backup og meta

ข้อเท็จจริงของ ความอยากอาหาร ข้ออ้างให้ได้กินหรือมีเหตุผลทางร่างกายจริงๆ?

ข้อเท็จจริงของ ความอยากอาหาร ข้ออ้างให้ได้กินหรือมีเหตุผลทางร่างกายจริงๆ?

ความอยากอาหาร เป็นเรื่องที่หลายคนเชื่อว่าเกี่ยวข้อง กับภาวะขาดสารอาหารในร่างกาย แต่นักวิจัยไม่พบหลักฐาน เพื่อยืนยันความเชื่อนี้ หลายคนเชื่อว่าความอยากอาหารเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อได้กินอาหารที่ตนชอบเท่านั้น แล้วความจริงเกี่ยวกับอาการอยากอาหารนี้คืออะไรตาม Hello คุณหมอ ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลยค่ะ

ความอยากอาหาร คืออะไรและหมายความว่าอย่างไร

ผลวิจัยเปิดเผยว่า บริเวณในสมองที่เรียกว่า อินซูลา (insula) ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และ คอเดท (caudate) มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดอาการ อยากอาหาร อาการนี้สามารถเกิดได้ เมื่ออาหารที่คุณรับประทานขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น วิตามินบี 12 หรือแคลเซียม ขณะที่ผู้ที่มีอาการเครียดมักจะต้องการของหวาน โดยนักวิจัยคนอื่นๆ เชื่อว่า ช็อกโกแลตและอาหารประเภทอื่นๆ มีแคลอรี่สูง จะเพิ่มการหลั่งสารเอนดอร์ฟินในสมอง สารเคมีในสมองเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดความสุข ซึ่งทำให้อารมณ์ดีขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่หลายคนกินอาหารประเภทนี้ เพื่อทำให้ให้รู้สึกดีขึ้น

อาการอยากอาหารอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ถ้าคุณอยากทานช็อกโกแลตมาก เป็นไปได้ว่าร่างกายของคุณขาดธาตุแมกนีเซียม ปริมาณสารเคมีประเภทต่างๆ เช่น โครเมียม ทริปโตเฟน (tryptophan) ซัลเฟอร์ (sulfur) คาร์บอน (carbon) และฟอสฟอรัส (phosphorus) ที่อยู่ในระดับต่ำ อาจทำให้เกิดความอยากน้ำตาล หากร่างกายมีปริมาณไนโตรเจนไม่เพียงพอ อาจเกิดความอยากกินขนมปังและซีเรียล หากคุณต้องการกินอาหารประเภทที่มีไขมันสูง อาจเป็นเพราะร่างกายมีปริมาณแคลเซียมอยู่ในระดับต่ำ

ความอยากอาหาร ของคุณแม่ตั้งครรภ์..ต่างกันหรือเปล่า?

เป็นเรื่องปกติที่จะพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มักมีอาการอยากกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ ในช่วงแพ้ท้อง ซึ่งอาการอยากอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

อาการอยากอาหารทั่วไป

หญิงตั้งครรภ์ มักมีอาการอยากรับประทานอาหารบางอย่าง ที่พบบ่อยก็อย่างเช่น

  • นม ช็อกโกแลต หรือไอศกรีม
  • ขนมหวานต่างๆ
  • ผลไม้ เช่น สตรอเบอร์รี่ เกรปฟรุต มะม่วง และสับปะรด
  • อาหารรสจัด ทั้งเผ็ด เค็ม หรือเปรี้ยว

อาการอยากอาหารเนื่องจากโรคพิก้า (Pica)

นี่เป็นอาการของหญิงตั้งครรภ์บางคน ที่อาจจะไม่มีอาการอยากกินอาหารอะไรเป็นพิศษ แต่กลับอยากกินของบางอย่างที่ไม่ใช่อาหาร เช่น

  • น้ำแข็ง
  • ฝุ่นหรือโคลน
  • สบู่หรือผงซักฟอก
  • แผ่นสีหรือขี้เถ้า
  • ผ้าหรือกระดาษ
  • กากกาแฟหรือแป้งข้าวโพด

วิธีจัดการกับอาการอยากอาหาร

อาการอยากอาหาร อาจฟังดูเป็นเรื่องตลกและน่ารัก แต่อาการนี้ถือว่าไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ เพราะการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณควรลดอาการอยากอาหารที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย

ข่าวดีของวิธีการลดอาการอยากอาหารก็คือ การกินในปริมาณที่พอเหมาะ คุณสามารถกินอาหารที่คุณอยากกินได้ ไม่ว่าจะเป็นช็อกโกแลต มันฝรั่งทอดหรือไอศกรีม แต่ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจเกิดอาการเสพติดในระยะยาวได้ คุณจึงควรกินอาหารที่มีประโยชน์และครบทุกหมู่ พยายามกินอาหารเช้าที่มีประโยชน์ และอาจกินอาหารที่คุณชอบหลังจากนั้น

หากคุณอยากกินของหวาน คุณต้องทำความสะอาดฟันและเหงือกให้ดีหลังจากรับประทาน ท้ายที่สุด อาการอยากอาหารจะหายไป หากคุณพบว่า แท้จริงแล้วร่างกายของคุณต้องการอะไร และเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน และห่างไกลจากโรคที่ตามมาจากการบริโภคอาหารตามใจปาก ที่สำคัญและพบบ่อย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ซึ่งมีอาการของโรคพิก้า วิธีการข้างต้นอาจใช้ไม่ได้ หากคุณอยากทานสิ่งของแปลกๆ คุณควรรีบพบหมอ เนื่องจากสิ่งที่คุณอยากกินนั้นสามารถเป็นอันตราย และอาจทำให้ทารกในครรภ์ตายได้หากกินเข้าไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หมั่นสังเกตตัวเอง และป้องกันอาการอยากอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ อันเนื่องจากโรคพิก้า (Pica) ได้ด้วยเหมือนกัน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Truth About Food Cravings. http://www.webmd.com/baby/the-truth-about-food-cravings/ Accessed April 11, 2017

What causes food cravings? https://www.medicalnewstoday.com/articles/318441.php

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของกระเทียม ดีต่อสุขภาพอย่างไร

ลูกฟิก หรือมะเดื่อฝรั่ง กับประโยชน์สุขภาพเริ่ดๆ ที่ควรต้องลอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา