หากที่บ้านของพวกคุณมี ผู้สูงวัยติดเตียง อาจจะต้องมีการปรับตัว รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงอะไรในหลายด้าน ๆ พร้อมทั้งหาข้อมูลการดูแลต่าง ๆ ซึ่งผู้ดูแลจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงในด้านสุขภาพจิตและร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี และมีความสุขมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วการดูแลผู้สูงวัยติดเตียง ควรทำอย่างไร มาหาคำตอบกันเลย
สิ่งที่ควรทำสำหรับ ผู้สูงวัยติดเตียง
- การดูแลสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ
-
- ทำความสะอาดร่างกาย และสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วยเป็นประจำ นั้นก็คือการเปลี่ยนแพมเพิส
- การเปลี่ยนเสื้อผ้าที่สะอาดทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งสกปรก เชื้อโรค และแบคทีเรียมารบกวนผู้ป่วยได้
- ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย
- การตัดเล็บมือ และเล็บเท้า เนื่องจากหากเล็บมือ เล็บเท้ายาวอาจทำให้เกิดบาดแผลอื่น ๆ ได้โดยไม่ได้ตั้งใจ รวมไปถึงอาจเกิดเล็บคุด และติดเชื้อได้ง่าย
- การตัดผม โกนหนวด หากผมยาวรุงรังอาจมีเหา ตัวเรือด
- การป้องกันแผลกดทับ ใช้เวลาทุก ๆ สองหรือสามชั่วโมงเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้กับผู้ป่วย แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองเล็กน้อย ให้กระตุ้นพวกเขาในการปรับตำแหน่ง โดยอาจช่วยเหลือบางเล็กน้อย
- โภชนาการที่ดี ปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยจะได้รับสารอาหาร และรับประทานอาหารที่สมดุลในแต่ละมื้อ
- สิ่งแวดล้อมที่สะดวกสบาย และไม่คับแคบ ห้องมีแสงสว่างเพียงพอ และแสงธรรมชาติสามารถส่องเข้ามาได้ ระบายอากาศในห้องเป็นครั้งคราว เพื่อกำจัดกลิ่น และอากาศที่ไม่พึ่งประสงค์
- การเอาใจใส่ การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงอาจเป็นเรื่องยาก ที่ถึงแม้จะทำด้วยความตั้งใจ แต่บางครั้งอาจรู้สึกหมดความอดทนในการดูแล ดังนั้นผู้ดูแลควรจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นทิ้งไปก่อน
สิ่งที่ไม่ควรทำสำหรับ ผู้สูงวัยติดเตียง
- การลืมยืดกล้ามเนื้อ หรือเคลื่อนไหวร่างกายให้ผู้ป่วย เพราะหากลืม แล้วผู้ป่วยนั้นนอนในท่าเดิน ๆ เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เป็นแผลกดทับได้
- การยอมแพ้ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนผู้ดูแล เพราะบางครั้งคุณอาจจะเหนื่อย หรือท้อแท้กับการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ดูแลสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อไม่ให้ตัวเองกังวลมากเกินไปจนป่วยไปอีกคน
ความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สูงวัยติดเตียง
เนื่องจากการติดเตียง สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายที่มีความเสี่ยงต่อด้านสุขภาพ ได้แก่
- แผลกดทับ เนื่องจากการนั่ง หรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดแผลกดทับได้ เมื่อน้ำหนักของร่างกายอยู่บนจุดเดียวกันนานเกินไป ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สม่ำเสมอ หรือลดลง เมื่อเวลาผ่านไป ผิวหนังและกล้ามเนื้อนั้นขาดออกซิเจนจะเริ่มตาย และเกิดการติดเชื้อ
- ปอดบวม ภาวะปอดเกิดการอักเสบ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อาจทำให้มีของเหลวสะสมในบริเวณหน้าอก ซึ่งนำไปสู่โรคปอดบวม และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ผู้ดูแลสามารถดูได้ว่าผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารมากเกินไป หรือมีอาการท้องอืดที่อาจขัดขวางการหายใจของผู้ป่วย
- ปวดหลัง การอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน สร้างแรงกดทับในกระดูกสันหลัง จึงทำให้เกิดอาการปวดหลัง
- อาการซึมเศร้า ผู้สูงวัยติดเตียงสามารถกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ เนื่องจากรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระ และสูญเสียอิสระภาพ
- ปัญหาการนอนหลับ ผู้ป่วยติดเตียงอาจมีเวลาการนอนที่ไม่สม่ำเสมอ รวมถึงไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย รวมไปถึงท่านอนที่ไม่สบาย
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อรวมทั้งกำลังกล้ามเนื้อ มีผลต่อสมรรถภาพความสามารถทางกายของผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ซึ่งมีวิธีกายบริหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เบื่ออาหาร ผู้สูงวัยติดเตียงอาจรู้สึกกระสับกระส่าย และเบื่ออาหารได้ เนื่องจากไม่มีอาการหิว เพราะไม่ได้ใช่พลังงานในการทำอะไร หรืออาจมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเข้าห้องน้ำ
- อาการท้องผูก – การเคลื่อนไหวเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ระบบย่อยอาหาร และลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสทธิภาพ แต่ผู้ป่วยติดเตียงอาจไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้ท้องผูกได้ การเพิ่มพวกไฟเบอร์ในอาหาร อาจช่วยในเรื่องกิจวัตรการเข้าห้องน้ำได้
การดูแลผู้สูงวัยติดเตียงแม้อาจจะเป็นเรื่องยาก แต่คุณก็สามารถดูแลได้ ถึงบางครั้งอาจรู้สึกท้อแท้บ้าง การดูแลผู้สูงอายุนอนติดเตียง จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งผู้ดูแลสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณหมอได้
[embed-health-tool-bmi]