backup og meta

การนอนหลับผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

การนอนหลับผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

การนอนหลับผิดปกติ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างมาก เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับได้ และในทางกลับกันการนอนหลับที่ผิดปกติ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองด้วย

การนอนหลับผิดปกตินั้นเป็นอย่างไร

การนอนหลับผิดปกติ เป็นสภาวะที่มีผลต่อความสามารถในการนอนหลับ การนอนหลับที่ผิดปกตินั้นมีตั้งแต่ระดับผิดปกติเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง อาการโดยทั่วไปจะมีอาการง่วงในนอนตอนกลางวัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการนอนหลับผิดปกติด้วย ตัวอย่างเช่น การกรนเสียงดังซึ่งเป็นอาการของโรคหยุดหายใจขณะหลับ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรุนแรงตอนกลางคืน ซึ่งเป็นอาการของโรคลมชักขณะหลับ และการเคลื่อนไหวของขาที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการเครียดของโรคที่เกิดกับขา

การหลับผิดปกติจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่

การนอนไม่หลับอาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสภาวะของโรคหยุดหายใจขณะหลับ จากสภาวะที่ลิ้นหรือกล้ามเนื้ออื่นๆ ทำการขวางกั้นไม่ให้มีออกซิเจนเข้าสู่ปอด

คนไข้อาจจะหยุดหายใจไปหลายวินาที และในหลายกรณีอาจจะหยุดไปนานหลายนาที ทำให้สมองขาดออกซิเจน และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในร่างกายมาก

สมองจะมีปัญหาถ้าขาดออกซิเจน ร่างกายจึงต้องพยายามกระตุ้นการส่งออกซิเจนเข้าไปในเลือด โดยเพิ่มจังหวะการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต และส่งสัญญาณไปที่ศูนย์การหายใจที่อยู่ในแกนกลางสมอง ทำให้คนไข้ต้องพยายามหายใจระหว่างนอนหลับ

คนไข้ที่เป็นโรคหยุดหายใจในขณะหลับจาก จะตื่นขึ้นเนื่องจากรู้สึกไม่สบายเมื่อพยายามหายใจแล้วคอหอยยังปิดอยู่ พอตื่นขึ้นมาก็จะหายใจได้มากขึ้นก่อนที่จะผลอยหลับไปอีกครั้ง

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นนับสิบๆ ครั้งในแต่ละวัน ซึ่งส่งผลให้มีระดับความดันโลหิตสูงในตอนกลางคืน และหัวใจเต้นเร็วขึ้น จนทำให้เกิดความเครียดเรื้อรังในระบบหัวใจ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเส้นเลือดสมองตีบได้

จะวินิจฉัยอาการนอนหลับผิดปกติได้อย่างไร

หากคุณมีปัญหาเรื่องการนอนหลับมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยหยุดยั้งอาการปวดศีรษะ อาการเหนื่อยระหว่างวัน และบางครั้งอาจคุกคามถึงชีวิตได้

บางครั้งก็จำเป็นบันทึกการทำงานของร่างกายในขณะที่คุณนอนหลับด้วย เพื่อตรวจการเคลื่อนไหวของสายตา (การตรวจคลื่นไฟฟ้าของตา) คลื่นสมอง (การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง) จังหวะการเต้นของหัวใจ (คลื่นไฟฟ้าของหัวใจ) การทำงานของกล้ามเนื้อ (การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ) การไหลเวียนของอากาศผ่านจมูกและปาก การหายใจ และระดับออกซิเจนในเลือด

ซึ่งผลการตรวจเหล่านั้นจะบอกแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาได้ว่า สมองในช่วงใดของการนอนหลับมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยอิสระหรือไม่ และรบกวนการนอนหลับหรือเปล่า ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวของขาในโรคที่เกี่ยวกับขา และรูปแบบการหายใจเป็นปกติหรือไม่ในระหว่างนอนหลับ

นอกจากนี้อาจทำการศึกษาด้วยการบันทึกภาพวิดีโอ และบันทึกเสียงเอาไว้ในขณะนอนหลับ  ซึ่งจะมีประโยชน์ในการแยกแยะสาเหตุของโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ดีขึ้น

จะรักษาอาการนอนหลับผิดปกติอย่างไร

อาจต้องใช้เครื่องอัดแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง ซึ่งจะมีประโยชน์ในการจัดการกับการอุดตันต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจชั่วขณะในตอนกลางคืน ซึ่งในหลายๆกรณี อาจทำการรักษาได้โดยการผ่าตัด แต่ควรทำการตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้จากการผ่าตัดนั้น

จะป้องกันอาการนอนหลับผิดปกติได้อย่างไร

นี่คือเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการนอนหลับผิดปกติได้

  • ลดน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยากล่อมประสาทก่อนนอน
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ควรยกศีรษะให้สูงขึ้นในขณะนอนหลับ

 

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือรักษาโรคแต่อย่างใด ***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Culebras, Antonio. “Sleep related breathing disorders and stroke.” UpToDate. Accessed: August 2009.

EYAL SHAHAR, CORALYN W. WHITNEY, SUSAN REDLINE, ELISA T. LEE, ANNE B. NEWMAN, F. JAVIER NIETO, GEORGE T. O’CONNOR, LORI L. BOLAND, JOSEPH E. SCHWARTZ, and JONATHAN M. SAMET; Sleep-disordered Breathing and Cardiovascular Disease Cross-sectional Results of the Sleep Heart Health Study; Am. J. Respir. Crit. Care Med., Volume 163, Number 1, January 2001, 19-25

Yaggi HK; Concato J; Kernan WN; Lichtman JH; Brass LM; Mohsenin V. “Obstructive Sleep Apnea as a Risk Factor for Stroke and Death.” N Engl J Med 2005 Nov 10;353(19):2034-2041.

How Much He Sleeps May Affect His Stroke Risk. https://www.webmd.com/stroke/news/20181003/how-much-he-sleeps-may-affect-his-stroke-risk. Accessed 29 August 2019.

Many Strokes Occur in Sleep, Preventing Treatment. https://www.webmd.com/stroke/news/20110509/many-strokes-occur-in-sleep-preventing-treatment#1. Accessed 29 August 2019.

Sleep and Stroke. https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/STROKEAHA.118.023553. Accessed 29 August 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/07/2020

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

การวินิจฉัยพฤติกรรมการนอนหลับ การทดสอบสำหรับผู้มีปัญหาการนอนหลับ

สัญญาณเตือนเริ่มแรกของโรคหลอดเลือดสมอง ที่คุณไม่ควรเพิกเฉย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา