โรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบ เป็นการอักเสบที่ข้อต่อ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่ข้อต่อข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ประเภทของข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ ข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์ หลายคนอาจคิดว่าโรคนี้พบได้เฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ความจริงแล้ว โรคนี้สามารถพบได้ในคนทุกวัย แม้กระทั่งในเด็ก

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคข้ออักเสบ

โรคเก๊าท์ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

โรคเก๊าท์ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยมีสาเหตุมาจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ทำให้บางคนอาจมีข้อสงสัยว่า โรคเก๊าท์ อาการ เป็นอย่างไร โดยทั่วไป โรคเก๊าท์อาจทำให้มีอาการปวดข้อต่อรุนแรง ความรู้สึกไม่สบาย ข้อต่ออักเสบ แดง และข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด การรักษาอย่างเหมาะสมจึงอาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคเก๊าท์ได้ [embed-health-tool-heart-rate] โรคเก๊าท์ คืออะไร โรคเก๊าท์ คือ โรคข้ออักเสบที่เกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือดสูง ส่งผลให้มีอาการปวด บวม แดง และอาจมีอากการเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรงเมื่อกดข้อต่อหนึ่งข้อหรือหลายข้อ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเข่า ข้อเท้า เท้า ข้อมือ และข้อศอก โรคเก๊าท์ อาการ สัญญาณและอาการของโรคเก๊าท์มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และมักเกิดขึ้นในตอนกลางคืน โดยอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ ปวดข้ออย่างเฉียบพลันและรุนแรง อาการปวดข้อต่อจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรงที่สุดภายใน 4-12 ชั่วโมงแรกหลังจากเริ่มมีอาการปวด รู้สึกไม่สบายบริเวณข้อต่อ เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงค่อย ๆ บรรเทาลง อาจยังคงมีความรู้สึกไม่สบายบริเวณข้อต่ออยู่ ซึ่งอาจคงอยู่ได้ตั้งแต่ 2-3 วัน ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ อักเสบ บวม และแดง ข้อต่อที่อักเสบจะมีอาการบวม เจ็บปวด ไวต่อความรู้สึก อุ่น และแดง ข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด ในขณะที่โรคเก๊าท์อาการเริบอาจจะไม่สามารถขยับข้อต่อได้อย่างอิสระ หากมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรง มีไข้ […]

สำรวจ โรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบ

ท่าบริหารนิ้วมือ 7 ท่าง่าย ๆ ช่วยบรรเทาปวด แถมมือและนิ้วยังแข็งแรงขึ้นด้วย

การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ต้องเคาะแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แทบจะทั้งวัน รวมถึงการจิ้มจอโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตกันอย่างไม่หยุดหย่อน ส่งผลให้นิ้วมือของเราทำงานหนักแทบจะไม่ได้พักกันเลย และเมื่อเป็นแบบนี้บ่อย ๆ เข้า ก็ย่อมทำให้หลายคนเกิดปัญหาปวดเมื่อยนิ้วมือ นิ้วล็อค ขยับข้อมือไม่ค่อยจะได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดปัญหาปวดนิ้ว ปวดมือเรื้อรังได้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยมี 7 ท่าบริหารนิ้วมือ ง่าย ๆ มาฝากทุกคน รับรองว่าทำแล้ว อาการปวดจะทุเลา แถมยังช่วยให้บริเวณฝ่ามือ ข้อมือ และนิ้วมือของคุณแข็งแรงขึ้นด้วย 7 ท่าบริหารนิ้วมือ ง่าย ๆ ก่อนจะไปเริ่มทำท่าบริหารนิ้วมือ หากคุณรู้สึกปวดนิ้วมาก หรือขยับนิ้วไม่ไหว ลองวอร์มอัพนิ้วด้วยการแช่มือและนิ้วในน้ำอุ่น หรือประคบด้วยแผ่นความร้อน หรือผ้าชุบน้ำอุ่น อย่างน้อย 5-10 นาทีก่อนออกกำลังกาย วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถขยับนิ้วมือได้ดีขึ้น 1. ท่ายืดกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ (กล้ามเนื้อในการขยับนิ้ว) วิธีทำ แบมือ กางนิ้ว วางมือแนบบนพื้นราบ เช่น บนโต๊ะ ใช้นิ้วมืออีกข้างดึงนิ้วแต่ละนิ้วขึ้นช้า ๆ ให้ได้สูงที่สุด โดยที่ไม่รู้สึกตึงหรือเจ็บ และนิ้วอื่นยังติดอยู่กับพื้น ค้างไว้ 2-3 วินาที แล้วค่อย […]


โรคข้ออักเสบ

อาการปวดข้อศอก เรื่องเล็กๆ แต่มาพร้อมกับอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

คุณผู้อ่านเคยมีอาการ ปวดข้อศอก กันบ้างหรือไม่ อาการปวดข้อศอกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยตั้งแต่สาเหตุเล็กน้อยไปจนถึงสาเหตุที่รุนแรงอย่างอุบัติเหตุ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ อาการปวดข้อศอก ให้มากขึ้นกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ อาการปวดข้อศอก เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการปวดข้อศอก (Elbow pain) นั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การอักเสบหรือเกิดอาการตึงที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อน หรือบริเวณเส้นเอ็น แต่อาการเช่นนี้เป็นเพียงไม่นาน หากมีการดูแลในเบื้องต้นก็สามารถที่จะหายจากอาการปวดข้อศอกได้ นอกเหนือจากการอักเสบต่างๆ อาการปวดข้อศอกยังอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรงเช่น ตกต้นไม้ ตกบันได ประสบอุบัติเหตุรถเฉี่ยว รถชน ก็สามารถที่จะส่งผลให้เกิดอาการไหล่หลุด ข้อศอกหลุด ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป นอกจากนี้อาการปวดข้อศอกก็ยังสามารถเกิดจากการโรคที่เกี่ยวกับไขข้อได้เหมือนกัน เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคข้อเสื่อม เป็นต้น ปวดข้อศอก อันตรายหรือไม่ เราไม่สามารถพูดได้ว่า อาการปวดข้อศอก ไม่อันตราย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อศอก อาการปวดข้อศอกโดยทั่วไปที่เกิดจากความเมื่อยล้า อาการตึง หรืออาการอักเสบที่บริเวณเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นของข้อศอก สามารถที่จะดีขึ้นได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน แต่ถ้าหากเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง จนเกิดอาการบวม ฟกช้ำ มีไข้ หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บที่ว่าด้วยเรื่องของข้อต่อ ข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบ ก็เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายในระยะยาวและจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาจากคุณหมอและแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ วิธีการรักษาอาการปวดข้อศอก วิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มี อาการปวดข้อศอก จำเป็นที่จะต้องรักษาตามสาเหตุและอาการที่เป็น เช่น หากเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรืออุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง อาจสามารถปฐมพยาบาลในขั้นต้นด้วยการประคบน้ำแข็งหรือประคบเย็น และอาจมีการรับประทานยาที่ลดการเจ็บปวดและอาการอักเสบ รวมถึงการใช้ยาทาภายนอกร่วมด้วย อาจมีการเปลี่ยนแปลงท่าทางในการใช้งานช่วงข้อศอก […]


โรคข้ออักเสบ

5 ท่าบริหารหัวเข่า แก้อาการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน

เคยไหมเวลานั่งทำงานติดต่อกันนานหลายชั่วโมง พอจะลุกขึ้นแต่ละทีก็ทำให้ร่างกายของเราปวดเมื่อยไปหมด โดยเฉพาะหัวเข่าของคุณที่ถูกงอค้างไว้ขณะอยู่ในท่านั่งนานจนเกินไปไม่มีการลุกออกมายืดเส้นยืดสายบ้าง บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงขอนำ ท่าบริหารหัวเข่า ง่าย ๆที่สามารถทำได้ทุกที่ยามว่าง มาฝากทุกคนกันค่ะ ท่าบริหารหัวเข่า บรรเทาอาการปวดเมื่อย หากหัวเข่าของคุณได้รับการงอจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานอาจส่งผลให้ เอ็นเชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูกคุณเกิดภาวะบวม หรืออักเสบได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลด้านสุขภาพในระยะยาวจนทำให้คุณเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ดังนั้น การสละเวลาเล็กน้อยออกมาบริหารร่างกายบ้างคงจะได้ประโยชน์ไม่ใช่น้อย ซึ่งมี 5 ท่าง่าย ๆ ที่คุณสามารถปฏิบัติตาม ท่าบริหารหัวเข่า บรรเทาอาการปวดเมื่อย ที่เรานำมาฝากกัน ดังนี้ ท่าดันกำแพง การบริหารท่านี้มีเป้าหมายที่จะให้กล้ามเนื้อส่วนล่างของคุณ โดยเฉพาะบริเวณหัวเข่า และน่องได้รู้สึกคลายเส้นลง แรกเริ่มให้ยืนหันหน้าเข้ากำแพง และยืดแขนทั้ง 2 ข้าง ออกมาด้านหน้าพร้อมกับหงายมือตั้งขึ้นเตรียมดันกำแพง หรือผนังบ้านที่มีพื้นผิวเรียบ นำขา และเท้าข้างที่ถนัดออกมาด้านหน้าในก้าวที่ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับย่อเข่าโน้มตัวไปทางด้านหน้ากำแพง ขั้นตอนนี้ให้คุณดันตัวเข้า-ออกเล็กน้อยให้ครบ 30 วินาที ทุก ๆ ครั้งที่ครบ 30 วินาที ให้คุณสลับเปลี่ยนขาอีกข้างหนึ่งในท่าทาง และทำตามขั้นตอนการบริหารเดียวกัน ท่างอขาไปด้านหลัง ในท่านี้นอกจากคุณจะได้บริหารหัวเข่าแล้ว ยังอาจได้กล้ามเนื้อส่วนสะโพกที่แข็งแรงตามมาอีกด้วย โดยเริ่มจากขั้นตอนดังต่อไปนี้ ยืนตัวตรง และนำมือเท้าเอวไว้เพื่อสร้างการทรงตัว พร้อมกับแยกเท้า หรือหัวเข่าให้ห่างกันเล็กน้อย ประมาณ 1-2 นิ้ว ยกขาด้านในด้านหนึ่งที่คุณถนัด งอขึ้นไปด้านหลังจนสุด และค้างไว้ประมาณ […]


โรคข้ออักเสบ

รู้สึกปวดไหล่มาก ไม่ใช่เพราะมีใครมาขี่คอ แต่เป็นเพราะปวดไหล่จากการทำงาน

ประชาชนชาวออฟฟิศทั้งหลายคงจะเคยประสบกับ อาการปวดไหล่ กันมาบ้าง เพราะต้องนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมตลอดทั้งวัน แต่อาการปวดไหล่สามารถที่จะแก้ไขได้ วันนี้เรามาดูกันว่าถ้า ปวดไหล่ จากการทำงาน จะมีวิธีรับมือและป้องกันอย่างไรได้บ้าง ไปติดตามสาระดีๆ ที่บทความนี้ จาก Hello คุณหมอ กันเลยค่ะ สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ ปวดไหล่ อาการปวดไหล่ (Shoulder pain) นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป บางครั้งอาการปวดไหล่ก็เป็นลักษณะอาการของโรคต่างๆ ที่แสดงออกถึงความเจ็บปวดที่บริเวณไหล่ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม หรือโรคไขข้ออักเสบ และยังสามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วย ได้แก่ เกิดการผิดท่าผิดทางกับบริเวณไหล่ อาจเป็นการนั่ง การนอน การยก ย้ายสิ่งของต่างๆ การทำกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวช่วงแขนและหัวไหล่ การยกของหนักขึ้นเหนือหัวไหล่ เกิดการกดทับที่บริเวณไหล่  เกิดอาการบาดเจ็บที่บริเวณหัวไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ เกิดอาการอักเสบที่บริเวณเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกที่บริเวณหัวไหล่ กล้ามเนื้อบริเวณคอ และไหล่ เกิดอาการตึงในขณะที่นั่งทำงานหรือขณะที่ยืน อาการ ปวดไหล่ เกิดจากการทำงานได้อย่างไร การเคลื่อนไหว อากัปกิริยาต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราสามารถที่จะส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่ได้ โดยเฉพาะในการทำงาน สำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ หรือทั้งวัน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่บริเวณช่วงคอและข้อมือ รวมถึงบริเวณไหล่เกิดอาการตึง เกร็ง เพราะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในบริเวณดังกล่าวต้องค้างอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน กล่าวคือ ลำคอก็จะตั้งตรง ใบหน้าจดจ่อที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ข้อมือจะประจำอยู่ที่แป้นพิมพ์และเม้าส์ เมื่ออยู่ในท่านี้เป็นเวลานานๆ ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่เกิดอาการเมื่อยล้า และนานเข้าก็เสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บหรืออักเสบที่เส้นเอ็น […]


โรคข้ออักเสบ

ซุมบ้ากับข้ออักเสบ : อยากเต้นซุมบ้าแต่เป็นโรคข้ออักเสบ ทำได้ไหมนะ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบ จะลุกก็เจ็บ จะนั่งก็เจ็บ แถมบางครั้งข้อเข่ายังดังกร๊อบแกร๊บ จนไม่อยากจะเคลื่อนไหว เลยคิดไปว่า หากมีอาการข้ออักเสบไม่ควรจะออกกำลังกาย แต่ว่าจริงๆแล้วผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบสามารถออกกำลังกายได้ แต่ต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอที่ดูแลเราอยู่ ส่วนใครที่เห็นว่า…ซุมบ้าก็น่าเต้นแต่ข้ออักเสบก็กังวลใจ…เรามาร่วมกันไขข้อข้องใจเรื่อง ซุมบ้ากับข้ออักเสบ พร้อมๆกับ Hello คุณหมอ เลยค่ะ …ว่าทำได้รึเปล่า ซุมบ้า คืออะไร ซุมบ้า (Zumba) เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง เป็นการออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิก ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากท่าเต้นแบบละติน-อเมริกา เป็นการเต้นที่มีการสลับจังหวะช้า เร็ว สลับๆ กันไปพร้อมกับเพลงละตินจังหวะสนุกๆ เพื่อเป็นการฝึกความต้านทานของกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย การออกกำลังกายที่ผสมผสานกับท่าเต้น จะช่วยให้การออกกำลังกายมีความสนุกสนานพร้อมทั้งไม่เบื่อ มีส่วนช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น ทั้งยังมีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นอีกด้วย ประเภทของ ซุมบ้า ซุมบ้าเป็นการออกกำลังกายด้วยการเต้น เมื่อปี 1990 Alberto “Beto” Perez ผู้ฝึกสอนด้านการออกกำลังกายในโคลัมเบียมีการผสมผสานเพลง Salsa และ Merengue แบบดั่งเดิมเข้ากับการเต้นแอโรบิกของเขา ซึ่งออกมาเป็นการเต้น ซุมบ้า ซุมบ้าเป็นการออกกำลังกายประกอบเสียงเพลง แบบสนุกๆ ในจังหวะของละติน-อเมริกา ซึ่งรูปแบบของ ซุมบ้าก็มีหลากหลาย ซึ่งตัวเลือกในการออกกำลังกาย Zumba มีการแยกประเภทที่เหมาะกับกลุ่มอายุ ที่เฉพาะเจาะจง และระดับการออกกำลังกาย และยังมีประเภทของซุมบ้าที่เหมาะกับผู้ป่วยข้ออักเสบอีกด้วย Zumba เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม กับผู้ที่เล่นฟิตเนสทุกๆ […]


โรคข้ออักเสบ

7 ท่าบริหารเพื่อบรรเทาอาการปวด ข้ออักเสบที่มือ

เพื่อป้องกันข้อต่อจากการเสียดสีกันของข้อต่อ ในระหว่างการทำกิจกรรมประจำวัน ข้อต่อจะมีการปกป้องโดยธรรมชาติด้วยกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นแผ่นคล้ายยางอยู่ที่ส่วนปลายของกระดูกแต่ละข้าง ข้ออักเสบ (Arthritis) ทำให้กระดูกอ่อนเหล่านี้เสื่อม และทำให้เกิดการอักเสบ การระคายเคือง และอาการฝืดแข็งเมื่อเคลื่อนไหวข้อต่อ การเป็นข้ออักเสบที่มือทั้งสองข้างเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากคุณจำเป็นต้องใช้มือสำหรับกิจกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน อ่านบทความนี้ เพื่อศึกษาวิธีที่คุณสามารถใช้การออกกำลังกายเพื่อจัดการกับ ข้ออักเสบที่มือ ท่าบริหาร 1: กำมือ เมื่อใดก็ตามที่มือของคุณรู้สึกว่าข้อฝืดแข็ง คุณสามารถเริ่มออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ได้ ให้เริ่มโดยการกางมือออก ให้นิ้วมือชี้ขึ้นข้างบน จากนั้น งอนิ้วมือ เพื่อกำมือโดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านนอกมือ อย่ากำมือแน่นเกินไปแต่ทำอย่างมั่นคง หลังจากนั้น ให้ยืดนิ้วมือออกอย่างช้าๆ และกางนิ้วมือออก ให้ออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ 10 ครั้งกับมือแต่ละข้าง ท่าบริหาร 2: งอนิ้วมือ ในการเริ่มต้นทำท่านี้ กางมือออกไปด้านหน้า โดยให้นิ้วหัวแม่มือทำมุม 90 องศากับนิ้วอื่นๆ จากนั้น งอข้อนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือ และค้างไว้เป็นเวลาสองสามวินาที แล้วกางออก ทำแบบเดียวกันกับนิ้วมือแต่ละนิ้ว จากนั้น ทำกับมืออีกข้างหนึ่ง ท่าบริหาร 3: งอนิ้วหัวแม่มือ ขั้นแรก ให้เริ่มต้นด้วยท่าเดียวกันกับท่าที่แล้ว แต่แทนที่จะงอนิ้ว ให้พยายามยืดนิ้วมือไปยังโคนนิ้วก้อย หากคุณไม่สามารถยืดนิ้วมือไปถึงนิ้วก้อยได้ ไม่มีปัญหาอะไร ให้พยายามทำท่าดังกล่าวค้างไว้เป็นเวลา 2-3 วินาทีและทำการยืดนิ้วซ้ำ 10 ครั้ง […]


โรคข้ออักเสบ

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ โรคข้อเสื่อม ที่ทุกคนควรรู้ เพื่อรับมือกับโรคนี้

ในปัจจุบันนี้ โรคข้อเสื่อม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่คุณสามารถลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคได้ โดยการออกกำลังกาย และรักษาน้ำหนักร่างกายที่เหมาะสม ซึ่งยังสามารถช่วยชะลอการลุกลาม และบรรเทาอาการปวด อีกทั้งยังทำให้การทำงานของข้อต่อดีขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณไปรู้จักโรคข้อเสื่อมนี้ให้ดียิ่งขึ้นไปพร้อม ๆ กันค่ะ สาเหตุ ที่อาจทำให้เกิด โรคข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)  เกิดจากการเสื่อมของกระดูกข้อต่อ ที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปกป้องที่ปลายกระดูก มีการเสื่อมลงตามเวลา และเป็นประเภทของข้อเสื่อมที่พบได้มากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ข้อเสื่อมจะค่อยๆ มีอาการมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และสามารถส่งผลได้ทั้งกับข้อต่อที่มือ เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง กระดูกอ่อนที่แข็งแรงช่วยให้กระดูกสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างสะดวก และรองรับแรงกระแทกในระหว่างการเคลื่อนไหว เมื่อกระดูกอ่อนเสียหาย กระดูกจะเริ่มเสียดสีกัน การเสียดสีกันนี้ทำให้เกิดอาการปวด บวม และข้อต่อเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก บางครั้งโรคข้อเสื่อมก็อาจเกิดได้จากการเสื่อมตามเวลาของกระดูกอ่อนในข้อต่อ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น โรคอ้วน และการบาดเจ็บ กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อแข็งและผิวเรียบลื่น ที่ทำให้การเคลื่อนที่ของข้อต่อมีแรงเสียนทานน้อยมาก เมื่อเกิดข้อเสื่อมนั้น พื้นผิวที่เรียบลื่นของกระดูกอ่อนจะขรุขระ ในท้ายที่สุดแล้ว หากกระดูกอ่อนเสื่อมลงทั้งหมด คุณอาจเหลือเพียงกระดูกที่เสียดสีกันเท่านั้น ภาวะนี้เป็นสาเหตุของอาการปวด และอาการบวมขึ้นนั่นเอง ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิด โรคข้อเสื่อม มีปัจจัยหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของข้อเสื่อมได้มี ดังนี้ ช่วงอายุที่มากขึ้น น้ำหนักที่มากเกินไป สามารถทำให้มีแรงกดเพิ่มขึ้นบนข้อต่อ ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดข้อเสื่อม การบาดเจ็บที่ข้อต่อ จากการออกกำลังกายและกีฬา ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของข้อเสื่อมได้ อาชีพที่ทำให้มีแรงกดทับที่ข้อต่อ […]


โรคข้ออักเสบ

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นความผิดปกติที่มีการอักเสบเรื้อรัง ที่สามารถส่งผลมากกว่าเพียงข้อต่อ แต่สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบร่างกายได้มากมาย คำจำกัดความข้ออักเสบรูมาตอยด์ คืออะไร ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรังที่สามารถส่งผลมากกว่าเพียงข้อต่อ ในผู้ป่วยบางราย ภาวะนี้สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบร่างกายได้มากมาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ หลอดเลือด ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) จัดเป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง หรือโรคภูมิต้านตนเอง หรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง (autoimmune disorder) เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันต้านเนื่อเยื่อในร่างกายของคุณ เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ข้ออักเสบรูมาตอยด์แตกต่างจากความเสียหายที่เกิดจากการเสื่อมของข้อเสื่อม (osteoarthritis) เนื่องจากข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นส่งผลต่อแนวเนื้อเยื่อข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวดบวม ที่ค่อยๆ ทำให้เกิดกระดูกผุ (bone erosion) และข้อต่อผิดรูป (joint deformity) การอักเสบที่สัมพันธ์กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สามารถส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย ในปัจจุบันมีการคิดค้นยาชนิดใหม่ๆ ที่ทำให้สามารถรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ผลดีขึ้นมาก แต่ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็ยังเสี่ยงพิการได้ ข้ออักเสบรูมาตอยด์พบบ่อยแค่ไหน ข้ออักเสบรูมาตอยด์พบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการทั่วไปของข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่ ข้อต่อกดเจ็บ อุ่น และบวม ปวดแน่นที่ข้อต่อ ซึ่งมักมีอาการแย่ลงในตอนเช้า และหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย อ่อนเพลีย มีไข้ และน้ำหนัดลด ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในระยะเริ่มแรกมักส่งผลต่อข้อต่อขนาดเล็กกว่าก่อน โดยเฉพาะ ข้อต่อที่เชื่อมนิ้วมือกับมือและเชื่อมนิ้วเท้ากับเท้า จากนั้น อาการต่างๆ มักแพร่กระจายไปยังข้อมือ เข่า ข้อเท้า […]


โรคข้ออักเสบ

ข้ออักเสบ (Arthritis)

คำจำกัดความข้ออักเสบ คืออะไร ข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นการอักเสบที่ข้อต่อ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่ข้อต่อข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ประเภทของข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ ข้อเสื่อม (osteoarthritis หรือ OA) และข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis หรือ RA) ข้อเสื่อม ข้อเสื่อมสามารถส่งผลต่อกระดูกอ่อนตามแนวข้อต่อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดและเคลื่อนไหวร่างกายได้ยาก ในภาวะที่รุนแรง การสูญเสียกระดูกอ่อนสามารถทำให้กระดูกอ่อนเสียดสีกับกระดูก จนรูปร่างข้อต่อเปลี่ยนแปลงไปและดันกระดูกออกจากตำแหน่งปกติได้ ตำแหน่งที่มักเกิดข้อเสื่อม ได้แก่ ข้อต่อมือ กระดูกสันหลัง เข่า และสะโพก ข้ออักเสบประเภทนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 40 ตอนปลายหรือมากกว่า ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบประเภทนี้พบมากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 และ 50 ปี เกิดจากส่วนด้านนอกที่หุ้มข้อต่อเป็นบริเวณแรกที่ได้รับผลกระทบ แล้วการอักเสบลุกลามไปยังข้อต่อโดยรอบ หากเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์  ผู้ป่วยจะมีข้อต่อที่รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ภาวะนี้อาจทำให้กระดูกและกระดูกอ่อนแตกได้ ที่รุนแรงกว่านั้นคือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังสามารถมีอาการผิดปกติต่างๆ ที่เนื้อเยื่อและอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย ข้ออักเสบพบบ่อยแค่ไหน ข้ออักเสบค่อนข้างพบได้ทั่วไป มักส่งผลต่อผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ ยังสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็ก ข้ออักเสบในเด็กที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (juvenile idiopathic arthritis) อย่างไรก็ดี ข้ออักเสบสามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของข้ออักเสบ อาการทั่วไปของข้ออักเสบ ได้แก่ ปวดข้อต่อ แม้จะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย มีอาการบวมและอาการฝืดแข็งของข้อต่อ มีการอักเสบในข้อต่อและโดยรอบข้อต่อ เคลื่อนไหวข้อต่อได้อย่างจำกัด มีรอยแดงที่ผิวหนังโดยรอบข้อต่อ สำหรับผู้ป่วยบางราย […]


โรคข้ออักเสบ

ปวดเฉียบพลัน VS ปวดเรื้อรัง ความแตกต่างในความเหมือน

ความปวดเป็นอาการที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยประสบ ความปวดทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว บางครั้งส่งผลกระทบต่อจิตใจ หากปวดบ่อยๆ หรือรุนแรง อาจส่งผลเสียกับการทำงาน หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วย อาการปวดนั้นสามารถจำแนกได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การจำแนกตามระยะเวลาในการเกิดอาการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ปวดเฉียบพลัน และ ปวดเรื้อรัง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ ปวดเฉียบพลัน คืออะไร อาการปวดเฉียบพลัน (Acute pain) คือ อาการปวดที่เกิดขึ้นกะทันหัน รวดเร็วและรุนแรง เป็นปฏิกิริยาตอบสนองจากระบบประสาท ที่คอยเตือนว่าร่างกายเราอาจกำลังได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่เกิดจากเนื้อเยื่อ เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ หรืออวัยวะถูกทำลาย เพราะโรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุบางประการ เช่น กระดูกหัก ปวดแผลผ่าตัด มีดบาด ฆ้อนตกใส่เท้า ถือเป็นความปวดที่มีสาเหตุแน่ชัด มีระยะเวลาที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเป็นไม่เกิน 6 เดือน และจะหายไปเมื่อรักษาโรคหรืออาการบาดเจ็บที่เป็นสาเหตุให้ปวดจนหายดีแล้ว ปวดเรื้อรัง คืออะไร อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain) คือ อาการปวดที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 เดือน ส่วนใหญ่มักจะพัฒนามาจากอาการปวดเฉียบพลันที่รักษาแบบไม่ถูกวิธี เมื่อโรคหรืออุบัติเหตุที่เป็นสาเหตุของการปวดหายดีแล้ว […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม