backup og meta

ไขข้อข้องใจ ทำไมเราถึง ดื่มกาแฟแล้วคลื่นไส้ กันนะ

ไขข้อข้องใจ ทำไมเราถึง ดื่มกาแฟแล้วคลื่นไส้ กันนะ

กาแฟนั้นเป็นหนึ่งในเครื่องดื่ม ที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก หลายคนที่ ดื่มกาแฟ นั้นไม่ได้เพียงแค่หวังผลจากคาเฟอีนที่ช่วยให้ตื่นตัว แต่ยังอาจดื่มเพราะชื่นชอบในรสชาติของกาแฟอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คนบางคนอาจจะไม่สามารถดื่มกาแฟได้ เพราะดื่มทีไร ก็ต้องรู้สึกคลื่นไส้ตามมาทุกที วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาช่วยไขข้อข้องใจ ว่าทำไมบางคนถึงมีอาการ ดื่มกาแฟแล้วคลื่นไส้ กันแน่

[embed-health-tool-bmr]

สาเหตุที่ทำให้เรา ดื่มกาแฟแล้วคลื่นไส้

สาเหตุที่ทำให้เรามีอาการคลื่นไส้เมื่อ ดื่มกาแฟ สามารถแยกออกได้เป็นสาเหตุหลักๆ ดังนี้

คาเฟอีน

หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการคลื่นไส้จากการ ดื่มกาแฟ เป็นเพราะคาเฟอีนที่มีอยู่มากในกาแฟนั่นเอง ร่างกายของคนเรานั้นจะมีความไวต่อคาเฟอีน (Caffeine Sensitivity) ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะสามารถ ดื่มกาแฟ ได้เยอะ ๆ โดยที่ไม่ได้รู้สึกถึงผลข้างเคียงที่มาจากคาเฟอีนเลย ในขณะที่บางคน แค่จิบกาแฟเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะเกิดใจสั่น ปวดหัว และคลื่นไส้ได้

ความไวต่อคาเฟอีนนั้น อาจทำให้ผู้ที่ได้รับคาเฟอีนแม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถเกิดอาการคล้ายกับผู้ที่บริโภคคาเฟอีนมากเกินขนาด (Caffeine Overdose)

อาการของการบริโภคคาเฟอีนเกินขนาดนั้น อาจมีตั้งแต่ อาการเบา ๆ ที่ไม่เป็นอันตราย อย่างเช่น

  • วิงเวียน
  • กระหายน้ำ
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดหัว
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้

ไปจนถึงอาการที่รุนแรง และควรติดต่อรับการรักษาในทันที เช่น

  • หายใจไม่ออก
  • อาเจียน
  • มองเห็นภาพหลอน
  • สับสน
  • เจ็บหน้าอก
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ชัก

การป้องกัน : หนทางในการป้องกันอาการคลื่นไส้ที่มาจากคาเฟอีนในกาแฟ คือ การบริโภคกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะ และอย่าดื่มกาแฟปริมาณมาก ๆ ในคราวเดียว หรือหลีกเลี่ยงกา รดื่มกาแฟ ขณะท้องว่าง เพราะเมื่อเราท้องว่าง ร่างกายก็จะสามารถดูดซึมคาเฟอีนในกาแฟได้มากกว่าปกติ

ส่วนผู้ที่มีความไวต่อคาเฟอีนมาก แต่ยังอยาก ดื่มกาแฟ ก็อาจมองหาทางเลือกเป็นกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน หรืออาจจะรับประทานอาหารให้พลังงานในรูปแบบอื่น ๆ เช่น อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง ก็สามารถทำให้เรารู้สึกสดชื่นได้ โดยไม่ต้องระวังผลข้างเคียงจากคาเฟอีน

กรดเกินในกระเพาะ

จริง ๆ แล้ว กาแฟนั้นมีความเป็นกรดมากกว่าที่หลายคนคิด เมื่อความเป็นกรดในกาแฟนั้นไปเจอกับกรดในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะ หากเรา ดื่มกาแฟ ในขณะที่หิวจัด หรือท้องว่าง อาจจะทำให้ในระบบทางเดินอาหารมีกรดมากจนเกินไป ทำให้เกิดความระคายเคืองในทางเดินอาหาร แล้วอาจนำไปสู่อาการต่าง ๆ ได้ เช่น

การป้องกัน : การป้องกันไม่ให้ในทางเดินอาหารมีกรดมากเกินไปจากการ ดื่มกาแฟ คือ ควรพยายามหลีกเลี่ยงการ ดื่มกาแฟ ขณะท้องว่าง แต่ควรมีอาหารรองท้อง เช่น ขนมปัง  เค้ก อยู่ก่อน แล้วจึงค่อย ดื่มกาแฟ นอกจากนี้ ก็ควรค่อย ๆ จิบกาแฟอย่างช้ าๆ ไม่ใช่ดื่มพรวดเดียวจนหมด เพื่อให้ร่างกายสามารถรับมือกับกรดที่อยู่ในกาแฟได้อย่างเหมาะสม

ภาวะการย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ (Lactose intolerance)

โดยส่วนใหญ่แล้ว คนไทยมักจะนิยม ดื่มกาแฟ เย็นที่มีส่วนผสมของนม เพื่อช่วยเจือจางไม่ให้กาแฟมีรสเข้มจนเกินไป แต่นมที่อยู่ในกาแฟนั้นก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเกิดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน

แลคโตส (Lactose) หรือที่บางคนเรียกว่า “น้ำตาลนม” เป็นน้ำตาลที่สามารถพบในน้ำนมของสัตว์ต่าง ๆ เช่น นมวัว หรือนมแพะ โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะสามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ โดยใช้เอนไซม์ที่สามารถพบได้ในลำไส้ แต่หลาย ๆ คนอาจจะมีภาวะการย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ หรือย่อยได้ไม่ดีพอ

อาการที่พบได้บ่อยของภาวะการย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติคือ

  • คลื่นไส้
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • ท้องอืด
  • เรอเปรี้ยว
  • ปวดท้อง

การป้องกัน : การป้องกันอาการคลื่นไส้ที่มาจากภาวะการย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติเมื่อ ดื่มกาแฟ คือ การเลือก ดื่มกาแฟ ดำที่ไม่ใส่นม หรืออาจจะเลือกนมใส่กาแฟที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส ที่สามารถพบซื้อได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ การ ดื่มกาแฟ พร้อมกับขนมปัง หรืออาหารรองท้อง ก็สามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can Caffeine Cause Vomiting? https://www.livestrong.com/article/532840-can-caffeine-cause-vomiting/. Accessed  August 13, 2020

Caffeine sensitivity: Dosage and treatment https://www.medicalnewstoday.com/articles/caffeine-sensitivity. Accessed  August 13, 2020

Lactose intolerance https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lactose-intolerance/symptoms-causes/syc-20374232. Accessed  August 13, 2020

Bioh G, et al. (2013). Survival of a highly toxic dose of caffeine. DOI: 10.1136/bcr-2012-007454. Accessed  August 13, 2020

Caffeine chart. (2014). cspinet.org/eating-healthy/ingredients-of-concern/caffeine-chart. Accessed  August 13, 2020

Caffeine in pregnancy. (2015). marchofdimes.org/pregnancy/caffeine-in-pregnancy.aspx. Accessed  August 13, 2020

James J. (2011). Can consuming caffeine while breastfeeding harm your baby? An interview with Ruth Lawrence, PhD. DOI: 10.1089/jcr.2011.1212. Accessed  August 13, 2020

Lexicon of alcohol and drug terms published by World Health Organization. (2013). who.int/substance_abuse/terminology/who_lexicon/en/. Accessed  August 13, 2020

Mayo Clinic Staff. (2017). Caffeine: How much is too much? mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/caffeine/art-20045678. Accessed  August 13, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

คาเฟอีน สารที่มีในชาและกาแฟ ต้นเหตุการกำเริบของกรดไหลย้อน

ดื่มกาแฟ ช่วยเพิ่มความจำ ชะลอสมองเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/11/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา