backup og meta

น้ำเต้าหู้ ประโยชน์ ต่อสุขภาพกับข้อควรระวังในการบริโภค

น้ำเต้าหู้ ประโยชน์ ต่อสุขภาพกับข้อควรระวังในการบริโภค

น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง เป็นเครื่องดื่มเมนูโปรดของใครหลายคน ซึ่งนอกจากจะอร่อยแล้ว ยังมีสารอาหารในถั่วเหลืองที่ให้ประโยชน์หลายประการแก่ผู้บริโภค เป็นทั้งแหล่งโปรตีน วิตามินเอ แคลเซียม อย่างไรก็ตาม แม้ว่า น้ำเต้าหู้ ประโยชน์ จะมีมากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ชื่นชอบบริโภคน้ำเต้าหู้เป็นพิเศษเช่นกัน

[embed-health-tool-bmi]

ข้อมูลโภชนาการของน้ำเต้าหู้

น้ำเต้าหู้ 1 แก้ว ไม่มีรสหวาน ให้พลังงานประมาณ 80-100 แคลอรี่ มีคุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม
  • ไขมัน 4 กรัม
  • โปรตีน 7 กรัม

น้ำเต้าหู้เป็นแหล่งโปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 12 โพแทสเซียม และไอโซฟลาโวน (Isoflavone) มากไปกว่านั้นยังอุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี และเพราะน้ำเต้าหู้ทำมาจากธรรมชาติ จึงไม่มีคอเลสเตอรอลและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ รวมถึงไม่มีแลคโตส

ปริมาณน้ำเต้าหู้ที่ควรบริโภคในแต่ละวัน

โดยปกติแล้วอาหารจากถั่วเหลืองนั้นแปรรูปไปเป็นเมนูอื่น ๆ เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เป็นต้น ในหนึ่งวันอาจรับประทานเมนูจากถั่วเหลืองมากกว่าแค่การดื่มน้ำเต้าหู้ จากสถาบันวิจัยมะเร็งสหรัฐอเมริกา American Institute for Cancer Research (AICR) แนะนำว่า เฉลี่ยแล้วสามารถดื่มน้ำเต้าหู้ได้ประมาณวันละ 2 แก้ว ดังนั้น หากในหนึ่งวัน รับประทานเมนูผัดเต้าหู้ไปแล้ว อาจดื่มน้ำเต้าหู้ได้ 1 แก้ว แต่หากดื่มมากกว่านั้นเป็น 2 แก้วก็ยังถือว่าไม่ได้บริโภคน้ำเต้าหู้มากเกินไป ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

น้ำเต้าหู้ ประโยชน์ มีอะไรบ้าง

น้ำเต้าหูมีประโยชน์ต่าง ๆ ต่อสุขภาพ ดังนี้

1.อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

การกินอาหารที่มีถั่วเหลืองมีแนวโน้มว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในผู้หญิงบางคน เนื่องจากผู้หญิงเอเชียผู้ที่กินอาหารที่มีถั่วเหลืองมากดูเหมือนว่าจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่า ผู้หญิงที่กินถั่วเหลืองน้อย แต่อย่างไรก็ตามผลของการบริโภคถั่วเหลืองกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น เช่น อายุ และภาวะหมดประจำเดือน

โดยผู้หญิงที่กินถั่วเหลืองมากในช่วงวัยรุ่น มีแนวโน้มว่าจะลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง เพราะเชื่อกันว่าการกินดื่มน้ำเต้าหู้หรือกินอาหารที่อุดมไปด้วยถั่วเหลืองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่ยืนยันได้ว่า การกินอาหารเสริมไอโซฟลาโวนที่สกัดจากถั่วเหลืองนั้น มีส่วนช่วยในการลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม

2.เหมาะกับผู้ที่แพ้แลคโตสในนม

น้ำเต้าหู้เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และยังมีแคลเซียมด้วย จึงเหมาะกับผู้ที่แพ้แลคโตสในนมและต้องการโปรตีนและแคลเซียมจากนมถั่วเหลืองแทนนมวัว

3.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

สถาบัน National Institute of Health and Nutrition ในประเทศญี่ปุ่นได้ให้ข้อมูลว่า โปรตีนในน้ำเต้าหู้สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งการที่คอเลสเตอรอลในเลือดลดลงส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงอาจเปลี่ยนมาดื่มน้ำเต้าหู้แทน

4.น้ำเต้าหู้กับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

การกินอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองและไฟเบอร์ถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าเจี้ยวหรือถั่วเหลืองหมัก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรระวังปริมาณน้ำตาลในน้ำเต้าหู้ ควรดื่มน้ำเต้าหู้ชนิดแบบไม่ใส่น้ำตาลหรือน้ำตาลน้อย

5.เหมาะกับผู้ที่อาจช่วยลดความดันโลหิตสูง

การกินโปรตีนจากถั่วเหลืองช่วยลดค่าความดันโลหิต  (Systolic blood pressure) โดยสามารถอาจลดความดันโลหิตสูงได้ประมาณ 4-8 มิลลิเมตรปรอท (mmHG) ส่วนค่าความดันโลหิตที่เป็นตัวเลขด้านล่าง (Diastolic blood pressure) อาจลดลงประมาณ 3-5 มิลลิเมตรปรอท (mmHG) ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ดังนั้นการดื่มน้ำเต้าหู้จึงอาจช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูง

6.อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

โปรตีนจากถั่วเหลือง หรือสารสกัดถั่วเหลืองช่วยเพิ่มความหนาแน่นมวลกระดูก (BMD, bone mineral density) หรือช่วยชะลอการสูญเสียความหนาแน่นมวลกระดูกในผู้หญิงที่ใกล้หมดประจำเดือน โดยควรกินอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองเพื่อให้ได้รับไอโซฟลาโวนอย่างน้อย 75 มิลลิกรัมต่อวัน ส่งผลดีต่อกระดูกในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเต้าหู้ หรือการกินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลต่อความหนาแน่นมวลกระดูกในผู้หญิงที่อายุน้อย

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ น้ำเต้าหู้

การดื่มน้ำเต้าหู้มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับการบริโภคอาหารชนิดอื่น และอาจมีกลุ่มบุคคลที่อาจต้องหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเต้าหู้เนื่องจากอาจส่งกระทบต่อปัญหาสุขภาพ ดังนี้

  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม ผลจากการกินถั่วเหลืองในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมยังไม่ชัดเจน หลายคนเชื่อว่าถั่วเหลืองอาจกระตุ้นอาการมะเร็งเต้านม เนื่องจากถั่วเหลืองมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) แต่อย่างไรก็ตามก็มีงานวิจัยที่พบว่าน้ำเต้าหู้อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้น จึงยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากไม่มีข้อมูลมากพอที่จะระบุผลของการกินถั่วเหลืองกับโรคมะเร็งเต้านม จึงแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เมื่อต้องการกินอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง หรืออาหารเสริมจากถั่วเหลืองในกรณีที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ที่เป็นเบาหวานที่กำลังกินยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ผู้ที่เคยเป็นนิ่วในไต ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วในไต เนื่องจากมีสารออกซาเลต (oxalate) มาก ซึ่งสารออกซาเลตเป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคไตไม่ควรกินถั่วเหลืองเพราะอาจเกิดอันตรายได้ หากคุณมีประวัติเป็นโรคนิ่วในไตควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง
  • ผู้ที่แพ้นม เด็กที่แพ้นมวัวอาจแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลือง
  • ทารก น้ำเต้าหู้ไม่อาจใช้แทนนมแม่หรือนมผงได้ ไม่ควรให้ทารกดื่มน้ำเต้าหู้โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกยังไม่สามารถย่อยได้ดีนัก
  • โดยปกติแล้วถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จัดว่าเป็นอาหารที่มีคนแพ้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารจำพวกถั่วอาจต้องระมัดระวังและสังเกตตัวเองหากต้องการบริโภคน้ำเต้าหู้ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
  • ในหญิงตั้งครรภ์อาจต้องระวังการบริโภคน้ำเต้าหู้ปริมาณสูงเพราะหากบริโภคมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ อาจจำกัดปริมาณการดื่มในแต่ละวัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

SOY. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-975/soy. Accessed July 18, 2023.

Health Benefits of Soy Milk. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-soy-milk#1. Accessed July 18, 2023.

7 Proven Health Benefits Of Soy Milk. https://doctor.ndtv.com/living-healthy/7-proven-health-benefits-of-soy-milk-1816410. Accessed July 18, 2023.

Is Soy Milk Bad for You?. https://www.medicinenet.com/is_soy_milk_bad_for_you/article.htm. Accessed July 18, 2023.

SILK Unsweetened, soymilk. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/175223/nutrients. Accessed September 28, 2023.

Soy milk: A functional beverage with hypocholesterolemic effects? A systematic review of randomized controlled trials. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30670286/. Accessed September 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

นมถั่วเหลือง คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา