ไขมันทรานส์ (Trans Fat) คือไขมันที่ได้จากการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันพืช ทำให้ได้ไขมันที่แข็งตัวในอุณหภูมิห้อง เช่น มาการีน พบได้มากในอาหารแปรรูป และอาหารจำพวกขนมอบ เบเกอรี่ นอกจากนี้ ยังไขมันทรานส์ยังอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสามารถพบได้ในอาหารบางประเภท เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ ไขมันทรานส์นับเป็นไขมันไม่ดีอย่างหนึ่ง เมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจ ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย อาหารที่มี ไขมันทรานส์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
[embed-health-tool-bmi]
ประเภทของไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ไขมันทรานส์จากแหล่งธรรมชาติ คือ มาจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อแพะ ไขมันทรานส์ พบในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 2-5% และในเนื้อวัว และเนื้อแกะ 3-9% งานวิจัยหลายงานวิจัย สรุปว่า การกินไขมันทรานส์ในปริมาณที่พอดี จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้ไขมันทรานส์ยังมีอยู่ในรูปแบบของ อาหารเสริม ซึ่งก็คือ CLA (Conjugated Linoleic Acid) ด้วย
- ไขมันทรานส์สังเคราะห์ คือ ไขมันทรานส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hydrogenated fats เป็นการเติมไฮโดรเจน เข้าไปในไขมันพืช เพื่อให้เกิดเป็นไขมันทรานส์สังเคราะห์ หลังจากผ่านกระบวนการ การเติมไฮโดรเจน ไขมันทรานส์สังเคราะห์ที่ได้ จะอยู่ได้นาน และเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับไขมันอิ่มตัว สาเหตุที่ต้องห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์ในอาหาร เนื่องจากไขมันทรานส์สังเคราะห์ จะส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ เพราะว่าเพิ่มปริมาณแอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL) หรือไขมันไม่ดี และลดปริมาณเอชดีแอล คอเลสเตอรอล (HDL) หรือที่เรียกว่าไขมันดี แต่ถึงแม้ว่า ไขมันทรานส์สังเคราะห์จะอันตราย อุตสาหกรรมอาหารก็ยังนำมาใช้ โดยเฉพาะชนิด Partially hydrogenated oils (POH) เพราะว่า ประหยัดงบประมาณ และอยู่ได้นาน
ไขมันทรานส์ธรรมชาติ อันตรายหรือไม่
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮอร์วาร์ด ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ The American Journal of Clinical Nutrition ได้ทำการทดลองเปรียบเทียบ ไขมันทรานส์สังเคราะห์ กับไขมันทรานส์ธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่า ในเพศหญิง ไขมันทรานส์สังเคราะห์ลดปริมาณเอชดีแอล (HDL) ในร่างกาย ส่วนไขมันทรานส์จากธรรมชาติ เพิ่มปริมาณเอชดีแอล (HDL) ในร่างกายของผู้หญิง และผลการวิจัยยังพบว่าไขมันทรานส์ทั้ง 2 ชนิดไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณไขมันเอชดีแอล ในเพศชาย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า ไขมันทรานส์สังเคราะห์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะมีปริมาณแคลอรี่สูงกว่า 3.7% ส่วนไขมันทรานส์จากธรรมชาติ มีปริมาณแคลอรี่สูงกว่า 1.5% หรือ 0.8% ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยกว่า
การกินไขมันทรานส์จากธรรมชาติ จึงเสี่ยงอันตรายน้อยกว่า การกินไขมันทรานส์สังเคราะห์ ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม หากกินมากจนเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน
ต้องเลิกกินอาหารทุกชนิดที่มีไขมันทรานส์ใช้หรือไม่
ไขมันทรานส์ที่ได้รับการสั่งห้าม ในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย นั้นเป็นไขมันทรานส์สังเคราะห์ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร แต่ถึงแม้ว่าจะเลิกกินผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์ เราก็อาจจะยังคง ได้รับไขมันทรานส์ธรรมชาติ จากการกินอาหารอยู่ เช่น การกินเนื้อสัตว์อย่าง เนื้อวัว เนื้อแกะ
ไขมันทรานส์สังเคราะห์เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ส่วนไขมันทรานส์ธรรมชาติ มีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่าไม่เป็นอันตราย เท่ากับไขมันทรานส์สังเคราะห์ แต่ก็ไม่ควรบริโภคมากเกินไป
เวลากินไขมันจึงแนะนำว่า ให้กินไขมันดี อย่างไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อหัวใจ จะพบได้ในแหล่งอาหาร เช่น
- ถั่วชนิดต่างๆ
- อะโวคาโด
- น้ำมันมะกอก
- เนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า
- เต้าหู้
- เนยถั่ว
- น้ำมันพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย