backup og meta

ผลไม้ฉ่ำน้ำ กินแล้วช่วยป้องกันอันตรายจากภาวะขาดน้ำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 18/11/2022

    ผลไม้ฉ่ำน้ำ กินแล้วช่วยป้องกันอันตรายจากภาวะขาดน้ำ

    ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เป็นอาการทางสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้หากร่างกายมีระดับน้ำภายในที่ไม่เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือมากกว่านั้น จึงเป็นหนทางที่จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ แต่นอกเหนือจากการดื่มน้ำแล้ว รู้หรือไม่ว่า การกินผัก หรือ ผลไม้ฉ่ำน้ำ ก็อาจมีส่วนช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้เช่นกัน

    ภาวะขาดน้ำ เกิดจากอะไร

    ภาวะขาดน้ำ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ หรือก็คือการที่เราดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวันนั่นเอง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอก็อาจจะมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความเร่งรีบ ความยุ่งในการทำงาน การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักที่ทำให้เสียเหงื่อหรือสูญเสียน้ำในร่างกาย 

    ภาวะขาดน้ำอาจมีสาเหตุมาจากอาการทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น ไม่สบาย ท้องเสีย หรือมีการปัสสาวะบ่อยจนเกินไป ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถส่งผลให้ระดับน้ำในร่างกายมีน้อยหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน อาจทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเป็นสีเข้ม วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น แต่ถ้าหากมีอาการขาดน้ำเนื่องจากการท้องเสีย อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในกรณีฉุกเฉินเช่นนั้น ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

    สำหรับการป้องกันร่างกายไม่ให้เข้าสู่ภาวะขาดน้ำอาจทำได้ด้วยการดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำทันทีที่รู้สึกกระหาย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่เป็นมีความฉ่ำน้ำ หรืออาหารฉ่ำน้ำ ก็อาจมีส่วนช่วยเพิ่มระดับน้ำในร่างกายให้มีความสมดุลและเพียงพอ เนื่องจากอาหารจำพวกผักและผลไม้บางชนิดอาจมีองค์ประกอบที่เป็นน้ำสูง ซึ่งอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ 

    ผลไม้ฉ่ำน้ำ มีอะไรบ้าง

    ผลไม้ฉ่ำน้ำ นอกจากจะกินแล้วสดชื่น และให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ก็ยังช่วยลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำได้อีกด้วย โดยผลไม้ฉ่ำน้ำอาจมี ดังนี้

    แอปเปิ้ล

    แอปเปิ้ล อุดมด้วยไฟเบอร์จึงอาจเหมาพสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักและควบคุมอาหาร เนื่องจาก การกินแอปเปิ้ลอาจช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น นอกจากนี้ แอปเปิ้ลยังมีองค์ประกอบของน้ำสูงประมาณ 85% ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำได้ หากกินเป็นประจำ

    สับปะรด

    ผลไม้หน้าร้อนที่กินแล้วสดชื่นอย่างสับปะรด ไม่ได้มีดีแค่รสชาติหวานอมเปรี้ยว และอุดมไปด้วยวิตามินซีสูงเท่านั้น แต่จัดว่าเป็นผลไม้ที่มีความฉ่ำน้ำอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยสับปะรดมีองค์ประกอบที่เป็นน้ำอยู่ประมาณ 86%

    ส้ม

    ส้มอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยเสริมความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังอาจมีองค์ประกอบของน้ำมากถึง 88% ดังนั้น กากินส้มบ่อย ๆ นอกจากจะช่วยเพิ่มวิตามินซีที่มีประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกายให้สมดุล และป้องกันภาวะขาดน้ำได้ด้วย

    เกรปฟรุต

    เกรปฟรุต เป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีความคล้ายคลึงกับส้ม เนื่องจากมีวิตามินซีที่สูง รวมถึงยังมีองค์ประกอบเป็นน้ำประมาณ 88% ดังนั้น หากเกิดภาวะขาดน้ำอาจกินเกรปฟรุตเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่ร่างกายได้

    พีช

    พีช เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีทั้งวิตามินสำคัญ ๆ อย่างวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี วิตามินเค รวมถึงแร่ธาตุจำเป็นอย่างโพแทสเซียมด้วย นอกจากนี้ พีชก็ยังเป็นอีกหนึ่งผลไม้ฉ่ำน้ำที่มีองค์ประกอบเป็นน้ำสูงถึง 88%

    แคนตาลูป

    แคนตาลูป เป็นหนึ่งในผลไม้ฉ่ำน้ำที่มีส่วนช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้ โดยแคนตาลูปมีองค์ประกอบของน้ำประมาณ 90.15% นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี และมีไฟเบอร์สูงซึ่งดีต่อระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายด้วย

    สตรอว์เบอร์รี่

    สตรอว์เบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ สตรอว์เบอร์รี่ยังเป็นหนึ่งในผลไม้ฉ่ำน้ำที่ให้น้ำมาก โดยมีองค์ประกอบที่เป็นน้ำสูงถึง 90.95%

    แตงโม

    แตงโม เป็นผลไม้ที่มีความฉ่ำน้ำสูง โดยแตงโมแต่ละผลมีองค์ประกอบของน้ำสูงถึง 91.45% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงมากทีเดียว จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ แตงโมยังอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินบีที่สำคัญอีกหลายชนิด รวมถึงแร่ธาตุจำเป็นอย่างโพแทสเซียม สังกะสี และทองแดงด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 18/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา