backup og meta

อาหารดีๆ ที่ช่วยเพิ่มเซโรโทนิน เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า

อาหารดีๆ ที่ช่วยเพิ่มเซโรโทนิน เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า

ร่างกายของเรามีสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ช่วยให้เราอารมณ์ดี ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น แต่เมื่อใดที่สารสื่อประสาทที่ชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) มีปริมาณลดลง เมื่อนั้นก็จะรู้สึกเครียด หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี แต่…เราสามารถเพิ่มสารเซโรโทนินได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหาร แต่จะมี อาหารที่ช่วยเพิ่มเซโรโทนิน แบบใดบ้าง ลองมาติดตามกันได้จากบทความนี้จาก Hello คุณหมอ เลยค่ะ

เซโรโทนิน มีความสำคัญอย่างไร

เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารสื่อประสาทที่ร่างกายสร้างขึ้น และทำหน้าที่สำคัญที่ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึก ทั้งช่วยควบคุมความรู้สึกหิว หรือความรู้สึกง่วง ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่สารเซโรโทนินอยู่ในระดับที่ลดต่ำลงก็จะส่งผลต่ออารมณและความรู้สึกในแง่ที่เป็นด้านลบ มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ความเครียด หรือความรู้สึกหงุดหงิดต่างๆ

อาหารที่ช่วยเพิ่มเซโรโทนิน มีอะไรบ้าง

สารเซโรโทนิน ไม่สามารถพบได้ในอาหารเมนูตามปรกติทั่วไป แต่อาหารที่เรารับประทานกันในชีวิตประจำวันนั้นมีส่วนช่วยเพิ่มสารเซโรโทนินได้ หากอาหารชนิดนั้นอุดมไปด้วย สารทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นในการผลิตสารเซโรโทนินของร่างกาย ดังนี้

  • ไข่

ในไข่อุดมไปด้วยโปรตีนในปริมาณที่สูง มีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใครก็ตามที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ และยังมีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มระดับพลาสมาในเลือด และมีสารทริปโตเฟน ที่ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มระดับของเซโรโทนินอีกด้วย

  • แซลมอน

ปลาแซลมอนเป็นอีกหนึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของทริปโตเฟน ที่มีส่วนช่วยเพิ่มระดับของ สารเซโรโทนิน และยังเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 (Omega-3) ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและสุขภาพผิวหนังด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในเนื้อปลาแซลมอนยังมีวิตามินดีที่เป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่ช่วยเพิ่มระดับของเซโรโทนินในร่างกาย

  • ถั่วและธัญพืชต่างๆ

ถั่วและธัญพืชต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาหารที่อุดมไปด้วยทริปโตเฟน ช่วยเพิ่มสารเซโรโทนิน และอุดมไปด้วยไฟเบอร์กับสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ที่มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและปัญหาของระบบทางเดินหายใจ

อาหารจำพวกสัต์ปีกโดยเฉพาะไก่งวง เป็นแหล่งของโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และแน่นอนว่ามีสารทริปโตเฟน ซึ่งดีต่อการเพิ่มปริมาณของ สารเซโรโทนิน ในร่างกายด้วย

ถั่วเหลืองเป็นธัญพืชที่เต็มไปด้วยทริปโตเฟน ดังนั้น การรับประทานถั่วเหลือง หรือเต้าหู้ที่ทำมาจากถั่วเหลือง ก็จะมีประโยชน์ที่ดีในการช่วยเพิ่มระดับของ สารเซโรโทนิน

  • ผลิตภัณฑ์จากนมและชีส

นอกเหนือจากการเป็นแหล่งอาหารสำคัญอย่างแคลเซียมที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรงแล้ว การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมและชีส ก็ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างสารเซโรโทนินในร่างกายให้มากขึ้นด้วย เนื่องจากมีทริปโตเฟน ซึ่งดีต่อการผลิต สารเซโรโทนิน

สับปะรดเป็นผลไม้ที่อัดแน่นไปด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารสำคัญๆ อีกมากมาย รวมถึงสารอาหารที่โดดเด่นและมีส่วนสำคัญในการเพิ่มสารเซโรโทนินอย่าง ทริปโตเฟน ด้วย

คำแนะนำเพิ่มเติมในการเพิ่มสารเซโรโทนินให้แก่ร่างกาย

นอกเหนือจากการรับประทานอาหารแล้ว ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มระดับของ สารเซโรโทนิน ได้เหมือนกัน เช่น

  • การออกกำลังกาย
  • การออกไปรับแสงแดด
  • การคิดบวก มองโลกในแง่ดี
  • การเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ด้วยการรับประทานอาหารจำพวกไฟเบอร์ หรือ ใยอาหาร (Fiber)

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

7 Foods That Could Boost Your Serotonin: The Serotonin Diet

.https://www.healthline.com/health/healthy-sleep/foods-that-could-boost-your-serotonin. Accessed on June 9, 2020.

7 Foods to Boost Serotonin for Improving Mental Health and Mood. https://www.purerecoveryca.com/foods-to-boost-serotonin-mental-health-mood/. Accessed on June 9, 2020.

Foods That Fight Winter Depression. https://www.webmd.com/depression/features/foods-that-fight-winter-depression#1. Accessed on June 9, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/07/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome)

เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า สารสำคัญที่อาจช่วยคุณได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 20/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา