backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/12/2020

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นความผิดปกติที่มีการอักเสบเรื้อรัง ที่สามารถส่งผลมากกว่าเพียงข้อต่อ แต่สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบร่างกายได้มากมาย

คำจำกัดความ

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ คืออะไร

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรังที่สามารถส่งผลมากกว่าเพียงข้อต่อ ในผู้ป่วยบางราย ภาวะนี้สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบร่างกายได้มากมาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ หลอดเลือด

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) จัดเป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง หรือโรคภูมิต้านตนเอง หรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง (autoimmune disorder) เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันต้านเนื่อเยื่อในร่างกายของคุณ เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ข้ออักเสบรูมาตอยด์แตกต่างจากความเสียหายที่เกิดจากการเสื่อมของข้อเสื่อม (osteoarthritis)

เนื่องจากข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นส่งผลต่อแนวเนื้อเยื่อข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวดบวม ที่ค่อยๆ ทำให้เกิดกระดูกผุ (bone erosion) และข้อต่อผิดรูป (joint deformity)

การอักเสบที่สัมพันธ์กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สามารถส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย ในปัจจุบันมีการคิดค้นยาชนิดใหม่ๆ ที่ทำให้สามารถรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ผลดีขึ้นมาก แต่ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็ยังเสี่ยงพิการได้

ข้ออักเสบรูมาตอยด์พบบ่อยแค่ไหน

ข้ออักเสบรูมาตอยด์พบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการทั่วไปของข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่

  • ข้อต่อกดเจ็บ อุ่น และบวม
  • ปวดแน่นที่ข้อต่อ ซึ่งมักมีอาการแย่ลงในตอนเช้า และหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
  • อ่อนเพลีย มีไข้ และน้ำหนัดลด
  • ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในระยะเริ่มแรกมักส่งผลต่อข้อต่อขนาดเล็กกว่าก่อน โดยเฉพาะ ข้อต่อที่เชื่อมนิ้วมือกับมือและเชื่อมนิ้วเท้ากับเท้า จากนั้น อาการต่างๆ มักแพร่กระจายไปยังข้อมือ เข่า ข้อเท้า ศอก สะโพก และไหล่ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ อาการต่างๆ เกิดขึ้นในข้อต่อเดียวกันที่ร่างกายทั้งสองด้าน

    ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังมีสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อต่อด้วย

    ข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถส่งผลต่อโครงสร้างต่างๆ ที่ไม่ใช่ข้อต่อ ซึ่งได้แก่

    • ผิวหนัง
    • ดวงตา
    • ปอด
    • หัวใจ
    • ไต
    • ต่อมน้ำลาย
    • เนื้อเยื่อประสาท
    • ไขกระดูก
    • หลอดเลือด
    • สัญญาณเตือนและอาการต่างๆ ของข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจหลากหลายแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน และอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ ระยะที่เกิดโรคกำเริบ (flare) จะเกิดขึ้นสลับกับระยะโรคทุเลา (remission) เมื่อเวลาผ่านไป ข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถทำให้ข้อต่อผิดรูปและเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมได้

      สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

      ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

      หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น เช่น ไม่สบาย อาการบวมเรื้อรังที่ข้อต่อ โปรดปรึกษาแพทย์

      ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

      สาเหตุ

      สาเหตุของข้ออักเสบรูมาตอยด์

      ข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณต้านไขข้อ (synovium) ซึ่งเป็นแนวเยื่อที่ล้อมรอบข้อต่อ การอักเสบที่เกิดขึ้นทำให้ไขข้อหนาขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดสามารถทำลายกระดูกอ่อน และกระดูกภายในข้อต่อได้ เมื่อเส้นเอ็นที่ยึดข้อต่อเข้าด้วยกันอ่อนแอลงและยืดตัวออก ข้อต่อจะค่อยๆ สูญเสียรูปร่างและการวางแนว

      ปัจจจุบัน แพทย์ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะดังกล่าว แม้องค์ประกอบทางพันธุกรรมจะมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่ยีนก็ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของโรคนี้ แต่อาจทำให้คุณความไวต่อปัจจัยต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อมได้ เช่น การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด ที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคนี้

      ปัจจัยเสี่ยง

      ปัจจัยเสี่ยงของข้ออักเสบรูมาตอยด์

      มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น

      • เพศ ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มากกว่าผู้ชาย
      • อายุ ข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักพบในคนระหว่างช่วงอายุ 40 และ 60 ปี
      • ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครอบครัวเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ คุณอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น
      • การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยเฉพาะ หากคุณมีความโน้มเอียทางพันธุกรรม (genetic predisposition) ของโรคนี้อยู่แล้ว อีกทั้งการสูบบุหรี่ยังทำให้โรครุนแรงขึ้นได้ด้วย
      • การสัมผัสสิ่งแวดล้อม แม้จะยังไม่มีการยืนยันแน่ชัด แต่การสัมผัสสิ่งแวดล้อมบางประการ เช่น แร่ใยหิน (asbestos) หรือซิลิกา (silica) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ผู้ทำงานกู้ภัยที่ได้รับฝุ่นจากการถล่มของตึก World Trade Center มีความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune diseases) เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ มากขึ้น
      • ภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) หรือโรคอ้วน (obese) เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้เมื่อมีอายุ 55 ปีหรือต่ำกว่า
      • การวินิจฉัยและการรักษา

        ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

        การวินิจฉัยข้ออักเสบรูมาตอยด์

        การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในระยะเริ่มแรกนั้นทำได้ยาก เนื่องจากสัญญาณเตือนและอาการเริ่มแรกคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ แต่แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยได้ด้วยวิธีการเหล่านี้

        • การตรวจร่างกาย : ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์ที่ทำการรักษาจะตรวจข้อต่อเพื่อหาอาการบวม รอยแดง และความอุ่น แพทย์ยังอาจตรวจปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลัน (reflexes) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย
        • การตรวจเลือด : ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์มักมีอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง (erythrocyte sedimentation rate หรือ ESR หรือ sed rate) หรือซี-รีแอฟทีฟ โปรตีน (C-reactive protein หรือ CRP) เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจบ่งชี้ว่ามีอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย การตรวจเลือดอื่นๆ ที่พบได้ทั่วไปเป็นการตรวจหาปัจจัยเกี่ยวกับรูมาตอยด์ (rheumatoid factor) และแอนติบอดี anti-cyclic citrullinated peptide (anti-CCP)
        • การตรวจโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ : แพทย์อาจแนะนำการตรวจเอกซเรย์เพื่อช่วยติดตามการแพร่กระจายของข้ออักเสบรูมาตอยด์ในข้อต่อเมื่อเวลาผ่านไป การตรวจ MRI และการตรวจอัลตราซาวด์สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยความรุนแรงของโรคในร่างกายได้

        การรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์

        โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เผยว่า การรักษาแต่เนิ่นๆ โดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์มากที่เรียกว่ายากลุ่ม disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs) อาจช่วยให้อาการต่างๆ ทุเลาลงได้มากขึ้น

        ประเภทต่างๆ ของยาที่แพทย์แนะนำจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และระยะเวลาที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยาเหล่านั้น เช่น

        • ยากลุ่มต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) สามารถบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ ยา NSAIDs ที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป ได้แก่ ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) และยานาพร็อกซินโซเดียม (naproxen sodium) (Aleve) ยากลุ่ม NSAIDs ที่มีฤทธิ์มากขึ้นจะต้องใช้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
        • ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid medications) เช่น ยาเพรดนิโซน (prednisone) ช่วยลดการอักเสบ อาการปวด และชะลอความเสียหายของข้อต่อ ผลข้างเคียงอาจได้แก่ กระดูกบาง น้ำหนักมากขึ้น และเบาหวาน แพทย์มักสั่งยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ประเภทหนึ่งเพื่อบรรเทาอาการเฉียบพลัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค่อยๆ ลดการใช้ยาลง
        • ยากลุ่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Disease-modifying antirheumatic drugs หรือ DMARDs) ยาเหล่านี้สามารถชะลอการลุกลามของข้ออักเสบรูมาตอยด์และป้องกันข้อต่อและเนื้อเยื่ออื่นๆ จากความเสียหายถาวร ยากลุ่ม DMARDs ที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ ยาเมโธเทร็กเซท (methotrexate) ยาเลฟลูโนไมด์ (leflunomide) ยาไฮดร็อกซีคลอโรควีน (hydroxychloroquine) และยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine)
        • ยากลุ่มชีววัตถุ (biological DMARDs) สิ่งที่ทำให้เกิดโรคทางชีววิทยา (Biologic agents) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสารต่างๆ ซึ่งสามารถกระตุ้นการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อการอักเสบ ติดเชื้อ และโรค (biologic response modifiers) ยากลุ่มชีววัตถุสามารถมุ่งเฉพาะที่ส่วนต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกันที่กระตุ้นการอักเสบจนทำให้เกิดความเสียหายที่ข้อต่อและเนื้อเยื่อ ยากลุ่ม Biologic DMARDs มักได้ผลในการรักษามากที่สุดเมื่อใช้ร่วมกับยา nonbiologic DMARD ประเภทหนึ่ง เช่น ยาเมโธเทร็กเซท (methotrexate)

        แพทย์ที่ทำการรักษาอาจส่งต่อคุณไปยังนักกายภาพบำบัดหรือนักกิจกรรมบำบัดที่สามารถสอนคุณเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ข้อต่อยืดหยุ่น นักบำบัดยังอาจแนะนำวิธีการใหม่ในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ซึ่งจะทำให้ข้อต่อทำงานได้ง่ายขึ้น หรือให้คุณใช้เครื่องมือที่ช่วยลดแรงตึงที่ข้อต่อที่มีอาการปวดเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น

        หากการใช้ยาไม่สามารถป้องกันหรือชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อต่อได้ คุณและแพทย์ที่ทำการรักษาอาจต้องพิจารณาการรักษาข้อต่อที่บาดเจ็บด้วยการผ่าตัด ซึ่งอาจช่วยให้คุณกลับมาใช้ข้อต่อได้อีก

        นอกจากนี้ ยังสามารถลดอาการปวดและรักษาภาวะข้อต่อผิดรูปได้อีกด้วย การผ่าตัดข้ออักเสบรูมาตอยด์เกี่ยวข้องกับ หัตถการดังต่อไปนี้หนึ่งประการหรือมากกว่า

        • การผ่าตัดไขข้อ (Synovectomy) การผ่าตัดนำไขข้อที่อักเสบออกไป สามารถทำได้ที่เข่า ข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ และสะโพก
        • การรักษาเส้นเอ็น การอักเสบและข้อต่อบาดเจ็บอาจทำให้เส้นเอ็นโดยรอบข้อต่อหลวมหรือแตก ศัลยแพทย์อาจสามารถรักษาเส้นเอ็นโดยรอบข้อต่อได้
        • การผ่าตัดรวมข้อต่อ (Joint fusion) แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดรวมข้อต่อ เพื่อทำให้ข้อต่อมั่นคงหรือจัดแนวใหม่ และเพื่อรักษาข้อต่อเมื่อการเปลี่ยนข้อต่อไม่ได้ผล
        • การเปลี่ยนข้อต่อใหม่ทั้งหมด (Total joint replacement) ในระหว่างการเปลี่ยนข้อต่อใหม่ทั้งหมด ศัลยแพทย์จะนำส่วนของข้อต่อที่เสียหายออกไป แล้วใส่ข้อต่อเทียม (prosthesis) ที่ทำจากโลหะและพลาสติกแทน

        การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

        การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับข้ออักเสบรูมาตอยด์

        การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้

        • น้ำมันปลา การศึกษาวิจัยเบื้องต้นบางชิ้นพบว่า อาหารเสริมน้ำมันปลาอาจลดอาการปวดและอาการปวดแน่นจากข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ ผลข้างเคียง ได้แก่ คลื่นไส้ เรอ และมีรสชาติปลาในปาก น้ำมันปลาสามารถส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาต่างๆ ได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
        • น้ำมันจากพืช เมล็ดอีฟนิ่งพริมโรส โบราจ และแบล็คเคอแรนท์ ประกอบด้วยกรดไขมันประเภทหนึ่งที่ช่วยเกี่ยวกับอาการปวดและอาการปวดแน่นในตอนเช้าจากข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ ผลข้างเคียง ได้แก่ คลื่นไส้ ท้องร่วง และมีแก๊สในกระเพาะอาหาร น้ำมันจากพืชบางประเภทสามารถทำให้ตับเสียหาย หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาต่างๆ ได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
        • การฝึกไทชิหรือไทเก๊ก การรักษาด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายนี้ เป็นการออกกำลังกายและการยืดหยุ่นร่างกายแบบเบาๆ ร่วมกับการหายใจลึก คนจำนวนมากมีการฝึกไทชิเพื่อบรรเทาความเครียดในชีวิต ผลการศึกษาบางชิ้นพบว่า การฝึกไทชิอาจช่วยลดอาการปวดจากข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ การฝึกไทชิมีความปลอดภัย แต่ก็ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และห้ามเคลื่อนไหวใดๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดได้

        หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

        หมายเหตุ

        Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

        ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

        ทีม Hello คุณหมอ


        เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/12/2020

        ad iconโฆษณา

        คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

        ad iconโฆษณา
        ad iconโฆษณา