backup og meta

ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า ปัญหาวัยชราที่ไม่ควรละเลย

ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า ปัญหาวัยชราที่ไม่ควรละเลย

ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึก การกระทำ และความคิด ซึ่ง ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาที่พบบ่อย และยิ่งไปกว่านั้นภาวะซึมเศร้ายังส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย โดยปัญหาวัยชราเหล่านี้ ผู้ดูแล หรือแม้แต่ลูกหลานก็ไม่ควรละเลย

[embed-health-tool-bmi]

ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า เกี่ยวข้องกับอย่างไร

ภาวะซึมเศร้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ผู้สูงวัยอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่า ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20% ของประชากร และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ไปอ่านสาเหตุกันต่อได้ที่ด้านล่างกันเลย

สาเหตุผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า

ในผู้สูงวัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง
  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต หรือคนรัก ออกจากงานเนื่องจากเกษียณ
  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ชีวิต และวิถีชีวิตอย่างกะทันหัน ไม่ทันต่อเหตุการณ์ การไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับลูกหลาน
  • ยาบางชนิดอาจทำให้มีภาวะอารมณ์เศร้า
  • ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า

อาการเตือนของ ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า

อาการเหล่านี้ของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยและควรสังเกตให้ดี

  • ความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ โดดเดี่ยว
  • ปวดเมื่อย และมีอาการปวดเรื้อรัง
  • รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย
  • รู้สึกตัวเองไร้ค่า เป็นภาระของผู้อื่น และโทษตัวเองอยู่เสมอ
  • เริ่มมองโลกในแง่ร้าย หรือในด้านลบ
  • มีความคิดอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย
  • ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  • หมดความสนใจในกิจกรรม หรืองานอดิเรกที่เคยทำมาทั้งหมด
  • การเปลี่ยนแปลงความอยากอาหาร บางคนอาจเบื่ออาหาร หรือมีการกินอาหารมากขึ้นผิดปกติ
  • มีปัญหาการจดจ่อกับอย่างใดอย่างหนึ่ง การจำรายละเอียด รวมไปถึงการตัดสินใจด้านต่าง ๆ

ซึ่งอาจจะมีอาการอื่น ๆ ให้ผู้ที่ดูแลผู้สูงวัยสามารถสังเกตพฤติกรรมในด้านอื่น ๆ รวมด้วย

แนวทางการรักษาผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า

การรักษาเกี่ยวกับเรื่องซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ที่ผู้สูงอายุ และคนดูแลจำเป็นต้องให้ความร่วมมือซึ่งกัน และกัน

  • หลีกเลี่ยงให้ผู้สูงวัยอยู่คนเดียวลำพัง คอยพูดคุยกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้าน หรือญาติ เพื่อไม่ให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน
  • พยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม
  • ลองเปลี่ยนกิจกรรม หรืองานอดิเรกอื่น ๆ ที่ไม่เคยทำ หรือหันไปทำกิจกรรมรวมกับผู้อื่น เช่น เข้าชมรมผู้สูงอายุ
  • การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
  • พาไปสถานที่ใหม่ ๆ
  • ส่งเสริมสุขภาพทางกายด้วยการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ เพียงเล็กน้อยวันละ 30 นาที
  • การไปหาแพทย์ และปฏิบัติตามแผนการรักษาที่แพทย์กำหนด

โดยอาการซึมเศร้าของผู้สูงวัยสามารถดีขึ้นได้ หากได้รับการรักษา และการใส่ใจจากคนรอบข้าง รวมถึงการปรึกษาคุณหมออย่างสม่ำเสมอ โดยหากมีอาการแบบนี้ คุณไม่จำเป็นจะต้องเขินอายในการไปปรึกษา หรือเก็บตัวอยู่คนเดียว เพราะอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกได้และอาการอาจจะยิ่งแย่ลง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Depression and Older Adults. https://www.nia.nih.gov/health/depression-and-older-adults. Accessed July 16, 2021

Depression in Older People. https://www.webmd.com/depression/guide/depression-elderly. Accessed July 16, 2021

Older Adults and Depression. https://www.nimh.nih.gov/health/publications/older-adults-and-depression/. Accessed July 16, 2021

Depression is Not a Normal Part of Growing Older. https://www.cdc.gov/aging/depression/index.html. Accessed July 16, 2021

Mental health of older adults. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults. Accessed July 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ความเชื่อผิดๆ ที่ควรเชื่อใหม่ได้แล้ว!!

ลูกหลานควรรู้! วิธีเตรียมความพร้อม ก่อนพา ผู้สูงอายุเดินทาง ท่องเที่ยว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา