยวกับการดูแลตนเอง คุณสามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้เพิ่มเติม พร้อมนำไปปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ห่างไกลจากปัญหาปัสสาวะเป็นเลือด และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/02/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา