backup og meta

ผักดอง กินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์และสุขภาพที่ดี

ผักดอง กินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์และสุขภาพที่ดี

นอกจากการรับประทานผักสดแล้ว ผักดอง เป็นผักอีกชนิดที่ผ่านกระบวนการแปรรูป และการกินผักดองก็ให้คุณประโยชน์ให้แก่ร่างกายของคุณได้ไม่แพ้กับผักสด คนส่วนใหญ่มักนิยมนำผักดองมาทานคู่กับข้าวต้มร้อน ๆ หรือนำมาเป็นเครื่องเคียงประกอบในเมนูต่าง ๆ เช่น แฮมเบอร์เกอร์ อาหารญี่ปุ่น เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำสูตรการทำผักดองง่าย ๆ พร้อมคุณประโยชน์มากมายมาฝากทุกคนกัน

โภชนาการของ ผักดอง ที่คุณควรรู้

ผักดอง เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่ไม่ได้แตกต่างจากการผักสดมากนัก แต่อาจให้โปรตีนแก่ร่างกายได้น้อยกว่า ถึงอย่างไรก็ยังคงเต็มไปด้วยวิตามินที่มีความเข้มข้นสูงอยู่ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ ดังนี้ ในกรณีที่รับประทานควบคู่กับอาหาร และรับประทานสด

การรับประทานแบบควบคู่กับอาหาร 

  • วิตามินเอ มากกว่า 60%
  • แคลเซียม 4%
  • โพแทสเซียม 5%
  • วิตามินเค 1/3 ของร่างกายที่คุณต้องการในแต่ละวัน

การรับประทานแบบสด

  • วิตามินเค 23%
  • แคลเซียม 7%
  • โพแทสเซียม 5%
  • วิตามินซี 3%-4%

การนำผักแต่ละชนิดมาดองนั้น อาจได้รับสารอาหารที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น คุณควรสอบถามจากแพทย์เพิ่มเติม หรือหาข้อมูลอย่างละเอียดถึงสารอาหารในผักที่คุณควรจะได้รับต่อวันอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน

ผักดอง-ประโยชน์ของผักดอง

ประโยชน์ของผักดอง ที่อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพภายใน

การหมักผัก หรือกรรมวิธีการแปรรูปของผักดอง เป็นการถนอมอาหารอีกเทคนิคหนึ่งโดยมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชูเป็นหลัก และเครื่องเทศอื่น ๆ มาช่วยปรุงรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคตามขั้นตอนของผู้ผลิต โดยการทานผักดองนั้น มักให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเรา ดังต่อไปนี้

  • รักษากล้ามเนื้อตะคริว

จากงานวิจัยในปี 2010 แสดงการทดสอบของผู้ชายรายหนึ่งที่มักเป็นตะคริวบ่อย ๆ โดยให้ดื่มน้ำผักดอง หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ พบว่า อาการเกิดตะคริวบ่อยครั้งลดลงอย่างรวดเร็ว นั่นอาจเป็นเพราะผักดองมีคุณสมบัติช่วยควบคุมสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolysis) ได้เป็นอย่างดี และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือสูญเสียเหงื่ออย่างมากจากการออกกำลังกายได้

ผักดองเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่ดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงเรื่องของระบบย่อยอาหาร และดูแลสุขภาพลำไส้ของคุณเป็นอย่างดี ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โปรไบโอติก (Probiotics) เบตาแคโรทีน (Beta-Carotene) ในผักแต่ละชนิด โดยเฉพาะแตงกวาดอง

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การที่ใช้น้ำส้มสายชู และเกลือเป็นส่วนประกอบหลักในการหมัก อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ควรทานให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่ควรให้ร่างกายได้รับสารจากน้ำส้มสายชูมากเกินไป เพราะอาจกัดกร่อนกระเพาะได้

ผลข้างเคียงของการทาน ผักดอง ที่คุณไม่ควรละเลย

การทานผักดองที่จะก่อให้เกิดผลดีมากกว่าข้อเสีย คือ การทานแต่ผักที่ได้ผ่านการหมักดองไว้ และไม่ควรดื่มน้ำที่ได้จากการหมักดอง สำหรับผู้ป่วยบางโรคอาจต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการบริโภค เพื่อการบำรุงสุขภาพของผู้ป่วยในบางกรณีเท่านั้น เพราะผักดองเต็มไปด้วยเกลือ น้ำส้มสายชู ที่มีปริมาณของโซเดียม และความเป็นกรดสูง ซึ่งอาจส่งผลให้สุขภาพภายในเหล่านี้ของคุณแย่ลง และอาจก่อให้เกิดการต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
  • เพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • ท้องเสีย
  • ทำลายแคลเซียมในกระดูก
  • ผู้ป่วยโรคไตอาจมีอาการทรุดลง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Pickles Can Do for Your Health https://www.webmd.com/food-recipes/health-benefits-pickles#1 Accessed March 16, 2020

What are the benefits of pickles? https://www.medicalnewstoday.com/articles/325124 Accessed March 16, 2020

Everything you need to know about pickle juice https://www.medicalnewstoday.com/articles/318618#side-effects Accessed March 16, 2020

Fang X. (2015). Landscape of dietary factors associated with risk of gastric cancer: A systematic review and dose-response meta-analysis of prospective cohort studies. DOI: 10.1016/j.ejca.2015.09.010. Accessed March 16, 2020

Kim J, et al. (2018). Lactobacillus gasseri BNR17 supplementation reduces the visceral fat accumulation and waist circumference in obese adults: A randomized, double-blind, placebo-controlled trial. DOI: 10.1089/jmf.2017.3937. Accessed March 16, 2020

Raak C, et al. (2014). Regular consumption of sauerkraut and its effect on human health: A bibliometric analysis. DOI: 10.7453/gahmj.2014.038. Accessed March 16, 2020

Sayon-Orea C, et al. (2017). Associations between yogurt consumption and weight gain and risk of obesity and metabolic syndrome: A systematic review. DOI: 10.3945/an.115.011536. Accessed March 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักกับ ผักสีแดง แหล่งรวมสารอาหารดีเยี่ยม ให้แก่ร่างกายคุณ

สารเบตาแคโรทีน สารอาหารสีส้มในผักและผลไม้ให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา