backup og meta

ตื่นเช้ามา อยู่ ๆ เสียงแหบ เสียงหาย รับมืออย่างไรดี

ตื่นเช้ามา อยู่ ๆ เสียงแหบ เสียงหาย รับมืออย่างไรดี

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยมีอาการตื่นเช้ามาแล้ว เสียงแหบ เสียงหาย อย่างแน่นอน โดยเฉพาะนักร้อง ที่มักประสบกับปัญหานี้บ่อย ๆ หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจแรงร้ายถึงขั้นกล่องเสียงอักเสบ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการ และวิธีการป้องกันอาการเสียงแหบเสียงหาย

[embed-health-tool-bmi]

ทำความรู้จัก อาการเสียงแหบ เสียงหาย  (Hoarseness)

อาการเสียงแหบ เสียงหาย  (Hoarseness) โดยทั่วไปเกิดจากการที่เส้นเสียงเกิดการระคายเคืองหรือเกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ส่งผลให้สายเส้นเสียงบวม เมื่อมีการเปล่งเสียงออกมากระทบกับอากาศ เสียงจึงแหบไปจากปกติ

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการเสียงแหบเป็นระยะเวลานานกว่า 10 วัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษา

อยู่ ๆ เสียงแหบ เสียงหาย เกิดจากสาเหตุอะไรกันนะ

อาการเสียงแหบ เสียงหายนั้น โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบของกล่องเสียง รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ 

เคล็ดลับป้องกันอาการเสียงแหบ เสียงหายด้วยตัวคุณเอง

อาการเสียงแหบ เสียงหาย สามารถรักษาได้โดยการพักเสียงหรือปรับเปลี่ยนวิธีใช้เสียง โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสัมผัสกับควันบุหรี่ รวมถึงวิธีการป้องกันดังต่อไปนี้ 

  • ดื่มน้ำมาก ๆ น้ำจะช่วยเจือจางเมือกในลำคอและเพิ่มความชุ่มชื่น
  • พักเสียง หลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือตะโกน อย่ากระซิบเพราะจะทำให้เส้นเสียงตึงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการล้างคอ เพราะจะยิ่งส่งผลให้เสียงสั่นผิดปกติและอาจทำให้เกิดอาการบวมได้
  • รักษาสุขอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้หวัด
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่จะยิ่งส่งผลให้คอแห้ง และทำให้เส้นเสียงเกิดการระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารรสจัดอาจทำให้กรดในกระเพาะอาหารลงไปในลำคอหรือหลอดอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเสียดท้องหรือโรคกรดไหลย้อน 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hoarseness: Frequently Asked Questions. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17105-hoarseness-frequently-asked-questions. Accessed January 25, 2020

Laryngitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/laryngitis/symptoms-causes/syc-20374262. Accessed January 25, 2020

Hoarseness. https://www.medicinenet.com/hoarseness/article.htm. Accessed January 25, 2020

Hoarseness. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/hoarseness#:~:text=Hoarseness%20is%20a%20condition%20marked,and%20nodules%2C%20among%20other%20things. Accessed August 29, 2023.

Hoarseness. https://www.nidcd.nih.gov/health/hoarseness. Accessed August 29, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/08/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

กล่องเสียงอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

รู้หรือเปล่า กระแอมบ่อย ๆ อาจทำร้ายกล่องเสียงของเราไม่รู้ตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา