backup og meta

รู้รึเปล่า นอนคว่ำ อันตรายต่อสุขภาพ มากกว่าที่คิด

เชื่อว่าแต่ละคนล้วนแล้วแต่ก็มีท่านอนประจำ ที่นอนแล้วหลับสบายเป็นของตัวเองกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นท่านอนตะแคง ท่านอนหงาย หรือท่านอนคว่ำ แต่คุณรู้หรือเปล่าว่า ท่านอนคว่ำที่หลายๆ คนอาจจะชอบนอนนี้ จริงๆ แล้วอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่ทุกคนคิด วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอ อันตรายจากการ นอนคว่ำ ให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ

นอนคว่ำ ส่งผลอะไรต่อร่างกาย

การหายใจ

หลายคนน่าจะสังเกตเห็นได้อยู่แล้วว่า ท่านอนคว่ำนั้นเป็นท่านอนที่ทำให้เราหายใจได้ไม่สะดวกเอาเสียเลย เนื่องจากคุณได้นอนกดทับอยู่บนแกนกลางของกล้ามเนื้อกระบังลม ที่อยู่ตรงกลางระหว่างหน้าอกและหน้าท้องของคุณ ทำให้คุณไม่สามารถสูดลมหายใจเข้าสู่ปอดได้อย่างเต็มที่ ทำให้หายใจลำบาก และรู้สึกอึดอัดมากขึ้น

นอกจากนี้ การที่เราหายใจไม่สะดวกนั้น ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย มีงานวิจัยที่พบว่า การหายใจตื้นๆ อาจส่งผลให้ระดับความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ท่านอนคว่ำที่ไปกดทับปอดและกะบังลมจนทำให้เราหายใจไม่สะดวกนั้น จึงอาจทำให้เราเกิดความเครียดมากขึ้น และส่งผลให้นอนหลับได้ยากขึ้นด้วยนั่นเอง

กระดูกสันหลัง

มีงานวิจัยที่พบว่า ท่านอนคว่ำนั้นเป็นท่านอนที่ไม่ดีต่อสุขภาพของกระดูกสันหลังเป็นอย่างมาก เนื่องจากการนอนคว่ำนั้นจะทำให้เกิดแรงทับอย่างมากที่กระดูกสันหลัง ทำให้ไม่สามารถอยู่ในท่าที่ถูกต้องและเหมาะสมกับรูปร่างของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง ช่วงกระดูกเชิงกราน นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการเหน็บชา และปวดเมื่อยตามตัวอีกด้วย

ลำคอ

เช่นเดียวกันกับกระดูกสันหลัง ท่านอนคว่ำนั้นจัดได้ว่าเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมต่อกระดูกสันหลัง และบริเวณคอ เวลาที่เราต้องนอนคว่ำนั้น ใบหน้าจะหันเข้าสู่ที่นอน ทำให้เราจำเป็นต้องหันหน้าออกไปทางอื่น เพราะไม่อาจหายใจได้ การที่เรานอนอยู่ในท่าหันคออย่างนี้นานๆ จะทำให้กระดูกสันหลังและศีรษะไม่อยู่ในแนวเดียวกัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ และอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงได้ หากยังคงนอนคว่ำอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ

คนท้อง

ท่านอนคว่ำนั้นเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการลงน้ำหนักตัวกดทับไปยังบริเวณครรภ์แล้ว ขนาดของครรภ์ที่ใหญ่นั้น จะทำให้เรานอนไม่สบาย และยังอาจเพิ่มแรงดึงกระดูกสันหลังให้กดทับลงมา ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังแบบเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป ขนาดของครรภ์มักจะใหญ่มากเกินไป ทำให้ไม่สมควรที่จะนอนในท่านอนคว่ำ หรือในบางครั้งอาจจะหมายถึงท่านอนหงายอีกด้วย ดังนั้น ท่านอนที่เหมาะสมกับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่สุด จึงเป็นท่านอนตะแคงนั่นเอง

เทคนิคดีๆ หากจำเป็นต้องนอนคว่ำ

  • ใช้หมอนเตี้ยๆ พยายามเลือกหมอนเตี้ยๆ แบนๆ หรือไม่หนุนหมอนเลย เพื่อทำให้ระยะห่างระหว่างลำคอกับที่นอนนั้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • เลือกที่นอนแข็งๆ ที่นอนนุ่มๆ นั้นจะทำให้ตัวของเรายุบลงไปในที่นอน และยิ่งทำให้รู้สึกอึดอัด และหายใจลำบากมากขึ้น ดังนั้นจึงควรพยายามเลือกที่นอนแข็งๆ ที่ไม่ทำให้ตัวเราจมไปกับที่นอน
  • รองหมอน ควรหาหมอนมารองบริเวณสะโพก เพื่อช่วยยกให้กระดูกสันหลังนั้นกลับมาอยู่ในระนาบเดียวกัน และอยู่ในท่าทางที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น จะช่วยลดแรงกดทับต่อกระดูกสันหลังลงได้ นอกจากนี้ คุณผู้หญิงอาจจะหาหมอนมากอดหนุนในบริเวณหน้าอก เพื่อช่วยลดแรงกดทับลงไปที่เต้านม และช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

This Position May Be the Cause of All Your Back and Gut Pains https://www.healthline.com/health/reading-on-stomach#increasing-posture-issues

How These 3 Sleep Positions Affect Your Gut Health https://www.healthline.com/health/healthy-sleep/sleep-effects-digestion

3 Reasons Why Sleeping On Your Stomach Is Bad for You https://www.sleepadvisor.org/reasons-why-sleeping-on-stomach-is-bad/

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/02/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนบนพื้น ดีต่อสุขภาพหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพกันแน่

เคล็ดลับน่ารู้ ท่านอน แต่ละท่า มีข้อดีข้อด้อยอย่างไรกัน?


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไข 05/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา