โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ มักส่งผลกระทบต่อมือ เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง ซึ่งแต่ละบริเวณก็จะมีอาการที่แตกต่างกันไป แล้วโรคกระดูกสันหลังในผู้สูงอายุจะมีสาเหตุมากจากอะไร อาการเป็นแบบไหน แล้วมีวิธีรักษาอย่างไร้บาง บทความนี้มีคำตอบให้กับคุณแล้ว มาดูกันเลย
สาเหตุ โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นของคู่กัน เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกล้ามเนื้อและกระดูก อีกทั้งโรคต่าง ๆ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น อาการบาดเจ็บที่ข้อต่อ โรคอ้วน พันธุกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่เสื่อมลงของเซลล์ส่งผลให้เกิดการพัฒนาฟีโนไทป์ (Phenotype) เสื่อมสาพลงในวัยชรา เมทริกซ์ (Matrix) เกิดความเสียหาย และการก่อตัวของไกลเคชั่น (Glycation) ขั้นสุดท้ายส่งผลต่อกลไกเนื้อเยื่อข้อต่อและพัฒนากลายไปเป็นเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการ
อาการมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงปวดรุนแรง อาการโดยทั่วไปคือ
- ปวดข้อ
- บวม
- รู้สึกฝืดบริเวณข้อเข่า
- มีเสียงที่ข้อเข่าเมื่อเคลื่อนไหว
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อข้อต่อส่วนอื่น ๆ และอาจมีอาการแตกต่างกันไป
- มือ โรคข้อเข่าเสื่อมที่มืออาจมีปุ่มเล็ก ๆ เกิดขึ้นที่นิ้วมือ สามารถขยายใหญ่ขึ้นได้ มีอาการปวด แข็ง ชา
- เข่า เข่าเป็นส่วนที่ได้รับผมกระทบมากที่สุด มีอาการตึง บวม และปวด ซึ่งทำให้การเดิน ปีน ลุกนั่งทำได้ยากลำบาก
- สะโพก ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ มีอาการเจ็บปวด มีความรู้สึกฝืดที่ข้อต่อ เจ็บที่ขาหนีบ ต้นขาด้านใน ก้น อาการเหล่านี้ทำให้จำกัดการเคลื่อนไหวและการงอตัว
- กระดูกสันหลัง โรคข้อเข่าเสื่อมที่กระดูกสันหลังมักแสดงอาการตึง ปวดที่คอ หลัง หรือบริเวณส่วนล่างของกระดูกสันหลัง จนอาจทำให้เกิดแรงกดดันต่อเส้นประสาทที่กระดูกสันหลังส่งผลให้แขนขาอ่อนแรง รู้สึกเสียวซ่า ชาที่แขนและขา หรือรุนแรงไปจนถึงการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้
วิธีรักษา
เป้าหมายการรรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นการควบคุมความเจ็บปวด เยียวยา รักษาการทำงานของข้อต่อและการเคลื่อนไหว เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพให้ดีขึ้น สำหรับในผู้สูงอายุบางคนที่ได้รับการรักษาแล้วแต่ก็อาจกลับมาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้อีกครั้ง จึงมีการรักษาแบบทางเลือกซึ่งเป็นพื้นฐานของการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
- การออกกำลังกาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว การออกกำลังกายช่วยรักษากระดูกอ่อนให้แข็งแรง ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและเส้นเอ็น อีกทั้งยังป้องกันการลุกลามเพิ่มขึ้นของโรคข้อเข่าเสื่อม
- กายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่มีความพิการทางร่างกายเนื่องจากโรคข้อเข่าเสื่อม การทำกายภาพบำบัดมีประโยชน์มากต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มความยืดหยุ่น ลดความเจ็บปวด
- ผ่าตัด เมื่อการรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดหรือช่วยรักษาการทำงานของข้อต่อร่างกายได้ การผ่าตัดจึงเป็นอีกทางเลือกในการรักษา คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว ลดความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้
- ยา ประเภทยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อะซิตามิโนเฟน (Acetaminophen) ช่วยรักษาคนที่มีอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง ยาต้านการอักเสบ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs : NSAIDs) บรรเทาอาการปวดข้อเข่าเสื่อม ผลข้างเคียงอาจทำให้ปวดท้อง ปัญหาหัวใจ หลอดเลือด ตับและไต ดูล็อกซีทีน (Duloxetine) เป็นยากล่อมประสาทรักษาอาการปวดเรื้อรัง รวมถึงอาการปวดข้อเข่าเสื่อม
[embed-health-tool-bmi]